ดิ อะเมซิ่งเรซเอเชีย 3

ดิ อะเมซิ่งเรซเอเชีย 3
โลโก้รายการ
ออกอากาศ 11 กันยายน พ.ศ. 2551
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ระยะเวลาการถ่ายทำ มิถุนายน พ.ศ. 2551
กรกฎาคม พ.ศ. 2551
จำนวนตอน 11 [1]
ผู้ชนะ แซมกับวินซ์
ทวีปที่ผ่าน 1
ประเทศที่ผ่าน 6
เมืองที่ผ่าน 16
ระยะทางการแข่งขัน 21,600 กิโลเมตร
(13,422 ไมล์)
จำนวนเลก 11
ซีซั่นก่อนหน้าและถัดไป
ก่อนหน้า ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2
ถัดไป ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 4

ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 3 เป็นปีที่สามของรายการดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขัน 10 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา สำหรับความนิยมของรายการนี้ เนื่องจากฉายไปทั่วเอเชียจึงทำให้มีการประมาณกันว่ามีผู้ชมมากถึง 83 ล้านคนทั่วเอเชีย (มาจากจีน 40 ล้านคน) ทำให้มีแผนการที่จะผลิตออกมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับฉบับอเมริกา

สำหรับในฤดูกาลนี้ออกอากาศในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551 มีทั้งหมด 11 ตอน (น้อยกว่า ฤดูกาลที่ 1 และ ฤดูกาลที่ 2 อยู่ 2 ตอน)[1] ตอนสุดท้ายออกอากาศในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[2] และสำหรับตอนพิเศษ Memories ออกอากาศในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การผลิต

[แก้]

การถ่ายทำและการออกอากาศ

[แก้]

ฤดูกาลนี้ได้ตัด ซุปเปอร์เลก ออกไปทำให้เท่ากับว่าเหลือ 11 เลกและจำนวนตอนน้อยกว่าปกติ 2 ตอน รวมถึงไม่ได้มีการตั้งชื่อตอนแต่ละตอนที่ออกอากาศด้วย ตามที่เอเอ็กซ์เอ็นได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ฤดูกาลนี้ถูกขนานนามว่า "การแข่งขันที่โหดที่สุดเท่าที่เคยมีมา" (The Toughest Race Ever) เนื่องจากฤดูกาลนี้ทั้งผู้เข้าแข่งขันและทีมงานประสบกับความเหนื่อยล้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากทั้งผู้เข้าแข่งขันและทีมงานต้องเดินเร็วขึ้นมาก แต่มีเวลาพักน้อยลง แม้ในระหว่างการถ่ายทำรายการ ก็ยังมีทีมงานหนึ่งคนถูกส่งตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล[3]

ในการแข่งขันที่มีการไปเยือนประเทศเวียดนาม Route Marker ของการแข่งขันถูกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง-ขาว เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับธงของประเทศเวียดนามใต้ที่เป็นสีเหลือง-แดง

ฤดูกาลนี้เป็นครั้งแรกที่มีการใช้คำสั่งย้อนกลับ (U-Turn) เป็นครั้งแรก (ในเลก 9) อย่างไรก็ดี คำสั่งร่วมมือ (Intersection) ไม่ได้ถูกนำมาใช้เหมือนกับซีซั่นที่ 2 ฤดูกาลนี้ยังเป็นครั้งแรกของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย ที่มีการแข่งขันทั้งหมดอยู่ในทวีปเอเชียเพียงทวีปเดียว และเป็นฤดูกาลที่ 3 ตั้งแต่ ซีซั่นที่ 8 ของเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา และ ดิ อะเมซิ่ง เรซ บราซิล เป็นต้นมา ซึ่งโดยปกติแล้วการแข่งขันในฤดูกาลก่อน ๆ ของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย จะเดินทางไปอย่างน้อย 2 ทวีป

การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน

[แก้]

ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 3 ปิดรับใบสมัครเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551 (ขยายเวลาจากกำหนดเดิม 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) การสัมภาษณ์เพื่อคัดตัวผู้เข้าแข่งขันในรอบรองสุดท้ายและรอบสุดท้ายมีขึ้นในช่วงเดือน มีนาคม ถึงเดือน เมษายน 2551 การถ่ายทำคาดว่ามีขึ้นในช่วงกลางปี พ.ศ. 2551 [4][5]

