ซีนางัก

ซีนางัก
ชื่ออื่นข้าวผัดกระเทียม ข้าวกระเทียม ข้าวผัดฟิลิปปินส์
มื้ออาหารจานหลัก
แหล่งกำเนิดฟิลิปปินส์
ภูมิภาคฟิลิปปินส์ และยังได้รับความนิยมในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
ผู้สร้างสรรค์ชาวฟิลิปปินส์
ส่วนผสมหลักข้าว กระเทียม และน้ำมัน
รูปแบบอื่นข้าวผัดอาลีเก ข้าวผัดบาโกโอง

ซีนางัก (ตากาล็อก: sinangag) ข้าวผัดกระเทียม หรือ ข้าวกระเทียม เป็นข้าวผัดแบบฟิลิปปินส์ที่ปรุงโดยการผัดข้าวสุกกับกระเทียม โดยทั่วไปจะนิยมใช้ข้าวเหลือจากมื้อก่อนหน้าเนื่องจากเนื้อข้าวจะแน่นกว่าและผ่านกระบวนการหมักมาแล้วเล็กน้อย ซีนางักที่ปรุงเสร็จแล้วจะโรยด้วยกระเทียมเจียว เกลือ พริกไทยดำ และบางครั้งจะโรยต้นหอมสับด้วย[1][2][3][4][5]

ซีนางักนิยมรับประทานร่วมกับเนื้อแห้ง เช่น เบคอน ไส้กรอกแบบแห้งหรือ โลงกานีซา ตาปา หรือเนื้อเค็มตากแห้ง สแปม หรือแฮมกระป๋อง และ ดาอิง หรือปลาเค็มแห้ง เป็นต้น และอาจจะรับประทานร่วมกับไข่กวนหรือไข่ดาว ข้าวผัดชนิดนี้ไม่เหมือนกับข้าวผัดชนิดอื่นเนื่องจากมีเครื่องปรุงหลักเพียงสองอย่างได้แก่ข้าวและกระเทียม เพื่อไม่ให้กลบรสชาติของกับข้าว[1][2][4][5] ในบริเวณหมู่เกาะวิซายัส ซีนางักมักจะปรุงแต่งด้วยเกลือเฉพาะที่เรียกว่า อาซินตีบูโอก[6]

ซีนางักมักรับประทานเป็นอาหารเช้าและใช้ข้าวที่เหลือจากมื้อก่อนหน้า บางครั้งก็จะปรุงในน้ำที่เหลือจากอาโดโบ ชาวฟิลิปปินส์ถือว่าการใช้ข้าวหุงสุกใหม่มาผัดซีนางักเป็นเรื่องไม่สมควร[1][2][3][4][5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Cabrera, Maryanne. "Sinangag Filipino Garlic Fried Rice". The Little Epicurean. สืบค้นเมื่อ 20 January 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 Vanjo Merano. "Sinangag Recipe". Panlasang Pinoy. สืบค้นเมื่อ 8 December 2014.
  3. 3.0 3.1 "Sinangag". Kawaling Pinoy. สืบค้นเมื่อ 20 January 2019.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Garlic Fried Rice (Sinangag) - How to Cook". Filipino Food Recipes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-29. สืบค้นเมื่อ 20 January 2019.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Recipe #21: SINANGAG (Garlic Fried Rice)". Luto ni Lola. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-29. สืบค้นเมื่อ 20 January 2019.
  6. "Tultul "Rock" salt from Guimaras". Flavours of Iloilo. สืบค้นเมื่อ 19 December 2018.