ชัย ชิดชอบ

ชัย ชิดชอบ
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
(2 ปี 360 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้ายงยุทธ ติยะไพรัช
ถัดไปสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2471[1]
จังหวัดสุรินทร์ ประเทศสยาม
เสียชีวิต24 มกราคม พ.ศ. 2563 (91 ปี)
จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย [2][3]
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไม่สังกัดพรรค (2500, 2512—2514, 2522—2526)
ประชาธิปัตย์ (2500—2501, 2511—2512)
ไท (พ.ศ. 2517) (2517—2519)
พลังประชาชน (พ.ศ. 2517) (2519)
กิจสังคม (2526—2529)
สหประชาธิปไตย (2529—2534)
สามัคคีธรรม (2534—2535)
ชาติไทย (2535—2539, 2543—2547)
เอกภาพ (2539—2543)
ไทยรักไทย (2547—2550)
พลังประชาชน (2550—2551)
ภูมิใจไทย (2551—2563)
คู่สมรสละออง ชิดชอบ
ลายมือชื่อ

ชัย ชิดชอบ (5 เมษายน พ.ศ. 2471 – 24 มกราคม พ.ศ. 2563) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย[4] อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และเป็นอดีตประธานชั่วคราวสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 24 และ 25 เนื่องจากเป็นผู้ที่มีอายุมากที่สุดของสภาในขณะนั้นเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคพลังประชาชน ในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนนายยงยุทธ ติยะไพรัช ที่โดนใบแดง [5] ก่อนหน้านี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดบุรีรัมย์ 7 สมัย และสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 9 (ส.ว.) จังหวัดบุรีรัมย์

ประวัติ

[แก้]

นายชัย ชิดชอบ เกิดที่บ้านเพี้ยราม ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของนายเมียศกับนางเรียด ชิดชอบ จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ [6]

นายชัย ชิดชอบ ใช้วุฒิการศึกษา ม.6 ถึงปี พ.ศ. 2539 ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้ผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ส. ต้องจบปริญญาตรี นายชัย จึงสมัครเรียนต่อ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาตรี สาขาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ชีวิตส่วนตัว นายชัย ชิดชอบ สมรสกับนางละออง ชิดชอบ มีบุตร-ธิดา รวม 6 คน ได้แก่ นายชลอ ชิดชอบ กรรมการบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ (1991) จำกัด, นายทวีศักดิ์ ชิดชอบ, นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ (อ้อย) วุฒิสภาไทย ชุดที่ 8, นายเนวิน ชิดชอบ (โอ้ง) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ (อุ้ม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ (โอ๋) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชัยชื่นชอบนักการเมืองชาวอิสราเอลคนหนึ่ง ที่ชื่อ โมเช ดายัน ถึงขนาดตั้งฉายาให้ตัวเองว่า "ชัย โมเช"

ชัย ชิดชอบ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราที่บ้านพักในโรงโม่หินศิลาชัย ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563 สิริอายุ 91 ปี 9 เดือน โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงศพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานในพิธี

งานการเมือง

[แก้]

นายชัย ชิดชอบ เริ่มงานการเมืองจากการเมืองท้องถิ่น เป็นกำนันตำบลอิสาน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และทำธุรกิจโรงโม่หิน ชื่อโรงโม่หินศิลาชัย ที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มงานการเมืองตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ ไม่สังกัดพรรค และเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ [7] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์หลายสมัยติดต่อกัน ในการเลือกตั้งปี 2512 และ 2522 (ไม่สังกัดพรรค), 2526 (พรรคกิจสังคม), 2529 (พรรคสหประชาธิปไตย), 2535/2 2538 (พรรคชาติไทย), 2539 (พรรคเอกภาพ) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​แบบบัญชีรายชื่อปี 2544 (พรรคชาติไทย) (เลื่อนแทน), 2550 (พรรคพลังประชาชน), 2554 2562 (พรรคภูมิใจไทย) และสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดบุรีรัมย์ปี 2549 [8]และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 2[9]

ประธานรัฐสภา

[แก้]

นายชัย ชิดชอบ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2551 นายชัยได้ทำหน้าที่ประธานโดยได้ขึ้นนั่งบนบัลลังก์ ขณะที่นายชัยจะคุกเข่าสดับพระบรมราชโองการฯ ก็เกิดล้มหัวคะมำ และเมื่อคุกเข่ารับฟังเสร็จแล้ว เมื่อจะลุกขึ้นก็ลุกไม่ขึ้น แต่นายชัยก็พยายามจะลุกให้ได้ จึงทำให้ล้มไปข้างหน้า จนนายนิสิต สินธุไพร ส.ส. ร้อยเอ็ด พรรคพลังประชาชน ที่มาร่วมในพิธีด้วย รีบเข้าไปพยุงนายชัยให้ยืนขึ้นเป็นปกติ และเดินกลับไปห้องประชุมได้และเรื่องนี้ก็ได้เป็นที่เล่าขานถึงความศักดิ์สิทธ์ของรัฐสภาในการคัดสรรผู้เหมาะสมที่จะนั่งบังลังก์[10]

ขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ส.ส. หนองบัวลำภู พรรคพลังประชาชน ได้เสนอ นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส. สกลนคร พรรคพลังประชาชน เป็นผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แต่นายจุมพฏไม่เห็นชอบด้วย นายพิษณุจึงมีทีท่าจะเสนอคนอื่นแทน นายชัย ชิดชอบ จึงกล่าวขึ้นกลางที่ประชุมว่า "จะเสนอใครถามเจ้าตัวก่อนดีกว่าว่าเขารับหรือไม่ เจ้าตัวไม่เอายังเสือกเสนออยู่อีก จะเสนอใครก็รีบเสนอ เสียเวล่ำเวลา" ท่ามกลางความตกตะลึงของ ส.ส. ในที่ประชุม อย่างไรก็ดี ความหงุดหงิดของนายชัยเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มประชุมแล้ว เนื่องจากความไม่พร้อมเพรียงและความวุ่นวายของ ส.ส. ที่เข้าประชุม จนนายชัยต้องกดสัญญาณเรียกถึงหกครั้ง และสั่งให้นับองค์ประชุมอีกหลายครั้ง ทั้งนี้ ในวันต่อมา นายชัยก็ได้กล่าวขอโทษ ส.ส. สำหรับกรณีดังกล่าวอย่างสุภาพด้วยความรู้สึกผิด[11][12][13][14]

ภายหลังพรรคพลังประชาชนถูกยุบ นายชัยซึ่งเป็นบิดาของเนวิน ชิดชอบ หัวหน้ากลุ่มเพื่อนเนวิน จึงได้ย้ายตามกลุ่มดังกล่าวเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นายชัย ชิดชอบ ได้กลับมาเล่นการเมืองอีกครั้งเมื่อมีอายุมากแล้ว จึงได้รับการเรียกขานเล่น ๆ จากสื่อมวลชน ว่า "ปู่ชัย" หรือ "ลุงชัย" และในปลายปี พ.ศ. 2552 ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนประจำรัฐสภาว่า "ตลกเฒ่าร้อยเล่ห์" อันเนื่องจากการทำหน้าที่ประธานสภาฯ ที่มีลูกล่อลูกชนและมีมุกตลกแพรวพราวสร้างความสนุกสนานลดความตึงเครียดในที่ประชุมเสมอ[15]

รางวัลและเกียรติยศ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สภาผู้แทนราษฎรในอดีต >> สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดปัจจุบัน (ชุดที่ 23)
  2. "'ชัย ชิดชอบ' เสียชีวิตแล้ว". กรุงเทพธุรกิจ. 24 มกราคม 2563.
  3. "อาลัย 'ชัย ชิดชอบ' อดีตประธานรัฐสภา เสียชีวิตลงแล้วอย่างสงบด้วยวัย 92 ปี". มติชน. 24 มกราคม 2563.
  4. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  5. พลังแม้วไม่กล้าแตกแถว "ชัย"ลอยลำนั่งปธ.สภาฯ[ลิงก์เสีย] หนังสือพิมพ์แนวหน้า 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
  6. วุฒิการศึกษาของนายชัย ชิดชอบ เมื่อ พ.ศ. 2539[ลิงก์เสีย] ฐานข้อมูล ส.ส. จังหวัดบุรีรัมย์ เขต 2 พรรคเอกภาพ พ.ศ. 2539, ฐานข้อมูลการเมืองไทย เว็บไซต์รักบ้านเกิด
  7. พลิกปูม ชัย ชิดชอบ เก๋าตั้งแต่ เลือกตั้ง 2512 เก๋า จาก "บุรีรัมย์" สำเนาจากคอลัมน์ หักทองขวาง หนังสือพิมพ์ข่าวสด 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6367
  8. ประวัติย่อ นายชัย ชิดชอบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 4
  9. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติพัฒนา)
  10. “ชัย” นั่งบัลลังก์ก่อนรับพระบรมราชโองการฯ ช่วงทำพิธีล้มหัวคะมำ
  11. Hunsa Hot News. (2551, 1 ตุลาคม). ส.ส.ตะลึง "ชัย"หลุดด่าสมาชิก "เสือก" ลั่นสภา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: Linkเก็บถาวร 2008-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 6 เมษายน 2552).
  12. Sanook! News. (2551, 1 ตุลาคม). ปชป.ติงปู่ชัยสบถเสือกกลางสภาหวั่นทำสภาด่างพร้อย [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: Link. (เข้าถึงเมื่อ: 6 เมษายน 2552).
  13. Sanook! News. (2551, 2 ตุลาคม). ชัย กล่าวขอโทษ ส.ส.กลางสภา หลังหลุดคำว่าเสือก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: Link. (เข้าถึงเมื่อ: 6 เมษายน 2552).
  14. มติชนออนไลน์. (2551, 1 ตุลาคม). ปชป.ติง"ปู่ชัย"สบถ"เสือก"กลางสภาหวั่นทำสภาด่างพร้อย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: Link[ลิงก์เสีย]. (เข้าถึงเมื่อ: 6 เมษายน 2552).
  15. ชัย ชิดชอบ ระบุไม่น้อยใจกรณีสื่อมวลชนตั้งฉายาให้ ตลกเฒ่าร้อยเล่ห์
  16. "ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองโท" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-28. สืบค้นเมื่อ 2018-10-09.
  17. ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๔ ง หน้า ๒๓๗๗, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๔
ก่อนหน้า ชัย ชิดชอบ ถัดไป
ยงยุทธ ติยะไพรัช
ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฏร

(15 พฤษภาคม 2551 – 10 พฤษภาคม 2554)
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์