บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
ภาคอีสาน จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, นครราชสีมา, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม ภาคตะวันออก จังหวัดตราด, จังหวัดจันทบุรี | |
ภาษา | |
เขมรเหนือ, ไทย, ไทยถิ่นอีสาน | |
ศาสนา | |
พุทธเถรวาท | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวมอญ, ชาวว้า และกลุ่มชนมอญ–เขมรอื่น ๆ |
ชาวไทยเชื้อสายเขมร หรือ ชาวเขมรเหนือ (เขมร: ជនជាតិខ្មែរខាងជើង) [1] เป็นคำที่ใช้สื่อถึงผู้มีเชื้อชาติเขมรในภาคอีสานของประเทศไทย[2][3] ส่วนใหญ่เรียกว่า เขมรสุรินทร์ (เขมร: ខមែរសុរិន)
ชาวเขมรเริ่มปรากฏตัวในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิเขมร[4] หลังอังกอร์ล่มสลาย ชาวเขมรในภาคอีสานต้องรับอิทธิพลจากไทย ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรไทยได้ผนวกจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดในอดีตของประเทศกัมพูชา ผู้อยู่อาศัยชาวเขมรกลายเป็นประชาชน โดยพฤตินัย ของพระมหากษัตริย์ไทย และเริ่มการกลืนกลายทางวัฒนธรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นเวลานานขึ้น
ในบันทึกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จำแนกชาวเขมรไว้เป็น 4 พวก คือ จำพวกที่ 1 เขมรที่เป็นชาวสยามแท้ เรียกในราชการว่า เขมรป่าดง เป็นราษฎรเมืองสุรินทร์ สังฆะ ขุขันธ์ จำพวกที่ 2 เขมรเก่า เป็นคนเขมรที่อพยพมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินบ้าง รัชกาลที่ 1 บ้าง พวกนี้อยู่ที่มณฑลราชบุรีโดยมาก จำพวกที่ 3 เขมรกลาง คือ เขมรที่อพยพมาในสมัยรัชกาลที่ 3 พวกนี้อยู่ในมณฑลกรุงเทพและมณฑลปราจีนบุรี โดยมาก จำพวกที่ 4 เขมรใหม่ คือ เขมรที่อพยพตั้งแต่ ค.ศ. 1858 มีมากในมณฑลบูรพา หรือเมืองพระตะบองเป็นต้น[5]
จังหวัด | ร้อยละของชาวเขมรใน พ.ศ. 2533 | ร้อยละของชาวเขมรใน พ.ศ. 2543 |
---|---|---|
สุรินทร์[6] | 63.4% | 47.2% |
บุรีรัมย์[7] | 0.3% | 27.6% |
ศรีสะเกษ[8] | 30.2% | 26.2% |
ตราด[9] | 0.4% | 2.1% |
สระแก้ว[10] | ไม่มี | 1.9% |
จันทบุรี[11] | 0.6% | 1.6% |
ร้อยเอ็ด[12] | 0.4% | 0.5% |
อุบลราชธานี[13] | 0.8% | 0.3% |
มหาสารคาม[14] | 0.2% | 0.3% |
ชาวไทยเชื้อสายเขมรนั้นจะมีภาษาที่แตกต่างออกไปจากภาษาเขมรในประเทศกัมพูชา โดยภาษาเขมรที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรืออีสานใต้ จะเรียกว่า ภาษาเขมรถิ่นไทย หรือเขมรบน โดยมีความต่างจากภาษาเขมรในกัมพูชาในเรื่องของหน่วยเสียงสระ การใช้พยัญชนะ รากศัพท์ และไวยากรณ์ โดยผู้ใช้ภาษาเขมรถิ่นไทยจะสามารถเข้าใจภาษาเขมรทุกสำเนียง ส่วนผู้ใช้สำเนียงพนมเปญจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจ นอกจากภาษาเขมรถิ่นไทยแล้ว ชาวไทยเชื้อสายเขมรกลุ่มอื่น ๆ ก็สามารถใช้ภาษาเขมรได้ดีโดยเฉพาะกลุ่มที่ติดชายแดนใกล้กับประเทศกัมพูชา อย่างเช่นแถบจังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
