ซู่ชุ่น 爱新觉罗·肃顺 | |
---|---|
อุปราชแห่งราชวงศ์ชิง | |
แต่งตั้งโดย | จักรพรรดิเสียนเฟิง |
กษัตริย์ | จักรพรรดิถงจื้อ |
ถัดไป | ซูอันไทเฮา และ ซูสีไทเฮา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 1816 |
เสียชีวิต | 1861 (อายุ 44–45) |
ญาติ | ตวนหัว (พี่/น้องชาย) |
ซู่ชุ่น (แมนจู: ᡠᡴᡠᠨ ᡧᡠᡧᡠᠨ Uksun Šušun; จีนตัวย่อ: 肃顺; จีนตัวเต็ม: 肅順; พินอิน: Sùshùn); (26 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1816– 1861) เกิดในตระกูลของชาวแมนจู อ้ายซินเจว๋หลัว เป็นบุตรคนที่หกของ Ulgungga (烏爾恭阿) หรือ the Prince Zheng
แม้ว่าซู่ชุ่นจะเกิดในครอบครัวชนชั้นสูง แต่ด้วยขนาดของครอบครัวทำให้ในช่วงวัยเด็กของเขาได้รับความสนใจและความคาดหวังจากครอบครัวน้อย อีกทั้งไม่มีความสามารถพิเศษทั้งทางด้านวรรณคดีและศิลปะการต่อสู้
ซู่ชุ่นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายพล (General) ในช่วงปลายรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง ภายหลังจากการเสียชีวิตของ Wenqing หนึ่งในที่ปรึกษาใกล้ชิดของจักรพรรดิเสียนเฟิง (Xianfeng emperor) จักรพรรดิพระองค์ที่ 9 (นับจากจักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ) แห่งราชวงศ์ชิง เป็นราชโอรสองค์ที่ 4 ของจักรพรรดิเต้ากวง ซู่ชุ่นถูกเรียกรับใช้ในฐานะที่ปรึกษาขององค์จักรพรรดิบ่อยครั้งในเรื่องนโยบายการปกครองที่สำคัญ ตำแหน่งแรกในราชสำนักของเขาคือทหารรักษาพระองค์ และต่อมาได้รับการยอมรับและเลื่อนขั้นได้เป็นข้าราชสำนักระดับสูงของราชวงศ์ชิงในเวลาต่อมา ในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 (Second Opium War) เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำด้านนโยบายต่างประเทศ และเป็นผู้ปฏิเสธการเข้าร่วมสนธิสัญญาของต่างประเทศหลายฉบับในสมัยนั้น (ปลายทศวรรษ 1850) ซึ่งรวมถึงสนธิสัญญาชิโน-รัสเซียนอ้ายหุน (อังกฤษ: the Sino-Russian Treaty of Aigun; Russian: Айгунский Договор; จีนตัวย่อ: 瑷珲条约; จีนตัวเต็ม: 璦琿條約; พินอิน: Àihún Tiáoyuē)
หลังการสิ้นพระชมน์ของสมเด็ขพระจักรพรรดิเสียนเฟิงในปี ค.ศ. 1861 ซู่ชุ่น พี่ชายของซู่ชุ่นคือ ตวนหัว (อังกฤษ: Duanhua; จีนตัวย่อ: 端华; จีนตัวเต็ม: 端華; พินอิน: Duān huá) พร้อมด้วยไจ้หยวน (อังกฤษ: Zaiyuan; จีนตัวย่อ:载垣; จีนตัวเต็ม: 載垣; พินอิน: Zài yuán) และพวกอีก 5 คน ซึ่งต่างเป็นข้าราชการในรสำนักราชวงศ์ชิงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ (Regents) เพื่อดูแลชนกลุ่มน้อยในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อผู้ซึ่งยังทรงพระเยาว์ อย่างไรก็ตามผู้สำเร็จราชการไม่สามารถตัดสินใจในนโยบายสำคัญได้หากปราศจากตราประจำพระองค์ขององค์ไทเฮา (พระพันปีหลวง หรือไทโฮ่ว; 太后) ทั้งสอง คือ ซูอันไทเฮา และซูสีไทเฮา ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มแรงเสียดทานในการบริหารงานของราชสำนักมากยิ่งขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1861 เจ้าชายอี้ซิน (อังกฤษ: Yixin หรือ Prince Gong; จีนตัวย่อ: 奕䜣; จีนตัวเต็ม: 奕訢; พินอิน: Yìxīn) ซึ่งเป็นพระเชษฐาร่วมพระบิดา ซูอันไทเฮา และซูสีไทเฮา ร่วมกันทำรัฐประหารผู้สำเร็จราชการหรือรัฐประหารซินโหย่ว เพื่อยึดอำนาจ ทำให้สมาชิกทั้ง 8 ในสภาถูกจับกุมและซู่ชุ่นได้รับโทษประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะในข้อหากบฏในปี ค.ศ. 1861 นั้นเอง
[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]] | |
---|---|
ชื่อ | Sushun} |
ชื่ออื่น | |
รายละเอียดโดยย่อ | qing Dynasty regent |
วันเกิด | 26 November 1816 |
สถานที่เกิด | |
วันตาย | 1861 |
สถานที่ตาย |