สำหรับในฤดูกาลนี้มีผู้เข้าแข่งขันที่เป็นญาติ และพ่อลูกกัน อย่างไรก็ดี การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันของรายการในครั้งนี้ก็ยังเหมือนกันครั้งก่อนๆ คือมีการคัดเลือกบุคคลที่มีชื่อเสียงของแต่ละประเทศเข้ามาจำนวนหนึ่ง ได้แก่ ไพลิน ซึ่งได้รับตำแหน่งรองอันดับ 1 มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สประจำปีพ.ศ. 2549 และเป็นตัวแทนประเทศไทยไปประกวด Miss Earth ในปีเดียวกัน[6] วินซ์ ซึ่งเป็น stand-up comedian ของฮ่องกง[7] นิรู ไอด้า และไหม ซึ่งต่างก็เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงในประเทศของตัวเอง[8][9][10] วิลเลียมและไอแซค ซึ่งต่างก็เป็นนักพากย์ฟุตบอลของเกาหลีใต้[11] ทิช่า ซึ่งเคยได้รับตำแหน่ง Miss Philippines Universe ในปีพ.ศ. 2541[12]แต่เนื่องจากเธอเป็นชาวแคนาดา จึงต้องสละตำแหน่งนี้ไป[13] และยังมีนาตาลี ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลกเพราะได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาลในปีพ.ศ. 2549[6]

ฤดูกาลนี้มีผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ไม่ใช่คนเอเชียแท้ ๆ นาตาลีกับวินซ์เป็นชาวแคนาดา (นาตาลีเกิดในประเทศรัสเซีย) และเจฟมาจาก นิวซีแลนด์ สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่แข่งในนามของประเทศอื่นเช่น แซม มาจาก สิงคโปร์ แต่แข่งในนามของ ฮ่องกง และทิช่าที่ถือสัญชาติแคนาดา แต่แข่งในนามของฟิลิปปินส์

พอลล่า เทเลอร์ หนึ่งในผู้แข่งขันใน ฤดูกาลที่ 2 เป็นผู้ต้อนรับประจำท้องถิ่นในเลกแรกของการแข่งขัน

การตลาด

[แก้]

ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 3 มีผู้สนับสนุนหลัก 6 บริษัท (คาลเท็กซ์, โนเกีย, เบียร์สิงห์, MASkargo, โซนี่ และ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด) [14] ก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มออกอากาศ มีการออกอากาศตอนพิเศษ (Racers Revealed) 1 อาทิตย์ก่อนออกอากาศการแข่งขัน (ตรงกับวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551) ซึ่งคล้ายกับที่เคยทำใน ฤดูกาลที่ 2[1]

ผลการแข่งขัน

[แก้]

ตารางแสดงชื่อ ความสัมพันธ์ของผู้แข่งขันในขณะถ่ายทำของแต่ละทีมพร้อมทั้งแสดงสถานะในการแข่งขัน ดังนี้ (ตารางนี้อาจไม่ได้แสดงข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ออกอากาศในโทรทัศน์เนื่องจากข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาบางส่วนในภายหลัง หรือข้อมูลที่ถูกนำออกไปบางส่วน)

ทีม ความสัมพันธ์ ลำดับที่ (ในแต่ละเลก) ผู้แก้อุปสรรค
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11
ฮ่องกง แซมกับวินซ์ เพื่อนสนิท 71 3 2 2 1 2 4 1 36 1 แซม 46 , วินซ์ 5
ฟิลิปปินส์ เจฟกับทีช่า คู่เดท 2 5 5 6 4 3 1> 1 3» 2 2 เจฟ 5 , ทีช่า 5
มาเลเซีย ไอด้ากับทานญ่า นักแสดงกับเศรษฐีนี 5 6 3 1 5 5 5 35 2 1 3 ไอด้า 5 , ทานญ่า 5
สิงคโปร์ เอ.ดี.กับฟัซซี่ เพื่อน 15 ปี 8 2 4 5 3 4 3 2 4« 46 เอ.ดี. 4 , ฟัซซี่ 56
มาเลเซีย เฮนรี่กับเบอร์นี่ พี่ชายกับน้องสาว 3 1 1 4 2 2 4< 5 เฮนรี 3 , เบอร์นี 4
ไทย ไหมกับโอลิเวอร์ เพื่อน 1 8 6 3 64 ไหม 1 , โอลิเวอร์ 2
อินเดีย นิรูกับคาพิล พ่อกับลูกชาย 9 4 7 73 นิรู 1 , คาพิล 23
ไทย นาตาลีกับไพลิน นางงาม 4 7 82 นาตาลี 12 , ไพลิน 1
เกาหลีใต้ วิลเลียมกับไอแซค พี่น้อง 6 9 วิลเลียม 0 , ไอแซค 1
อินเดีย นีน่ากับอามิท ญาติ 10 นีน่า 0 , อามิท 0