แต่ขณะเดียวกันชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในหลายจังหวัดแถบภาคกลางของประเทศที่ตกอยู่ในวงล้อมที่รอบล้อมไปด้วยภาษาไทยกลาง ทำให้ภาษาเขมรในถิ่นนั้นได้รับอิทธิพลของภาษาไทย โดยชุมชนเชื้อสายเขมรหลายชุมชนเลิกการใช้ภาษาเขมร โดยสงวนไว้เฉพาะคนเฒ่าคนแก่ ไม่เผยแพร่ต่อลูกหลาน อย่างเช่นในชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดราชบุรี ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ (ฉบับหอสมุดแห่งชาติ) ก็ได้กล่าวถึงการกวาดต้อนเขมรจากเมืองโพธิสัตว์ เสียมราฐและพระตะบองมาไว้ที่ราชบุรี เขมรเหล่านี้ไม่ใช่เขมรลาวเดิมเพราะมีภาษาพูดที่แตกต่างกัน เขมรกลุ่มนี้ใช้ภาษาพูดเช่นเดียวกับเขมรในประเทศกัมพูชา โดยตั้งบ้านเรือนในเขตอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม และอำเภอปากท่อ[15] จากการศึกษาใน พ.ศ. 2546 พบผู้พูดภาษาเขมรประมาณ 8-10 คน มีอายุระหว่าง 70-80 ปี แต่ไม่ได้ใช้ภาษาเขมรสื่อสารกับลูกหลาน เพียงแต่นึกศัพท์ได้เป็นคำ ๆ หรือพูดคุยกับคนรุ่นเดียวกันได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น[16] เช่นเดียวกันกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดนครปฐมซึ่งมีอยู่ตั้งแต่ปากคลองเจดีย์บูชา สะพานรถไฟเสาวภา วัดแค ไปจนถึงวัดสัมปทวน เรียงรายไปตลอดริมแม่น้ำท่าจีน ประมาณ 1 กิโลเมตรประมาณ 30 ครอบครัว แต่มีผู้ใช้ภาษาเขมรเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น[17] ขณะที่ตำบลบ้านโพธิ์และตำบลตลิ่งชัน จังหวัดสุพรรณบุรี มีหมู่บ้านที่ใช้ภาษาเขมรร่วมกับภาษาไทย 7 หมู่บ้าน[18]
นอกจากการแต่งกายชาวไทยเชื้อสายเขมรนั้น จะมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันระหว่างคนภายในชุมชนเดียวกันแต่ต่างชาติพันธุ์กัน อย่างเช่น ชุมชนบ้านโซง ซึ่งเดิมเป็นชุมชนของชาวเขมร แต่ต่อมามีชาวไทยเชื้อสายลาวเข้ามาอยู่ภายในชุมชนด้วย โดยหากมีการแต่งงานข้ามกลุ่มกันระหว่างกลุ่ม ก็จะนิยมจัดงานแต่งงานแบบเขมร และชาวไทยเชื้อสายเขมรในชุมชนนี้จะมีความพยายามในการเรียนรู้ภาษาไทยกลางและภาษาลาว
ชาวไทยเชื้อสายเขมรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ช่วงเข้าพรรษาจะมีประเพณีกันซง ซึ่งเป็นประเพณีการถือศีล นำอาหารไปทำบุญ ที่วัด 8 วัน หรือ 15 วัน นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ จะมีประเพณีไหว้บรรพบุรุษ เรียกว่า ประเพณีเบ็นหรืองาน แคเบ็น ซึ่งตรงกับสารทไทย พิธีมงก็วลจองได เป็นพิธีสู่ขวัญแบบพื้นบ้าน นิยมจัดในงานมงคล เช่น งานมงคลสมรส ขวัญนาค โกนจุก ยกเสาเอก ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น พิธีมอม็วด เป็นพิธีที่ทำเพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย โดยผู้เข้าทรงจะเชิญวิญญาณมาเข้าสู่ร่าง และจะมีผู้คอยซักถามว่าเหตุใดถึงได้เจ็บป่วย นอกจากนั้นชาวไทยเชื้อสายเขมรยังเชื่อเรื่องโชคราง ของขลัง ฤกษ์ยามเครื่องราง ของขลังบางอย่างสามารถป้องกันภัยและรักษาโรคได้[17]
