ชาวพม่าในประเทศไทย

ชาวพม่าในไทย
ထိုင်းနိုင်ငံရှိမြန်မာမျာ
ประชากรทั้งหมด
1,418,472 (พ.ศ. 2557)[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ภาษา
ภาษาพม่า, ภาษามอญ, ภาษาไทใหญ่, ภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาพื้นเมืองต่างๆ ของประเทศพม่า
ภาษาไทย
ศาสนา
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวพม่าพลัดถิ่น พม่า กะเหรี่ยง มอญ ไทใหญ่

ชาวพม่าในไทย (พม่า: ထိုင်းနိုင်ငံရှိမြန်မာများ) เป็นชาวต่างชาติที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากที่สุด จากการสำรวจใน พ.ศ. 2557 พบว่ามีชาวพม่ากว่า 1,418,472 ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งเป็น ชาย 812,798 คน และหญิง 605,674 คน หรือคิดเป็น 70% ของชาวพม่าที่อาศัยอยู่นอกประเทศ[1] ชาวพม่าในไทยส่วนใหญ่แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ แรงงานมีฝีมือ แรงงานไร้ฝีมือ และ ผู้อพยพหนีความขัดแย้ง

ชาวพม่าส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานไร้ฝีมือในอุตสหกรรมการประมง โรงงานอาหารทะเลแปรรูป แรงงานก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และงานบริการต่าง ๆ ในประเทศไทย[2] มหาวิทยาลัยแมคควอรี่ประเมินว่ามีการส่งเงินจากไทยไปพม่าเฉลี่ยมากกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี[3][4] การย้ายถิ่นฐานเข้ามาในไทยของชาวพม่าเริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 หลังการรัฐประหารของนายพลเนวี่นที่ทำให้พม่ากลายเป็นสังคมนิยมและการพัฒนาเศรษฐกิจหยุดชะงัก[5] แรงงานชาวพม่ามีส่วนช่วยในการสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก โดยมีส่วนร่วมประมาณ 5 ถึง 6.2% ของจีดีพีประเทศไทย[6]

จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่ชาวพม่าเข้ามาอาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศไทย คาดว่ามีชาวพม่าราว 200,000 คนในจังหวัด[7][8] ส่วนพื้นที่ ๆ มีชาวพม่าอาศัยอยู่มากที่สุดรองลงมาคือ แม่สอด[9] และ ระนอง[10]

ใน พ.ศ. 2546 รัฐบาลไทยและพม่าได้ร่วมลงนามในหนังสือบันทึกข้อตกลง เพื่อให้แรงงานที่หลั่งไหลเข้ามานี้เป็นแรงงานถูกกฎหมายและแก้ปัญหาการลักลองเข้าเมืองผิดกฎหมาย มีการใช้กระบวนการพิสูจน์สัญชาติโดยแรงงานข้ามชาติจะได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราวและใบรับรองให้ทำงานในประเทศไทยได้เป็นเวลา 2 ปี พร้อมสิทธิคุ้มครองแรงงาน[2][11]

ชาวพม่าอพยพราว 150,000 คน อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยทางการ 9 แห่งบริเวณชายแดนไทย–พม่า[12] ค่ายที่ใหญ่ที่สุดคือค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ใน พ.ศ. 2557 รัฐบาลไทยประกาศแผนการส่งกลับผู้ลี้ภัย ที่อาศัยอยู่ในค่ายลี้ภัยช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมากลับประเทศ[13]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "The Union Report - Census Report Volume 2". The 2014 Myanmar Population and Housing Census. Department of Population, Ministry of Immigration and Population. May 2015. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  2. 2.0 2.1 McGann, Nora (20 February 2013). "The Opening of Burmese Borders: Impacts on Migration". Migration Policy Institute. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  3. "MYANMAR: Remittances support survival". IRIN. 31 December 2010. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  4. Turnell, Sean; Alison Vicary; Wylie Bradford. "Migrant Worker Remittances and Burma: An Economic Analysis of Survey Results" (PDF). BURMA ECONOMIC WATCH. Macquarie University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 May 2013. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  5. Vicary, Alison (2004). "ECONOMIC SURVEY OF 'BURMESE' WORKING IN THAILAND1 : AN OVERVIEW OF A BEW PROJECT" (PDF). Macquarie University. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  6. Brees, Inge (Winter–Spring 2010). "Burden or Boon: The Impact of Burmese Refugees on Thailand". The Whitehead Journal of Diplomacy and International Relations.
  7. SAW YAN NAING (3 March 2010). "Mahachai Migrants Eye Passports". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2011. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  8. Saw Yan Naing (27 February 2010). "Burmese Official Urges Migrants in Mahachai to Register". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-02. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  9. "Mae Sot: Little Burma". The Irrawaddy. May 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-22. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  10. Moncrief, John S. (February 2001). "What's wrong in Ranong". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-22. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  11. MOU 3 ประเทศ พม่า ลาว กัมพูลา กระทรวงแรงงาน สืบค้น 6 มีนาคม พ.ศ.2564
  12. "Burmese Refugees in Thailand". US Department of State. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  13. SAWITTA LEFEVRE, AMY (14 July 2014). "Thai junta's pledge to send back Myanmar refugees sparks concern". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]