หมายเหตุ 1: แซมกับวินซ์เดิมเข้าจุดพักมาเป็นลำดับที่ 5 แต่พวกเขาเข้าจุดพักโดยยังไม่ได้จ่ายเงินค่าโดยสารให้กับคนขับรถ จึงต้องกลับไปจ่ายเงินก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าจุดพัก
หมายเหตุ 2: ในเลก 3 นาตาลีไม่สามารถแก้อุปสรรคให้สำเร็จได้ จึงจะต้องถูกปรับเวลา 4 ชั่วโมง แต่เนื่องจากนาตาลีและไพลินเข้าจุดพักเป็นทีมสุดท้ายและถูกคัดออก การปรับจึงไม่มีผลแต่อย่างใด
หมายเหตุ 3: ในเลก 4 คาพิลไม่สามารถแก้อุปสรรคให้สำเร็จได้ จึงจะต้องถูกปรับเวลา 4 ชั่วโมง แต่เนื่องจากนิรูและคาพิลเข้าจุดพักเป็นทีมสุดท้ายและถูกคัดออก การปรับจึงไม่มีผลแต่อย่างใด
หมายเหตุ 4: ในเลก 5 ไหมและโอลิเวอร์ไม่สามารถแก้ภารกิจแรกให้สำเร็จได้ และทิ้งห่างจากทีมอื่นมากเป็นเวลาหลายชั่วโมง ในขณะที่ทีมอื่นเข้าสู่จุดพักหมดแล้ว และพวกเขาก็ยังไม่ได้แก้ทางแยกและอุปสรรคในเลกนั้น พิธีกรจึงมาหา ณ จุดที่พวกเขานอนค้างคืนและแจ้งให้ทราบว่าไหมและโอลิเวอร์ถูกคัดออกจากการแข่งขัน
หมายเหตุ 5: ไอด้ากับทานญ่าเดิมเข้าจุดพักมาเป็นลำดับที่ 2 แต่ถูกทำโทษเป็นเวลา 30 นาทีเนื่องจากไม่ได้เข้าจุดพักเป็นลำดับที่ 1 ระหว่างนั้น เอ.ดี.กับฟัซซี่ เข้ามาเป็นทีมที่ 2 ทำให้พวกเธอตกลงมาอยู่ลำดับที่ 3
หมายเหตุ 6: วินซ์กับแซม และเอ.ดี.กับฟัซซี่ ถูกปรับเวลา 4 ชั่วโมงจากการที่แซมและฟัซซี่ไม่สามารถแก้อุปสรรคให้สำเร็จได้ แม้ว่าลำดับที่ของทั้งสองคนจะไม่เปลี่ยนแปลงเพราะโทษปรับเวลานี้ก็ตาม แต่เอ.ดี.กับฟัซซี่ เข้าเป็นที่สุดท้ายและถูกคัดออกจากการแข่งขัน การปรับจึงไม่มีผลแต่อย่างได สำหรับโทษปรับเวลาของวินซ์กับแซมนั้น โทษปรับเวลาจะไปมีผล ณ ช่วงที่ออกเดินทางจากเลกที่ 10 เพื่อเข้าเส้นชัยในเลกที่ 11 แทน แต่จะไม่ถูกทำโทษเวลาในเลกที่ 10

  • สีแดง หมายถึง ทีมนั้นๆ ถูกคัดออก
  • สีเขียว ƒ หมายถึง ทีมนั้นๆ ทำ Fast Forward สำเร็จ ; เลขของเลกที่มีสีเขียวและ ƒ เป็นเลกที่มี Fast Forward แต่ไม่มีทีมไหนใช้
  • สีน้ำเงินตัวเอน หมายถึง ทีมนั้นๆ มาถึงจุดพักเป็นทีมสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก แต่จะถูกยึดเงินทั้งหมดที่มีและไม่ได้เงินใช้ในด่านถัดไป และจะไม่ได้รับอนุญาตให้หาเงินใช้จนกว่าการแข่งขันในเลกต่อไปจะเริ่มขึ้น
  • สีน้ำเงินขีดเส้นใต้ หมายถึง ทีมนั้นๆ มาถึงจุดพักเป็นทีมสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก แต่จะต้องเข้าเป็นที่ 1 ในด่านถัดไปมิฉะนั้นจะถูกทำโทษเวลา 30 นาที
  • เครื่องหมาย +,~,^,- ที่มีสีเหมือนกัน หมายถึง มีการจับคู่กันทำงานระหว่างทีมตลอดเวลาที่ใช้กฎ Intersection
  • เครื่องหมาย > สีเหลือง หมายถึง ทีมนั้นๆ ใช้คำสั่งพักทีมอื่นแข่งขันชั่วคราว (Yield) ; < หมายถึง ทีมนั้นๆ ถูกพักการแข่งขันชั่วคราว ;<> หมายถึง เลกที่มีกฎการสั่งพักแต่ไม่มีทีมไหนใช้
  • เครื่องหมาย » สีน้ำตาล หมายถึง ทีมนั้นๆ ใช้คำสั่งย้อนกลับให้กับทีมอื่น (U-Turn)  ; « หมายถึงทีมนั้นๆ ถูกสั่งให้ย้อนกลับ ; «» หมายถึงเลกที่มีกฎการย้อนกลับแต่ไม่มีทีมไหนใช้

รางวัล

[แก้]

