ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ เรสเซิลเมเนีย (วิดีโอเกม พ.ศ. 2532)

ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ เรสเซิลเมเนีย
ภาพหน้าปกเวอร์ชันอเมริกาเหนือที่มีฮัลก์ โฮแกน
ผู้พัฒนาแรร์
ผู้จัดจำหน่ายอะเคลมเอนเตอร์เทนเมนต์
ออกแบบจูลส์ เจมสัน
ทิม สแตมเปอร์
ศิลปินเควิน เบย์ลิส
แต่งเพลงเดวิด ไวส์
เครื่องเล่นนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม
วางจำหน่าย
แนวมวยปล้ำ
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น (สูงสุดหกผู้เล่น)
การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เกมโซน88/100[3]
โทเทิล!30 เปอร์เซ็นต์[4]

ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ เรสเซิลเมเนีย (อังกฤษ: WWF WrestleMania) (ตั้งชื่อตามอีเวนต์จ่ายเมื่อรับชมประจำปี) เป็นวิดีโอเกมนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม (NES) ที่สร้างโดยบริษัทแรร์ และเผยแพร่โดยบริษัทอะเคลมเอนเตอร์เทนเมนต์ใน ค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นเกมนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมเกมแรกที่ได้รับอนุญาตจากดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ และเกมดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟเกมที่สองของเครื่องเล่นทั้งหมด โดยมีเกมแรกคือไมโครลีกเรสลิง ซึ่งเรสเซิลเมเนียยังเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างบริษัทอะเคลมและดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟซึ่งกินเวลานานถึงสิบปี เกมนี้ได้รับการเปิดตัวเพียงไม่กี่เดือนก่อนเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 5 โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยสร้างอีเวนต์นั้น และหน้าจอไตเติลของเกมนี้มีสโลแกนสำหรับเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 3 คือ: "บิ๊กเกอร์. เบตเทอร์. แบดเดอร์"

ส่วนเวอร์ชันเกมบอยเริ่มพัฒนาใน ค.ศ. 1990 แต่ถูกยกเลิกไป เกมดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยซิปโปเกมส์ และออกแบบโดยจอห์น พิกฟอร์ด[5] ต่อมา บริษัทแรร์ได้ผลิตเกมที่ติดตามมาคือดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ เรสเซิลเมเนียชาลเลนจ์ ส่วนเวอร์ชันเกมกระดานวีซีอาร์ร่วมสมัยซึ่งออกแบบโดยอินเตอร์แอ็กทีฟ วีซีอาร์ เกมส์ ก็เปิดตัวในช่วงเวลาเดียวกันเช่นกัน เช่นเดียวกับเวอร์ชันพกพา[6]

รูปแบบการเล่น

[แก้]

เกมดังกล่าวมีนักมวยปล้ำหกคน ได้แก่ ฮัลก์ โฮแกน, อ็องเดรเดอะไจแอนต์, "มาโชแมน" แรนดี ซาเวจ, "เดอะมิลเลียนดอลลาร์แมน" เท็ด ดีบีอาซี, แบม แบม บิเกโลว์ และเดอะฮ็องกีทองก์แมน นักมวยปล้ำทุกคนมีท่าที่จำกัด ซึ่งประกอบด้วยการยืนต่อยและเตะขั้นพื้นฐาน, การโขกหัว, การวิ่งโจมตี, ออกตัวจากเทิร์นบักเคิล (ซึ่งอ็องเดรเดอะไจแอนต์ และแบม แบม บิเกโลว์ ไม่สามารถกระทำได้) และบอดีสแลม (ซึ่งแบม แบม บิเกโลว์ และฮ็องกีทองก์แมน ไม่สามารถกระทำได้) นักมวยปล้ำทุกคนยังมี "การโจมตีกลับหลัง" ที่สามารถใช้กับคู่ต่อสู้ที่ยืนอยู่ข้างหลังได้ (โดยปกติจะเป็นหมัดกลับหลัง) ส่วนบรรดาท่านั้นได้รับการปรับให้เหมาะกับนักมวยปล้ำแต่ละคน (เช่น แรนดี ซาเวจ ใช้การฟันศอกแทนการชก ในขณะที่แบม แบม บิเกโลว์ มีการโจมตีสองครั้งแทนที่จะเป็นครั้งเดียว) นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่ามีเพียงฮัลก์ โฮแกน เท่านั้นที่สามารถบอดีสแลมอ็องเดรเดอะไจแอนต์ที่มีร่างใหญ่โตได้ บรรดานักมวยปล้ำไม่สามารถออกจากเวทีได้และสามารถกระทำเทิร์นบักเคิลโจมตีแได้จากสองมุมล่างเท่านั้น และบางครั้ง ในขณะที่นักมวยปล้ำกำลังถูกทารุณกรรม ตัวเขาจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ซึ่งแสดงถึงความโกรธ ซึ่งนักมวยปล้ำที่ "โกรธ" สามารถสร้างความเสียหายได้มากกว่าปกติขณะอยู่ในสถานะนี้ รวมถึงในบางครั้ง ในระหว่างการแข่ง จะมีไอคอนปรากฏบนหน้าจอที่นักมวยปล้ำสามารถเก็บเพื่อเพิ่มพลังชีวิตได้ บรรดาไอคอนนี้มีลักษณะเฉพาะตัวสำหรับนักมวยปล้ำแต่ละคน (เช่น ของฮ็องกีทองก์แมนดูเหมือนกีตาร์, ของอ็องเดรดูเหมือนเท้าใหญ่ ในขณะที่ของฮัลก์ โฮแกน ดูเหมือนไม้กางเขน) และไม่สามารถใช้แทนกันได้ (นักมวยปล้ำจะรับได้เฉพาะไอคอนของตัวเองเท่านั้น)

