บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ซีเมนส์ อินสไปโร | |
---|---|
รถไฟฟ้าซีเมนส์ อินสไปโร ของรถไฟใต้ดินวอร์ซอ สาย M2 | |
ภายในรถไฟฟ้ารุ่นซีเมนส์ อินสไปโรของรถไฟใต้ดินวอร์ซอ สาย M2 | |
ประจำการ | พ.ศ. 2556–ปัจจุบัน |
ผู้ผลิต | ซีเมนส์โมบิลิตี |
รูปแบบการจัดขบวน | ชุดรถไฟ 2–8 ตู้ |
ความจุผู้โดยสาร | 174 ที่นั่ง 1,554 ที่นั่งและยืน |
ผู้ให้บริการ | รถไฟใต้ดินวอร์ซอ รถไฟใต้ดินมิวนิก แรปิดเคแอล รถไฟฟ้ารียาด รถไฟใต้ดินโซเฟีย รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล |
คุณลักษณะ | |
ความยาว | ประมาณ 89,560 มม. |
ความกว้าง | 3.1 m (10 ft) (ตามแนวบานประตู) |
ความสูง | 1.1 m (3 ft 7 in) (ความสูงพื้น) |
ความเร็วสูงสุด | เป้าหมาย: 100 km/h (62 mph) ให้บริการ: 80 km/h (50 mph) |
ระบบจ่ายไฟฟ้า | รางที่สาม 750 โวลต์ |
มาตรฐานทางกว้าง | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) |
ซีเมนส์ อินสไปโร (อังกฤษ: Siemens Inspiro) เป็นตระกูลรถรางไฟฟ้าเพื่อระบบขนส่งด่วนพิเศษ ผลิตโดย ซีเมนส์โมบิลิตี้ แนวคิดของยานพาหนะดังกล่าวเปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2555 โดยมีแนวคิดหลักเป็นการใช้ส่วนจำเพาะ ทำให้มีรุ่นดัดแปลงของพาหนะรถไฟจำนวนมาก โดยรถชุดแรกได้เริ่มออกให้บริการกับระบบรถไฟฟ้าวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ เมื่อ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552, ซีเมนส์โมบิลิตี้ได้เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ตระกูลรถไฟใต้ดินใหม่ โดยร่วมมือกับ DesignworksUSA ในด้านการออกแบบ โดยบริษัทที่ออกแบบบนยานพาหนะให้กับรุ่น Mo.Mo ซึ่งผลิตก่อนหน้านี้สำหรับเวียนนาปรากออสโลและนูเรมเบิร์ก และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2555 ที่งานอินโนทรานส์ (InnoTrans) ณ กรุงเบอร์ลิน
นับจากนั้นซีเมนส์ได้เริ่มขายระบบรถไฟฟ้ารุ่นนี้เป็นหลักแทนโมดูลาร์ เมโทร โดยยังชูจุดเด่นเดิมคือผู้ผลิตสามารถสั่งประกอบหรือออกแบบขบวนรถเองได้โดยไม่มีข้อจำกัด เนื่องจากเป็นการใช้ส่วนจำเพาะหลัก ๆ ของระบบ
รถไฟฟ้าเมืองกัวลาลัมเปอร์ สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง จำนวน 4 คันต่อขบวน ถูกออกแบบให้เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับ[4]
รถไฟฟ้าเมืองวอร์ซอ จำนวน 6 คันต่อขบวน[5]
รถไฟฟ้าเมืองรียาด จำนวน 2-4 คันต่อขบวน[6][7]
รถไฟใต้ดินลอนดอน (NTfL; New Tube for London) จำนวน 6-8 คันต่อขบวน[8]
รถไฟฟ้าเมืองโซเฟีย จำนวน 3 คันต่อขบวน[9][10]
รถไฟฟ้าเมืองมิวนิก จำนวน 6 คันต่อขบวน