ในบางเลก ทางรายการจะมีรางวัลพิเศษให้กับทีมที่มาถึงจุดพักเป็นทีมแรก

  • เลก 1 – เงินรางวัลมูลค่า 2,500 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม สนับสนุนโดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
  • เลก 2 – ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากคาลเท็กซ์ให้ใช้ฟรีเป็นเวลา 1 ปี
  • เลก 3 – กล้อง Sony Handycam สำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 4 – โทรศัพท์มือถือโนเกียรุ่น N96 สำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 5 – ทัวร์เกาะสมุย ประเทศไทย เป็นเวลา 3 วัน 2 คืนพร้อมโปรแกรมฝึกสอนตีกอล์ฟสำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 6 – ทัวร์เกาะสมุย ประเทศไทย เป็นเวลา 3 วัน 2 คืนสำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 7 – โทรทัศน์ Sony BRAVIA และเพลย์สเตชัน 3
  • เลก 8 – ทัวร์ฮ่องกงสำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 9 – โทรศัพท์มือถือโนเกียรุ่น N96 สำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 10 – เงินรางวัลมูลค่า 2,500 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม สนับสนุนโดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
  • เลก 11 – เงินรางวัลมูลค่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ

เครื่องหมายต่างๆในการแข่งขัน

[แก้]
เครื่องหมาย คำอธิบาย
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
Route Marker เป็นสัญลักษณ์ธงสีแดงและสีเหลือง เป็นเครื่องหมายประจำสถานที่ที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถค้นหาคำสั่งต่อๆ ไป
บัตรคำสั่ง Route Infomation
บัตรคำสั่ง Route Infomation
Route Infomation (ข้อมูลเส้นทาง) เป็นสัญลักษณ์ตัวบอกเส้นทางที่ไปยังจุดหมายถัดไป ทีมจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะถูกทำโทษปรับเวลาขั้นต่ำในการลงโทษ 30 นาทีบวกกับเวลาที่ได้เปรียบจากการเดินทางที่ผิดไปจากคำสั่ง
Detour (ทางแยก) เป็นสัญลักษณ์ตัวเลือกระหว่างภารกิจที่แตกต่างกันสองประการที่ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกทำให้สำเร็จ ภารกิจทั้ง 2 อย่างนั้นมีข้อดีและข้อเสียในตัวมันเองฉะนั้นควรเลือกที่คิดว่าทั้งทีมถนัดเพื่อทำงานให้เสร็จโดยเร็ว จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป ถ้าหากโดนคำสั่งย้อนกลับ ทีมจะต้องกลับมาทำ Detour อีกอันที่ไม่ได้เลือกทำแต่แรก และกลายเป็นว่าจะต้องทำทั้งสองอันนั่นเอง (ถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 24 ชั่วโมงแต่ในฤดูกาลที่ 17 เป็นต้นมาจะถูกปรับแค่ 6 ชั่วโมงเท่านั้น)
Roadblock (อุปสรรค) เป็นสัญลักษณ์ภารกิจที่อนุญาตให้สมาชิกเพียงคนเดียวในทีมสามารถทำได้เท่านั้นและเมื่อเลือกแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนคนทำได้ ผู้เข้าแข่งขันที่เลือกทำนั้นต้องทำงานอุปสรรคนั้นให้สำเร็จก่อน จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป (หลังจากฤดูกาลที่ 5 ได้กำหนดตลอดระยะเวลาการแข่งขันให้ทำได้ไม่เกินคนละ 6-7 ครั้ง โดยมากแล้วจะแบ่งในสัดส่วนพอๆ กันและถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 4 ชั่วโมง)
Face-Off (ภารกิจตัวต่อตัว) เป็นสัญลักษณ์ที่ให้ทีมที่มาขึ้นจุดนี้ รออีกทีมหนึ่งมา และสองทีมจะต้องแข่งภารกิจ ตัวต่อตัว ทีมที่ชนะจะได้คำใบ้ถัดไป ส่วนทีมที่แพ้ต้องรอจนกว่าจะมีอีกทีมถัดมา และแข่งใหม่อีกครั้ง โดยทีมสุดท้ายที่แพ้จะต้องถูกโทษปรับเวลา การแข่งขันภารกิจแบบตัวต่อตัวนี้ จะทำให้ลำดับการแข่งขันเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก
Fast Forward (ทางด่วน) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมใดก็ตามที่เสร็จสิ้นภารกิจ 1 อย่างเป็นพิเศษ ตามคำสั่งของ Fast Forward เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปยัง Pit Stop หรือจุดหมายปลายทางสุดท้ายของด่านนั้นๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านด่านใดๆ อีกในระหว่างทาง สิทธิ์ในการใช้สัญลักษณ์นี้ จะให้เฉพาะกับทีมแรกที่สามารถหาและเสร็จสิ้นภารกิจ Fast Forward เท่านั้นและตลอดการแข่งขันทีมๆ นั้นจะใช้สิทธิ์นี้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ยกเว้นในกฏ Intersection จะสามารถทำ Fast Forward ร่วมกันกับอีกทีมที่จับคู่ได้ถึงแม้ว่าจะเป็น Fast Forward ครั้งที่ 2 ก็ตาม (การใช้ Fast Forward ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้น้อยมาก) อย่างไรก็ตาม การได้บัตรทางด่วนนี้ ยังคงไม่รับประกันว่าจะไม่ตกรอบ ถ้ายังคงมาถึงเป็นทีมสุดท้าย (มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ)
บัตรผ่านเร่งด่วน
บัตรผ่านเร่งด่วน
Express Pass (บัตรผ่านเร่งด่วน) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถข้ามงานใดๆ ก็ได้ที่ไม่ต้องการทำ 1 งาน ไม่ว่าจะเป็นงานรูปแบบใดก็ตามและผ่านไปเลยโดยไม่ต้องมีอะไรเป็นการแลกเปลี่ยน ต่างจาก Fast Forward ที่ข้ามทั้งเลกและต้องทำภารกิจตามที่กำหนด 1 อย่างก่อน (บัตรนี้จะถูกให้กับทีมที่เข้ามาเป็นที่ 1 ในเลกแรกของการแข่งขันซึ่งใช้ได้ถึงเลก 8 จาก 12)
บัตรกอบกู้
บัตรกอบกู้
Salvage Pass (บัตรกอบกู้) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถช่วยทีมที่มาถึงเป็นลำดับสุดท้ายไม่ให้ถูกคัดออกได้ หรือจะใช้เพื่อเป็นการช่วยตัวเองไม่ให้ถูกคัดออกด้วยก็ได้ ในกรณีที่ต้องเผชิญหน้ากับการถูกคัดออก (ในเวอร์ชั่นอเมริการจะใช้คำว่า The Save)
ป้ายสั่ง Yield
ป้ายสั่ง Yield
Yield (ถ่วงเวลา) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้หยุดแข่งได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ย้อนกลับ)
ป้ายสั่ง U-Turn
ป้ายสั่ง U-Turn
U-Turn (ย้อนกลัับ) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้กลับไปทำงาน Detour อีกงานที่ไม่ได้เลือกทำ ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ถ่วงเวลา)
Intersection (จุดร่วมมือ) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมต้องจับคู่กับอีกทีมทำภารกิจทุกๆ อย่างร่วมกัน ถ้ามาถึงจุดที่มีคำสั่งแต่ยังไม่มีทีมร่วมงานก็จำเป็นต้องรอและเมื่อมีคำสั่งยกเลิก Intersection จึงจะทำการแข่งขันแบบปกติได้
ป้ายสั่ง Speed Bump
ป้ายสั่ง Speed Bump
Speed Bump (งานเพิ่มเติม) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำงานเพิ่มอีก 1 งานในเลกถัดไป เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว โดยจะเป็นงานพิเศษ ที่ไม่เหมื่อนกับงานทั่วไปที่แข่งในเลกนั้นๆ ทำให้ทีมที่ได้บทลงโทษนี้ ทำงานเพิ่มมากกว่าปกติอีก 1 งานในเลกนั้น คล้ายกับ Handicap ต่างกันตรงที่เป็นงานใหม่เพิ่มขึ้นมาต่างหาก
ป้ายสั่ง Handicap
ป้ายสั่ง Handicap
Handicap (เพิ่มจำนวนชิ้นงาน) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องเพิ่มจำนวนชิ้นงานมากกว่าปกติ เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว เช่น ในงานธรรมดาทั่วไปปกติให้ทำ 50 ชิ้นแต่ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำ 75 ชิ้น เป็นต้น คล้ายกับ Speed Bump ต่างกันตรงที่เป็นงานปกติทั่วไปในเลกนั้นๆ เพียงแต่เพิ่มจำนวน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
Pit Stop (จุดหยุดพัก) เป็นสัญลักษณ์จุดหมายปลายทางสุดท้ายของการแข่งขันในแต่ละด่านโดยทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย อาจจะถูกคัดออก หรือบางครั้งจะมีการเตือนในคำใบ้สุดท้ายก่อนถึงจุดพักเลยว่า ทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย จะถูกคัดออก


สถานที่ในการแข่งขัน

[แก้]
เดินทางโดยเครื่องบิน; เดินทางโดยรถไฟ; เดินทางโดยเรือ; เดินทางโดยรถประจำทาง; ไม่มี = เดินทางโดยรถยนต์หรือเดิน
ทางแยก อุปสรรค ทางด่วน ถ่วงเวลา ย้อนกลับ จุดหยุดพัก
แผนที่การเดินทางทั้งหมด

เลก 1 (ไทย)

[แก้]

ทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง ข้าว (Rice) และ แข่ง (Race) โดยทีมที่เลือกข้าวจะต้องช่วยกันตำข้าวเหนียวให้เป็นก้อนแป้ง 2 ก้อน ตามวิธีของคนท้องถิ่น ส่วนทีมที่เลือกแข่งจะต้องขับรถ off-road buggy ในสนามระยะทาง 8 กิโลเมตรตามเส้นทางที่กำหนด