นอกจากพระพุทธศาสนาแล้ว ชาวไทยเชื้อสายเขมรบางส่วนก็นับถือคริสต์ศาสนาอย่างเช่นในชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ ในซอยมิตตคาม ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่ได้กวาดต้อนชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์มาอาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โดยได้ทำการกวาดต้อนมาประมาณ 500 คน โดยเป็นชาวโปรตุเกส 450 คน และชาวเขมรอีก 100 คน[19] โดยกลุ่มชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์ได้นำรูปสลักพระแม่มารี หรือ พระแม่ขนมจีน หรือ พระแม่ตุ้งติ้ง มาด้วย ภายหลังมีการอัญเชิญรูปสลักนี้กลับกัมพูชา แต่ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ทำให้ไปต่อไม่ได้ จึงนำกลับมาประดิษฐาน ณ วัดคอนเซ็ปชัญตามเดิม ด้วยเหตุที่มีชาวเขมรเข้ามาตั้งถิ่นฐานภายในชุมชน จึงทำให้วัดคอนเซ็ปชัญมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ วัดเขมร[19] โดยอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมรในวัดคอนเซ็ปชัญคือ หมูหัน
แม้ว่าในปัจจุบันเป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเขมรเหนือยังคงรักษาเอกลักษณ์เขมรบางส่วน เช่น นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทแบบเขมร และพูดภาษาเขมรเหนือ มีชาวเขมรเหนือไม่กี่คนสามารถอ่านหรือเขียนภาษาแม่ของตนเองได้[20] เพราะว่าในโรงเรียนรัฐมีการสอนเป็นภาษาไทยเท่านั้น
การเรียนการสอนภาษาไทยนี้ ทำให้คนรุ่นหลังหลายคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลางในการสื่อสารได้สะดวกกว่า ใน ค.ศ. 1998 Smalley รายงานถึงการเริ่นต้นความสนใจภาษาและวัฒนธรรมเขมรใหม่ ทำให้มีผู้พูดภาษาเขมรเหนือเพิ่มขึ้นสองเท่ามาตั้งแต่ ค.ศ. 1958[21] อย่างไรก็ตาม การใช้เขมรลดลงในเวลาต่อมา[22]
ในสองทศวรรษที่แล้ว มีการฟื้นฟูวัฒนธรรม 'ท้องถิ่น' ในประเทศไทยโดยรัฐ เช่น วัฒนธรรมเขมร ซึ่งถูกท้าทายจากการนำเรื่องเล่าของรัฐมาใช้และไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถให้กับชาวเขมรเหนือได้อย่างเพียงพอ[23]
ประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเขมรมีจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะเป็นพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมร เช่น
ถึงแม้ว่าชาวเขมรกรมในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ประเทศเวียดนาม ไม่ได้อยู่ใกล้ระดับการประท้วงเลย ชาวเขมรเหนือบางส่วนในภาคอีสานต้องการสิทธิมากกว่าเดิมและต่อต้านการแผลงเป็นไทย และการสู้รบเป็นครั้งคราวระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาทำให้ความสัมพันธ์ของพวกเขาในบางครั้งยากลำบาก[25][26]
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า |doi=
(help)