ชาวเกาะโอเบเก

ชาวเกาะโอเบเก
คนจากตระกูลเซโวรีช่วงต้นศตวรรษที่ 20
ประชากรทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
หมู่เกาะโองาซาวาระ · คันโต · สหรัฐ
ภาษา
อังกฤษแบบโบนิน · ญี่ปุ่น · อังกฤษแบบอเมริกัน
ศาสนา
คริสต์ · พุทธ
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
พอลินีเชีย · อเมริกันผิวขาว · ยุโรป · คานัก

ชาวเกาะโอเบเก (ญี่ปุ่น: 欧米系島民โรมาจิŌbeikeitōmin; แปลว่า ชาวเกาะ (เชื้อสาย) ฝรั่ง)[1] เป็นชาติพันธุ์ลูกผสมกลุ่มเล็กที่มีเชื้อสายยูโรนีเชียในประเทศญี่ปุ่น พวกเขามีวัฒนธรรมและเชื้อสายที่ต่างไปจากชาวยามาโตะ รีวกีว และไอนุ เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้สืบสันดานจากชาวยุโรป ชาวอเมริกันผิวขาว ชาวพอลินีเชีย และชาวคานักยุคใหม่ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะฮาฮาจิมะและเกาะชิจิจิมะช่วงศตวรรษที่ 18

ทั้งนี้คำว่า โอเบเก ในภาษาญี่ปุ่น จะมีความหมายว่า "ลูกหลานของชาวคอเคซอยด์ผู้มีถิ่นฐานเดิมในทวีปยุโรปและอเมริกา" และแปลได้อีกว่า "สกุลของชาวอเมริกันผู้มีเชื้อสายยุโรป" แม้จะระบุเช่นนั้น แต่บรรพบุรุษของชาวเกาะโอเบเกเมื่อแรกตั้งถิ่นฐาน ประกอบด้วยผู้คนจากหลายเชื้อชาติ โดยเฉพาะชาวฮาวายและพอลินีเชียอื่น ๆ หาได้มีเพียงชาวยุโรปผิวขาวเท่านั้น

ประวัติ

[แก้]

มีเอกสารระบุเรื่องการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกบนหมู่เกาะโองาซาวาระเมื่อ ค.ศ. 1830 โดยเนทาเนียล เซโวรี (Nathaniel Savory) ชาวอเมริกันผิวขาวจากรัฐแมสซาชูเซตส์ ตั้งถิ่นฐานบนเกาะชิจิจิมะ เข้ามาพร้อมกับมัตเตโอ มัซซาโร (Matteo Mazzaro) ชาวเมืองรากูซาสัญชาติสหราชอาณาจักร, จอห์น มิลเลนแคมป์ (John Millencamp) ชาวอเมริกัน, เฮนรี เว็บ (Henry Webb) และชาลส์ โรบินสัน (Charles Robinson) ชาวสหราชอาณาจักร และโจอาคิม กอนซาเลส (Joaquim Gonsales) ชาวโปรตุเกส รวมทั้งชาวฮาวายพื้นเมืองที่ไม่ปรากฏชื่อเสียงเรียงนามแบ่งเป็นเพศชาย 7 คน และหญิง 13 คน[2] แม้นายเซโวรีเป็นชาวอเมริกันแต่กองทัพสหราชอาณาจักรให้เขาเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานชาวสหราชอาณาจักร[3] หลังนายมัซซาโรเสียชีวิต นายเซโวรีจึงปกครองเกาะต่อมา[4] ชนเหล่านี้ได้แต่งงานข้ามชาติพันธุ์จนกลายเป็นประชากรลูกผสมสืบมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาประเทศญี่ปุ่นทำการอ้างสิทธิเหนือดินแดนนี้เมื่อ ค.ศ. 1876 ชาวหมู่เกาะจึงได้รับสัญชาติญี่ปุ่นโดยอัตโนมัติ และหลังจากนั้นก็มีการอพยพของผู้คนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามา

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเรือสหรัฐเข้าควบคุมหมู่เกาะโองาซาวาระและทำการขับไล่ราษฎรออก ยกเว้นชาวเกาะพื้นเมืองดั้งเดิม กับผู้ที่เกี่ยวดองกับทหารสหรัฐจากการแต่งงาน[5] และอนุญาตให้ชาวอเมริกันผิวขาว ชาวยุโรป ชาวไมโครนีเชีย และชาวพอลินีเชียที่เคยอาศัยบนเกาะตั้งแต่ยุคก่อนสงครามกลับมาอาศัยบนเกาะได้[6] เมื่อหมู่เกาะโองาซาวาระกลับคืนสู่การปกครองของประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1968 ชาวเกาะได้รับสัญชาติญี่ปุ่น รวมทั้งอนุญาตให้ชาวญี่ปุ่นจากแผ่นดินใหญ่กลับเข้าไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะดังเดิม จนกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะโองาซาวาระแทนที่ชาวเกาะโอเบเก[7]