ภารกิจเสริม
  • ที่ถนนข้าวสาร แต่ละทีมต้องกินอาหารไทยจำนวนหนึ่งชามใหญ่ให้หมด ซึ่งก็คือ แมลง, กบ และแมงป่องทอด
  • ที่สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ แต่ละทีมต้องทำความสะอาดรถโดยสารขนาด 22 ที่นั่ง จนกว่าพนักงานจะพึงพอใจ
  • ที่วัดไผ่โรงวัว แต่ละทีมต้องทำการหาคำใบ้ถัดไปบริเวณลานวัดท่ามกลางพระพุทธรูปจำนวนหลายร้อยองค์ สำหรับรถสองคันแรกเมื่อถึงวัดแล้วจะออกรถในอีก 20 นาทีต่อมา ดังนั้นถ้าทีมที่โดยสารมาต้องการจะขึ้นรถคันเดิม จะต้องพยายามหาคำใบ้ให้เสร็จภายในเวลาดังกล่าว

เลก 2 (ไทย → เวียดนาม)

[แก้]
โรงอุปรากรไซ่ง่อน เป็นหนึ่งในสถานที่ที่แต่ละทีมต้องมาหยิบคำใบ้

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนของแต่ละทีมจะต้องเดินผ่านดงกล้วยเพื่อไปเอาคำใบ้ถัดไปที่อยู่ในกระเป๋าเป้ที่แขวนอยู่ แต่ระหว่างทางจะต้องคอยระวังไม่ให้ถูกยิงโดยนักเล่นเพ้นท์บอล ส่วนทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง สำปั้น (Sampan) หรือ เดิน (Some Walk) โดยทีมที่เลือกสำปั้นจะต้องพายเรือสำปั้นไปส่งผลไม้ ณ จุดที่กำหนดให้ ส่วนทีมที่เลือกเดินจะต้องจับไก่ 20 ตัวและนำไปส่ง ณ จุดที่กำหนดไว้

ภารกิจเสริม
  • ที่ Flight of the Gibbon ทีมจะต้องโหนตัวผ่านป่าโดยใช้เชือกที่กำหนดให้ เพื่อรับคำใบ้ต่อไป
  • ที่ Saigon Phố Café แต่ละทีมจะต้องเล่นเกมในโทรศัพท์มือถือโนเกีย รุ่น N92 โดยต้องบังคับยานในเกม System Rush Evolution ให้วิ่งครบ 3 รอบเพื่อเคลียร์ด่านที่ 1 ภายในเวลาที่กำหนด
  • ที่โบสถ์ Thánh Nữ Jeanne D'Arc แต่ละทีมจะต้องเลือกตัวแทนจากองค์กรการกุศล 1 คนจาก 9 คน โดยตัวแทนจะมอบเงิน 500 ดอลลาร์สหรัฐจากเบียร์สิงห์ให้ทีมเพื่อนำไปซื้อของที่องค์กรการกุศลนั้นๆ ต้องการ

เลก 3 (เวียดนาม)

[แก้]
  • Bus: โฮจิมินห์ซิตี ไป เว้ (สถานีขนส่งเว้)
  • เว้ (สถานีบริการคาลเท็กซ์)
  • เว้ (สุสานจักรพรรดิ Khải Định) >อุปสรรค (ใครต้องการค่าไถ่พระราชา?) < >ทางแยก (ธูปหรือข้าว) <
  • เว้ (สวน Quốc Học)
  • เว้ (พระราชวังต้องห้าม) >จุดหยุดพัก (เลก 3)<

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนของแต่ละทีมจะต้องเดินทางไปยังสุสานจักรพรรดิ Minh Mạng โดยรถจี๊ป และต้องไปเก็บเหรียญ 7 เหรียญที่มีสัญลักษณ์ของจักรพรรดิของเวียดนาม เพื่อนำกลับมาเรียงตามลำดับรัชสมัยที่สุสานจักรพรรดิ Khải Định ส่วนทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง ธูป (Stick) และ ข้าว (Stalk) โดยทีมที่เลือกธูปจะต้องปั้นธูปตามวิธีดั้งเดิมให้ได้ครบ 10 ดอก ส่วนทีมที่เลือกข้าวจะต้องฟาดรวงข้าวให้ได้เมล็ดข้าวจนเต็ม 2 ตะกร้า

ภารกิจเสริม
  • แต่ละทีมจะต้องเดินทางออกจากโฮจิมินห์ซิตีไปยังเว้โดยรถโดยสารประจำทางเป็นระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตรและใช้เวลาราวๆ 25 ชั่วโมง
  • ที่สถานีบริการคาลเท็กซ์ แต่ละทีมจะต้องเปลี่ยนยางรถยนต์และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
  • ที่สวน Quốc Học แต่ละทีมจะต้องขับรถสามล้อถีบ (cyclo) ไปยังจุดพัก

