ชลันธร

ชลันธร
ตัวละครใน รามายณะ
ปุราณะ
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เผ่าพันธุ์อสูร
เพศบุรุษ
ตำแหน่งราชาแห่งอสูร
โอรสแห่งพระอิศวรและพระสมุทร
พี่น้องของพระลักษมี กามเธนุ พระจันทร์
ศิษย์แห่งพระฤๅษีศุกราจารย์
สวามีแห่งนางวฤนทา
คู่สมรสนางวฤนทา
ญาติพระอิศวร และ พระสมุทร (บิดา)
พระลักษมี กามเธนุพระจันทร์ (ลูกพี่ลูกน้อง)
นางวฤนทา (ภรรยา)

ชลันธร (สันสกฤต: जलन्धर) เป็นอสูรที่ปรากฏเรื่องราวในคัมภีร์ของศาสนาฮินดูซึ่งทั้งในคัมภีร์รามายณะและปุราณะต่าง ๆ เล่าเรื่องของอสูรตนนี้เหมือนกัน

เทพปกรณัม

[แก้]

ครั้งหนึ่งพระศิวะเบิกพระเนตรที่สามลงในมหาสมุทร แล้วบังเกิดทารกขึ้นมาจากทะเลนั้น ทารกนั้นส่งเสียงกัมปนาทไปทั่ว พระพรหมจึงเสด็จลงมาทอดพระเนตรและมอบแด่พระสมุทรและถวายแด่พระฤๅษีศุกราจารย์เป็นศิษย์ โดยให้นามว่า ชลันธร[1] ต่อมาได้อภิเษกกับนางวฤนทา ธิดาของกาลเนมิอสูร และได้รับพรจากพระพรหม ว่าตราบใดที่นางวฤนทายังมีความซื่อสัตย์ต่อตัวชลันธรอยู่เมื่อนั้นจะสมปรารถนาทุกประการ ต่อมาชลันธรได้รับการสถาปนาเป็นราชาและมีโอกาสเห็นพระราหู[2] พระราหูได้ทูลเหตุที่ตนเหลือเพียงศีรษะแต่ครั้งกวนเกษียรสมุทร ชลันธรเมื่อได้สดับก็โกรธและยกทัพบุกสวรรค์ ในสงครามพระฤๅษีศุกราจารย์ใช้มนตร์มฤตสัญชิวินีชุบชีวิตไพร่พลอสูร และพระพฤหัสบดีได้ชุบชีวิตเทวดาด้วยสมุนไพรจากภูเขาโทณะ ฝ่ายชลันธรจึงทำลายภูเขาโทณะโดยการโยนลงทะเลทำให้คณะเทวดาพ่ายแพ้และเชิญพระวิษณุมาช่วยแต่ไม่สามารถทำอันตรายชลันธรได้ด้วยเหตุแรงพิโรธจากพระศิวะ และเชิญพระลักษมีมาประทับด้วยกับตนด้วยเหตุที่ว่าทรงประสูติจากพระสมุทรเช่นเดียวกับตน ต่อมาฤๅษีนารทมุนีได้เล่าถึงความของพระแม่ปารวตีทำให้ชลันธรหลงไหลและปาราถนาจะครอบครองพระนาง[3] โดยส่งพระราหูไปเป็นทูต ครั้นพระศิวะได้ฟังพระราหูมาทูลขอพระแม่ปารวตีก็พิโรธและบังเกิดยักษ์หน้าสิงห์ออกมาไล่กินพระราหู พระศิวะทรงเมตตาพระราหูจึงให้ปล่อยไป แต่ยักษ์หน้าสิงห์นั้นทูลขออาหาร พระศิวะจึงรับสั่งให้ทานร่างของตนเองจนเหลือแต่ศีรษะแล้วทรงประทานนามว่า เกียรติมุข ให้เป็นทวารบาล ชลันธรจึงนำกองทัพบุกเขาไกรลาส โดยพระศิวะทรงทอดพระเนตรเห็นพระฤๅษีศุกราจารย์ก็พิโรธและบันดาลให้เกิดนางกฤติยาจับพระฤๅษีศุกราจารย์ยัดที่ช่องสังวาสแล้วอันตรธานหายไป ชลันธรนั้นได้ปลอมเป็นพระศิวะและเข้าหาพระแม่อุมาเทวี พระนางพิโรธมากจึงทูลขอให้พระนารายณ์ทำลายอสูรตนนี้[4] โดยพระวิษณุทรงเนรมิตพระองค์เป็นชลันธรร่วมอภิรมย์สังวาสกับนางวฤนทา ด้วยอำนาจของตบะสมาธิแห่งนางวฤนทาทราบเข้าจึงสาปให้พระวิษณุกลายรูปเป็นหินศาลิรามต้องลงไปเกิดเป็นมนุษย์เข้าสู้รบกับรากษสโดยมีวานรช่วยเหลือ คณะเทวีและพระพรหมจึงปรากฏพระองค์และทูลขอชีวิตขององค์พระวิษณุโดยนางวฤนทาใช้ตบะสมาธิทำลายร่างของตนเองด้วยพิธีสตีจนเหลือแต่เถ้าถ่าน[2][3] คณะเทวีและพระพรหมจึงประทานพรให้นางวฤนทาปรากฏรูปเป็นกระเพราและแม่น้ำคัณฑกีพร้อมกับได้รับการบูชาในฐานะเทวี โดยสนามรบพระศิวะทรงใช้พระบาทกวนเกษียรสมุทรบังเกิดกวนจักรขนาดใหญ่ตัดศีรษะของชลันธร[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://writer.dek-d.com/oommcrnid/story/viewlongc.php?id=649819&chapter=3
  2. 2.0 2.1 2.2 Stella Kramrisch (1992). The Presence of Siva. Princeton University Press. pp. 388, 389, 391. ISBN 978-0-691-01930-7.
  3. 3.0 3.1 http://www.sacred-texts.com/hin/hmvp/hmvp43.htm
  4. Wendy Doniger O'Flaherty, "Asceticism and Sexuality in the Mythology of Siva, Part II." History of Religions, Vol. 9, No. 1. (Aug., 1969), pp. 1–41.