ผู้เล่นสามารถเล่นแมตช์อุ่นเครื่องเดี่ยว (ผู้เล่นหนึ่งคนปะทะคอมพิวเตอร์ หรือผู้เล่นสองคนแบบตัวต่อตัว) หรือแบบทัวร์นาเมนต์ก็ได้ โดยในทัวร์นาเมนต์ผู้เล่นเดี่ยว ผู้เล่นเลือกนักมวยปล้ำหนึ่งคน และต้องชนะอีกห้าคนในการแข่งเพื่อคว้าแชมป์ ส่วนในทัวร์นาเมนต์ที่มีนักมวยปล้ำที่ผู้เล่นควบคุมตั้งแต่สองคนขึ้นไป (สามารถเล่นได้สูงสุดหกคน) นักมวยปล้ำแต่ละคนจะต้องเผชิญหน้ากับนักมวยปล้ำคนอื่น ๆ หนึ่งครั้ง (รวมการแข่งทั้งหมดสิบห้าแมตช์) เมื่อสิ้นสุดทัวร์นาเมนต์ นักมวยปล้ำที่มีสถิติดีที่สุดจะเป็นผู้ชนะการแข่งชิงแชมป์ดังกล่าว และในกรณีที่เสมอกัน นักมวยปล้ำในกลุ่มที่ได้รับชัยชนะเร็วที่สุดในระหว่างทัวร์นาเมนต์จะได้รับการประกาศให้เป็นผู้ชนะ

ในวัฒนธรรมประชานิยม

[แก้]

ฉากหนึ่งในภาพยนตร์ ค.ศ. 2008 เรื่องเพื่อเธอขอสู้ยิบตามีเกมนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมสมมติชื่อเรสเซิลแจม '88 ซึ่งเป็นตัวเกมแบบทดลองที่ใช้งานได้เต็มรูปแบบ โดยมีรูปแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเกมดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ เรสเซิลเมเนีย[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Availability Update" (PDF). Computer Entertainer. Vol. 7 no. 11. February 1989. p. 14.
  2. "The Complete NES Game Pak Directory (special edition)". Nintendo Power. Nintendo of America. March–April 1989. p. A6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-10-11.
  3. "WWF Wrestlemania". Game Zone. No. 8. June 1992. pp. 56–57.
  4. Andy (June 1992). "Wrestlemania". Total!. pp. 26–27.
  5. "WWF Wrestling". Zee-3 Digital Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-06. สืบค้นเมื่อ 21 June 2022.
  6. "Acclaim Announces New NES Game, Diversifies". Computer Entertainer. October 1988. p. 9.
  7. "The Making of Wrestle Jam: The Wrestler's Unsung Hero". Kotaku. 2009-02-24. สืบค้นเมื่อ 2009-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]