เลก 4 (เวียดนาม → ไต้หวัน)

[แก้]
มณฑลไทเปถูกใช้เป็นสถานที่แข่งขันในเลกที่ 4

ทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง ถ่าย (Shoot It) และ ต่อรูป (Shape It) โดยทีมที่เลือกถ่ายจะต้องขับรถไปพิพิธภัณฑ์ของจิ๋ว และถ่ายรูปวัตถุที่ทางรายการกำหนดให้ (ในที่นี้คือป้าย The Amazing Race Asia ขนาดจิ๋ว) โดยใช้กล้องถ่ายรูป Sony Cybershot เมื่อถ่ายรูปได้และนำไปพิมพ์ คำใบ้จะอยู่ด้านหลังรูปถ่าย ส่วนทีมที่เลือกต่อรูปจะต้องขับรถไปที่ตลาดและเรียงแทนแกรมขนาดใหญ่ให้เป็นรูปตามที่กำหนดไว้ ส่วนอุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนของแต่ละทีมจะต้องรับประทานเต้าหู้เหม็นหนึ่งชามให้หมด

ภารกิจเสริม
  • ที่โรงเรียนสอนคนตาบอดไต้หวัน แต่ละทีมจะต้องถอดข้อความอักษรเบรลล์ โดยสมาชิกคนหนึ่งของทีมจะถูกปิดตาและเป็นผู้อ่านข้อความอักษรเบรลล์ด้วยการสัมผัส ส่วนอีกคนจะมีตารางเทียบอักษรเบรลล์กับอักษรละติน ทั้งสองคนจะนั่งตรงข้ามกันและมีแผ่นไม้กระดานกั้นอยู่ ข้อความที่เป็นโจทย์คือ "Go to Shenkeng" เมื่อได้ข้อความที่ถูกต้องจึงจะได้รับคำใบ้ถัดไป โดยจะมีทีมหนึ่งซึ่งจะได้ซองคำใบ้ที่มีเช็คเงินสดมูลค่า 612,000 ดอลลาร์ไต้หวัน (คิดเป็น 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งสนับสนุนโดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ซึ่งจะต้องนำไปมอบให้เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนสอนคนตาบอด

เลก 5 (ไต้หวัน)

[แก้]
พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ไทเป เป็นจุดหยุดพักที่ 5 ในการแข่งขัน

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนของแต่ละทีมจะต้องทีมขุดถ่านหินในรถถ่านหินเพื่อหาของที่ระลึกรายการ (เหรียญ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย) ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป ส่วนทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง หยิบ (Pick) และ ถัง (Pail) โดยทีมที่เลือกหยิบจะต้องไปยังศูนย์การค้าและหยิบตุ๊กตาจากเครื่องวาวาชิให้ได้ 3 ตัว ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทีมที่เลือกถัง ทีมจะต้องไปยังวัด Grand Tong และขนน้ำจำนวน 1 ถังเต็ม ขึ้นไปให้พระที่อยู่บนเขา เมื่อพระตรวจสอบว่ามีน้ำพอ ทีมจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทางด่วนในเลกนี้ ทีมที่เลือกทำจะต้องรับการสักถาวรบนตัวที่ร้าน Kevin's Tatoo ก่อนที่จะได้รับคำใบ้เพื่อมุ่งสู่จุดหยุดพักต่อไป

ภารกิจเสริม
  • ที่ห้างสรรพสินค้านิวโซโก้ แต่ละทีมต้องหาแผ่นบลูเรย์ที่ถูกต้องจากแผ่นบลูเรย์บนชั้นประมาณ 1,000 แผ่น แล้วนำมาเปิดในเครื่องเล่น โดยถ้าเปิดผิดจะขึ้นข้อความ "เสียใจด้วย ลองอีกครั้ง" แต่หากเปิดถูกจะขึ้นข้อความว่า "ถูกต้อง รับซองคำใบ้ต่อไป"

เลก 6 (ไต้หวัน → ฮ่องกง)

[แก้]
ท่าเรือ Blake เป็นจุดพักที่ 6 ของการแข่งขัน

ทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง ปลา (Get Fishy) และ เสี่ยงทาย (Get Lucky) โดยทีมที่เลือกปลาจะต้องขอดเกล็ดและคว้านไส้ในปลา 15 ตัว ให้เป็นที่พอใจแก่คนขายปลา ก่อนที่ทีมจะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทีมที่เลือกเสี่ยงทาย ทีมจะต้องหาโต๊ะที่กำหนดที่ถนน Mee Lun แล้วกัดคุกกี้เสี่ยงทายในโหลที่กำหนดจำนวน 300 ชิ้น จนกว่าจะเจอคำทำนายที่บอกถึงคำใบ้ต่อไป (คุณกินเก่งมาก รับคำใบ้ต่อไป) ทีมจึงจะไปต่อได้ อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนในแต่ละทีมจะต้องเลือกกระเป๋าที่เตรียมไว้ให้ แล้วค้นหาผู้หญิงที่ถือกระเป๋าแบบเดียวกับที่สมาชิกคนนั้นเลือก โดยทีมจะได้รับคำใบ้ต่อไปจากผู้หญิงที่ถือกระเป๋านั้น