วัฒนธรรม

[แก้]

จากการที่มีชาวอเมริกัน ยุโรป และชาวเกาะแปซิฟิกอื่น ๆ อาศัยอยู่มากกว่าชาวญี่ปุ่น ทำให้เกิดภาษาอังกฤษผสมแก้ขัดที่เรียกว่าภาษาอังกฤษแบบโบนิน ปรากฏครั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา[8] อันเกิดจากการผสมกันระหว่างภาษาอังกฤษและญี่ปุ่นทำให้เกิดภาษาผสมที่แปลกหู[9]

ปัจจุบันชาวเกาะโอเบเกบางส่วนยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของตนเอง แม้จะเปลี่ยนไปถือสัญชาติญี่ปุ่นแล้ว เช่น การนับถือหรือยังเชื่อในศาสนาคริสต์ หรือการใช้ภาษาอังกฤษสำเนียงถิ่น ซึ่งก็รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาจากญี่ปุ่นมากขึ้นเป็นลำดับ โดยยังมีผู้สืบสันดานอยู่ เช่น เซโวรี (Savory),[10] โรบินสัน (Robinson), วอชิงตัน (Washington), จิลลีย์ (Gilley)[11][12] และกอนซาเลซ (Gonzalez)[13] โดยบางส่วนได้แปลงไปใช้นามสกุลเป็นภาษาญี่ปุ่น ดังนี้

นามสกุลของชาวเกาะโอเบเก
นามสกุลเดิม นามสกุลญี่ปุ่น สัญชาติเดิม
เซโวรี (Savory, セボリー) เซโบริ (瀬掘) อเมริกัน
โอกูมูระ (奥村)
วอชิงตัน (Washington, ワシントン) โอฮิระ (大平) อเมริกัน
คิมูระ (木村)
อิเกดะ (池田)
มัตสึซาวะ (松澤)
เว็บ (Webb, ウェッブ) โจบุ (上部) อเมริกัน
กอนซาเลซ (Gonzalez, ゴンザレス) คิชิ () โปรตุเกส
โองาซาวาระ (小笠原)
จิลลีย์ (Gilley, ゲレー) มินามิ () โปรตุเกส-สหราชอาณาจักร
โนซาวะ (野澤)

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Reflections on Ogasawara: Remote Islands with American and Japanese Identities". nippon.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-06-25. สืบค้นเมื่อ 2019-02-11.
  2. Notes on the Bonin Islands, Michael Quin, Journal of the Royal Geographical Society of London, Vol. 26, (1856), pp. 232–235, Blackwell Publishing on behalf of The Royal Geographical Society (with the Institute of British Geographers)
  3. "Chichi Navy Brochure". members.tripod.com. สืบค้นเมื่อ 2019-02-11.
  4. Meader, A. E. "Notes on the Life of Nathaniel Savory"
  5. J. Bradshaw, "Review of English on the Bonin (Ogasawara) Islands",Language Documentation and Conservation v2, n1 (June 2008), pp. 176–8
  6. Trumbull, Robert. "Bonin Islanders Seek U.S. Tie But Remain International Pawns; Descendants of Americans Ask Citizenship in Vain—Fight Return of Japanese," New York Times. March 11, 1956.
  7. Fackler, Martin (10 June 2012). "A Western Outpost Shrinks on a Remote Island Now in Japanese Hands". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2018.
  8. Long, Daniel; Peter Trudgill (2004). "The Last Yankee in the Pacific: Eastern New England Phonology in the Bonin Islands". American Speech. 79 (4): 356–367. doi:10.1215/00031283-79-4-356.
  9. Long, Daniel (2007). English on the Bonin (Ogasawara) Islands. Duke University Press. ISBN 978-0-8223-6671-3.
  10. Corporation), NHK (Japan Broadcasting. "The Ogasawara Islands: A Multicultural Heritage | Japanology Plus - TV - NHK WORLD - English". /nhkworld/en/tv/japanologyplus/ (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-12. สืบค้นเมื่อ 2019-02-11.
  11. "Ogasawara islanders look back on years of war separation:The Asahi Shimbun". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-12. สืบค้นเมื่อ 2019-02-11.
  12. Agency, VII Photo (2017-03-16). "Ogasawara, the Mother Islands: An Uncounted Story of the American-Japanese Community in the…". Medium. สืบค้นเมื่อ 2019-02-11.
  13. Fackler, Martin (2012-06-09). "Fewer Westerners Remain on Remote Japanese Island". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2019-02-11.