ดาวคะนอง | |
---|---|
กำกับ | อโนชา สุวิชากรพงศ์ |
เขียนบท | อโนชา สุวิชากรพงศ์ |
อำนวยการสร้าง | โสฬส สุขุม เบญจวรรณ สมสิน Edward Gunawan ลี ชาตะเมธีกุล อโนชา สุวิชากรพงศ์ ชยัมพร เตรัตนชัย |
นักแสดงนำ | วิศรา วิจิตรวาทการ อารักษ์ อมรศุภศิริ อภิญญา สกุลเจริญสุข เพ็ญพักตร์ ศิริกุล รัศมี เผ่าเหลืองทอง อัจฉรา สุวรรณ์ |
วันฉาย | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (ปฐมทัศน์ที่สวิตเซอร์แลนด์) 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (ไทย) |
ความยาว | 105 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจาก IMDb |
ดาวคะนอง (By the time it gets dark) เป็นภาพยนตร์ไทย กำกับโดยอโนชา สุวิชากรพงศ์ นำแสดงโดยวิศรา วิจิตรวาทการ, อารักษ์ อมรศุภศิริ, อภิญญา สกุลเจริญสุข, เพ็ญพักตร์ ศิริกุล, รัศมี เผ่าเหลืองทอง และ อัจฉรา สุวรรณ์ เริ่มฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่โลการ์โน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[1] หลังจากนั้นออกฉายที่ประเทศเกาหลีใต้, อังกฤษ, แคนาดา และฮ่องกง ฯลฯ ส่วนในประเทศไทย อโนชาเลือกจะจัดฉายหนังรอบพิเศษสำหรับแขกรับเชิญเฉพาะกลุ่มในคืนวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เพื่อรำลึกถึงวาระครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และฉายรอบปกติ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ดาวคะนอง ได้รับทุนสนับสนุน Prince Claus Film Fund Award และ Hubert Bals Plus Europe จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ทุนไทยเข้มแข็ง จาก กระทรวงวัฒนธรรม และทุน Doha Film Fund จากประเทศกาตาร์
ชื่อของภาพยนตร์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับดาวคะนองในเขตจอมทอง ผู้สร้างเห็นว่า เมื่อขับรถขึ้นไปทางด่วนมักจะเห็นป้ายดาวคะนองเสมอ จึงเปรียบดาวคะนองเป็นเหมือนทางผ่าน และอีกนัยยะหนึ่ง หมายถึงคน ซึ่งทุกคนก็เป็นดาวในตัวเอง[2] อโนชาเริ่มเขียนบทภาพยนตร์ร่างแรกของ ดาวคะนอง ตั้งแต่ปี 2552 หลังจากเสร็จสิ้นจากภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของตนเองเรื่อง เจ้านกกระจอก โดย ดาวคะนอง เป็นภาพยนตร์ที่ว่าด้วยการเมืองในเดือนตุลาคม
ภาพยนตร์ เล่าเรื่องภาวะที่เกี่ยวข้องกันอย่างหลวม ๆ ระหว่างตัวละครหลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงและผู้เป็นแรงบันดาลใจของเธอ ซึ่งเคยเป็นอดีตนักศึกษา นักกิจกรรมในทศวรรษ 2510, บริกรสาวผู้เปลี่ยนงานอยู่เป็นประจำ และนักแสดงชาย หญิงคู่หนึ่ง
มติชนสุดสัปดาห์ วิจารณ์ว่า "หนังของอโนชากลับจัดวาง “เรื่องเล่า” หลาย ๆ ชั้น ไว้อย่างกระจัดกระจาย ปราศจากระบบระเบียบ จนกลายเป็น “องค์ขาด” ซึ่งไม่สามารถบอกเล่าถึง “ภาพรวม” ของประวัติศาสตร์หน้าไหนหรือการต่อสู้ใด ๆ ได้อย่างชัดเจน"[3] อะเดย์ พูดในทำนองคล้าย ๆ กันว่าภาพยนตร์ "เหมือนเศษของดาวที่แตกกระจายเป็นเสี่ยง ๆ จนไม่ง่ายนักที่จะทำความเข้าใจ แต่เศษเสี้ยวนี้จะเข้าไปสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นในจิตใจคนดูแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเข้าใจเรื่องสังคมไทยในหลายมิติ ทั้งประวัติศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจ ระบบทุนนิยมและความล่องลอยของมนุษย์เมือง"[4]
ดาวคะนอง ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 26 มากที่สุด[5] และได้รับรางวัลในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ลำดับภาพยอดเยี่ยม[6] อีกทั้งยังเป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมครั้งที่ 90
ภาพยนตร์ได้นำมาฉายใหม่อีกครั้งในช่วงไล่เลี่ย เหตุการณ์ 6 ตุลา เมื่อปี 2560 ที่ Doc Club Theater Warehouse 30 ซ.เจริญกรุง 30 ก่อนจะถูกระงับฉาย ทางด้าน อโนชา สุวิชากรพงศ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ได้โพสต์ลงเฟซบุ้กส่วนตัวว่าถูกฝ่ายเจ้าหน้าที่งดฉาย โดยให้เหตุผลว่า มีความสุ่มเสี่ยงไม่เหมาะสมต่อช่วงเวลา[7][8]
ปี | รายการ | รางวัล/สาขา | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผล |
---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2560 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 26[9] | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อิเล็คทริคอีลฟิล์ม/ซีเนม่าทเวนตี้ทู/วี.เอส เซอร์วิส | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อโนชา สุวิชากรพงศ์ | ชนะ | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | ณัฐดนัย วังศิริไพศาล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | อภิญญา สกุลเจริญสุข | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | อัจฉรา สุวรรณ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อโนชา สุวิชากรพงศ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม | Ming Kai Leung | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ลี ชาตะเมธีกุล, มัชฌิมา อึ๊งศรีวงษ์ | ชนะ | ||
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม | อัคริศเฉลิม กัลยาณมิตร, เฉลิมรัฐ กวีวัฒนา | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | เพลง : Lie – อารักษ์ อมรศุภศิริ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม | รุจิรำไพ มงคล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2560 | รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 25 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อิเล็คทริคอีลฟิล์ม/ซีเนม่าทเวนตี้ทู/วี.เอส เซอร์วิส | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อโนชา สุวิชากรพงศ์ | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อโนชา สุวิชากรพงศ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม | Ming Kai Leung | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ลี ชาตะเมธีกุล, มัชฌิมา อึ๊งศรีวงษ์ | ชนะ | ||
พ.ศ. 2560 | รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 14 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อิเล็คทริคอีลฟิล์ม/ซีเนม่าทเวนตี้ทู/วี.เอส เซอร์วิส | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อโนชา สุวิชากรพงศ์ | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อโนชา สุวิชากรพงศ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม | Ming Kai Leung | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ลี ชาตะเมธีกุล, มัชฌิมา อึ๊งศรีวงษ์ | ชนะ | ||
พ.ศ. 2560 | รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 14 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อิเล็คทริคอีลฟิล์ม/ซีเนม่าทเวนตี้ทู/วี.เอส เซอร์วิส | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อโนชา สุวิชากรพงศ์ | ชนะ | ||
นักแสดงสมทบหญิงยอเยี่ยม | รัศมี เผ่าเหลืองทอง | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อโนชา สุวิชากรพงศ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2560 | รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ครั้งที่ 7 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อิเล็คทริคอีลฟิล์ม/ซีเนม่าทเวนตี้ทู/วี.เอส เซอร์วิส | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อโนชา สุวิชากรพงศ์ | ชนะ |