สำนักงานใหญ่ดองกิโฮเต้ที่เมงูโระ | |
ประเภท | Public K.K. (TYO: 7532) |
---|---|
อุตสาหกรรม | การค้าปลีก |
ก่อตั้ง | 5 กันยายน พ.ศ. 2523 (โตเกียว, ญี่ปุ่น) |
สำนักงานใหญ่ | เมงูโระ, ญี่ปุ่น |
จำนวนที่ตั้ง | 322 ร้านค้า (เมษายน พ.ศ. 2562)[1] |
พื้นที่ให้บริการ | ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮาวาย ไทย ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน มาเลเซีย |
ผลิตภัณฑ์ | เสื้อผ้า, อาหาร, อัญมณี, ของใช้ในบ้าน, เครื่องมือ, สินค้ากีฬาและอิเล็กทรอนิกส์ |
พนักงาน | 4,391 |
บริษัทแม่ | แพน แปซิฟิค อินเตอร์เนชันแนล โฮลดิ้งส์[2] |
เว็บไซต์ | donki |
ดองกิโฮเต้ (ญี่ปุ่น: ドン・キホーテ; โรมาจิ: Don kihōte) เป็นร้านค้าขายของลดราคาจากประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งใน 5 กันยายน พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) มีสาขามากกว่า 160 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศอีก 10 สาขา สิงคโปร์, ไทยและฮ่องกง ใช้ชื่อร้านว่า ดอง ดอง ดองกิ (อังกฤษ: Don Don Donki) ส่วน ฮาวาย ใช้ชื่อร้านเดิม[3][4]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2566) ร้านดองกิโฮเต้ในประเทศญี่ปุ่นมีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 615 สาขา โดยแบ่งสาขาชื่อร้านออกเป็นชื่อ ดองกิโฮเต้ 248 สาขา MEGA ดองกิโฮเต้ 140 สาขา และในชื่ออื่น ๆ อีก 227 สาขา[5]
ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ดองกิในไทย เกิดการร่วมทุนเมื่อปี 2559[6][7] ระหว่าง บริษัท นิปปอน พาร์คกิ้ง ดีเวลลอปเมนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการบริหารจัดการที่จอดรถจากประเทศญี่ปุ่น และ บริษัท ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตสีทาบ้าน TOA จัดตั้ง บริษัท เจซีอี-ทีโอเอ จำกัด[8] ขึ้นมาดูแลและบริหาร ศูนย์การค้าดองกิ มอลล์ ทองหล่อ ดองกิมีผู้ถือหุ้น[9]คือ บริษัท แพน แปซิฟิค อินเตอร์เนชันแนล โฮลดิ้งส์ จำกัด บริษัทในกลุ่มดองกิโฮเต้ ถือหุ้น 49% ร่วมทุนกับ บริษัท ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสี ถือหุ้น 40% และ บริษัท พี พี ไอ จำกัด ถือหุ้น 11% ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัท นิปปอน พาร์คกิ้ง ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาพื้นที่จอดรถที่ญี่ปุ่น สาขาแรกตั้งอยู่ในศูนย์การค้า ดองกิ มอลล์ ทองหล่อ ถนนทองหล่อ เขตวัฒนา ที่ดิน 3 ไร่ เดิมเป็นที่ดินสำนักงาน TOA[10][11]ชื่อร้านว่า ดอง ดอง ดองกิ ชื่อเดียวกันจากประเทศสิงคโปร์ เป็นสาขาแรกในประเทศไทย และเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียนต่อจากประเทศสิงคโปร์ที่ได้เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2560
ปลายปี พ.ศ. 2562 บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เข้ามาร่วมถือหุ้น ทำให้สัดส่วนเปลี่ยนแปลงเป็น สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง ถือหุ้น 22%, บริษัท ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นลงมาอยู่ที่ 18%, และ บริษัท พี พี ไอ จำกัด ที่เป็นบริษัทลูกของแพน แฟซิฟิคฯ ถือหุ้นในสัดส่วน 60%[12][13][14]
ชื่อสาขา | วันที่เริ่มเปิดดำเนินการ | เขต/อำเภอที่ตั้ง | จังหวัดที่ตั้ง | ตั้งอยู่ใน |
---|---|---|---|---|
ทองหล่อ | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 | เขตวัฒนา | กรุงเทพมหานคร | ดองกิ มอลล์ ทองหล่อ |
ศรีนครินทร์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 | เขตประเวศ | ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ | |
ปทุมวัน | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564[15] | เขตปทุมวัน | เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ | |
บางแค | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565[16][17][18] | เขตภาษีเจริญ | ซีคอนบางแค | |
ศรีราชา | 9 กันยายน พ.ศ. 2565 | อำเภอศรีราชา | ชลบุรี | เจ-พาร์ค ศรีราชา นิฮอน มูระ |
สีลม | 23 มกราคม พ.ศ. 2566[19] | เขตบางรัก | กรุงเทพมหานคร | ธนิยะ พลาซา |
คันนายาว | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | เขตคันนายาว | แฟชั่นไอส์แลนด์ | |
บางกะปิ | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[20][21][22][23] | เขตบางกะปิ | เอ็มไลฟ์สโตร์ บางกะปิ | |
บางใหญ่ | พ.ศ. 2568[24] | อำเภอบางใหญ่ | นนทบุรี | เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท เซ็นทรัล เวสต์เกต |
ชื่อสาขา | วันที่เริ่มเปิดดำเนินการ | วันที่ปิดกิจการ | เขต/อำเภอที่ตั้ง | จังหวัดที่ตั้ง | ตั้งอยู่ใน |
---|---|---|---|---|---|
ราชประสงค์ | 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 | 4 กันยายน พ.ศ. 2565[25][26] | เขตปทุมวัน | กรุงเทพมหานคร | เดอะ มาร์เก็ต แบงค็อก |