ซินผี

ซินผี (ซิน ผี)
辛毗
เสนาบดีองค์รักษ์ (衛尉)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 234 (234) – ป. ค.ศ. 235 (235)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 227 (227) – ค.ศ. 234 (234)
กษัตริย์โจยอย
ที่ปรึกษาทัพของมหาขุนพล
(大將軍軍師)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 234
กษัตริย์โจยอย
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจผี
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 220 (220) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจผี
หัวหน้าเลขานุการประจำตัวอัครมหาเสบาบดี
(丞相長史)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ป. 219 (ป. 219) – ค.ศ. 220 (220)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ขุนนางที่ปรึกษา (議郎)
ดำรงตำแหน่ง
ป. ค.ศ. 204 (204) – ป. ค.ศ. 219 (219)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ (หลัง ค.ศ. 208)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดก่อน ค.ศ. 191
นครยฺวี้โจฺว มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิตป. ค.ศ. 235[a]
บุตร
ญาติซินเบ้ง (พี่ชาย)
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองจั่วจื้อ (佐治)
ชื่อรองซู่โหฺว (肅侯)
บรรดาศักดิ์อิ่งเซียงโหฺว
(潁鄉侯)

ซินผี (ก่อน ค.ศ. 191[b] - ป. ค.ศ. 235)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ซิน ผี (จีน: 辛毗) ชื่อรอง จั่วจื้อ (จีน: 佐治) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เขาเริ่มต้นอาชีพในปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในฐานะที่ปรึกษาขุนศึก อ้วนเสี้ยว พร้อมกับพี่ชายของเขา ซินเป๋ง หลังการเสียชีวิตของ อ้วนเสี้ยว และการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่าง อ้วนถำ กับ อ้วนซง ลูกชายของอ้วนเสี้ยว ในขั้นต้นซินผีเข้าข้าง อ้วนถำ แต่ภายหลังแปรพักตร์ไปเข้ากับคู่แข่งของอ้วนเสี้ยว โจโฉ ในขณะที่ขอความช่วยเหลือจากโจโฉ ในนามของอ้วนถำ ในการต่อสู้กับอ้วนซง เป็นผลให้สมาชิกในครอบครัวของเขาถูกประหารโดย สิมโพย ผู้ภักดีของอ้วนซง ซึ่งตำหนิซินผีสำหรับการล่มสลายของตระกูลอ้วน หลังจากล้างแค้นให้ครอบครัว ซินผีทำหน้าที่เป็นขุนนางภายใต้ โจโฉ ซึ่งควบคุมราชสำนักฮั่น และ พระเจ้าเหี้ยนเต้ หลังจากที่รัฐวุยก๊กเข้ามาแทนที่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกแล้ว ซินผียังคงรับใช้ภายใต้ผู้สืบทอดของโจโฉ พระเจ้าโจผี จักรพรรดิเว่ยองค์แรก และต่อมาภายใต้ พระเจ้าโจยอย พระราชโอรสของพระเจ้าโจผี ตลอดการรับราชการในวุยก๊ก เขาเป็นคนพูดตรงไปตรงมาและวิพากษ์วิจารณ์เมื่อใดก็ตามที่เขาไม่เห็นด้วยกับจักรพรรดิและเพื่อนร่วมงานของเขา

ครอบครัว

[แก้]

ลูกชาย ซินเป

ลูกสาว ซินเหียนเอ๋ง

พี่ชาย ซินเป๋ง

พ่อแม่ และญาติอีก 60 กว่าคน

เมื่อขงเบ้งบุกวุยก๊ก มีครั้งหนึ่งสุมาอี้แม่ทัพใหญ่วุยก๊กโกรธจัด เนื่องจากขงเบ้งส่งชุดชั้นในสตรไปให้ ซินผีทราบข่าว จึงไปบอกลูกสาว ลูกสาวจึงกล่าวกับพ่อว่า"ชะตากรรมของบ้านเมืองขึ้นอยู่กับกองทัพ หากนายทัพใส่ใจกับเรื่องไร้สาระ ยกพลเข้ารบด้วยโทสะ หายนะย่อมบังเกิด การเช่นนี้หาควรไม่" ซินผีได้ยินดังนั้น จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าโจยอยเพื่อทัดทานไม่ให้สุมาอี้ออกรบและให้ตั้งค่ายมั่นไว้ ซึ่งต่อมาขงเบ้งก็ป่วยตาย

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 วันที่ซินผีเสียชีวิตไม่มีบันทึกในจดหมายเหตุสามก๊ก เรฟ เดอ เครสพิกนี นักจีนวิทยาชาวออสเตรเลียเขียนว่าซินผีเสียชีวิต "ราวปี ค.ศ. 235"[1]
  2. ซินเหียนเอ๋งบุตรสาวคนโตของซินผีเกิดในปี ค.ศ. 191

อ้างอิง

[แก้]
  1. de Crespigny (2007), pp. 896–897.