ภารกิจเสริม
  • ที่ King's Park Sports Ground แต่ละทีมจะต้องวิ่งผ่านทีมรักบี้ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดที่พยายามจะกันไม่ให้ผู้เข้าแข่งขันไปถึงกล่องคำใบ้ที่อยู่อีกด้านของสนามได้

เลก 7 (ฮ่องกง → มาเก๊า)

[แก้]
มาเก๊าทาวเวอร์ สถานที่สำหรับทำงานอุปสรรคในเลกที่ 7 และเลกที่ 8 ของการแข่งขัน

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกคนหนึงของแต่ละทีมจะต้องปืนขึ้นไปบนยอดมาเก๊าทาวเวอร์เพื่อไปเอาคำใบ้ และกลับลงมาหาเพื่อนร่วมทีมก่อนที่จะอ่านคำใบ้ต่อไป ส่วนทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง เต้น (Dance) และ เสี่ยงโชค (Chance) โดยทีมที่เลือกเต้นจะต้องเชิดสิงโตตามท่าที่กำหนดให้กรรมการพอใจ ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป ส่วนทีมที่เลือกเสี่ยงโชคจะต้องสวมชุดราตรีและเล่นแบล็กแจ็กให้ชนะเป็นจำนวน 9 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งที่ชนะทีมจะได้รับตัวอักษร 1 ตัว โดยทีมจะต้องสะสมตัวอักษรเป็นคำว่า COMPLETED ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป

ภารกิจเสริม
  • ที่มงก๊ก แต่ละทีมจะต้องรับปลาทอง 4 ตัวจากร้านบนถนน Boundary ไปส่งที่ร้านบนถนน Bonham
  • ที่ทะเลสาบ Sai Van แต่ละทีมจะต้องพายเรือมังกรไปกลับตามเส้นทางที่กำหนดไว้
  • ที่หมู่บ้านวัฒนธรรมอาม่า ก่อนที่ทีมจะเข้ายังจุดหยุดพักได้ แต่ละทีมจะต้องเรียงโคมไฟที่มีรูปสัตว์ตามปีนักษัตรจีนให้ถูกต้องตามลำดับ

เลก 8 (มาเก๊า → ฮ่องกง → อินเดีย)

[แก้]
  • มาเก๊า (ซากประตูโบสถ์เซนต์ปอล)
  • มาเก๊า (มาเก๊าทาวเวอร์) >อุปสรรค (ใครอยากเห็นมุมมองของนก?) <
  • มาเก๊า (ท่าเรือเฟอร์รี่ฮ่องกง - มาเก๊า) โดยเรือเทอร์โบเจ็ต ไป ฮ่องกง ฮ่องกง (ท่าเรือเฟอร์รี่ฮ่องกง - มาเก๊า)
  • ฮ่องกง (คลังสินค้าของมาสคาร์โก)
  • Flight: ฮ่องกง (ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง) ไป โคชิน รัฐเกรละ อินเดีย อินเดีย (ท่าอากาศยานนานาชาติโคชิน)
  • โคชิน (วัดนีลามคูลังกาลาเดวี)
  • คุมบาลาม, โคชิน (ที่อาบน้ำช้าง วัดเอสพีเอส) >ทางแยก (ปลาหรือเติม) <
  • โคชิน (วังโบลแกตตี้) >จุดหยุดพัก (เลก 8)<

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกคนหนึ่งของแต่ละทีมจะต้องกระโดดบันจีจัมพ์ลงมาจากมาเก๊าทาวเวอร์ โดยทีมที่ทำสำเร็จเป็นทีมแรกจะได้เดินทางไปยังเป้าหมายถัดไปด้วยเฮลิคอปเตอร์ ส่วนทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง ปลา (Fish) และ เติม (Fill) โดยทีมที่เลือกปลาจะต้องแบกปลา 6 ตัว แต่ละตัวหนัก 20 กิโลกรัม นำไปส่งที่ภัตตาคารมารีน่าซีฟู้ด ส่วนทีมที่เลือกเติมจะต้องทำลวดลายแบบโกลัมตามแบบที่กำหนดให้โดยใช้ผงข้าวย้อมสี

ภารกิจเสริม
  • ที่คลังสินค้าของมาสคาร์โก ทีมจะต้องหาพัสดุ ที่มีชื่อของพวกเขาติดอยู่ให้เจอ ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป โดยในพัสดุดังกล่าวจะมีจดหมายจากคนใกล้ชิดที่เขียนมาให้กำลังใจแต่ละคนในทีม
  • ที่วัดนีลามคูลังกาลาเดวี แต่ละทีมจะต้องรับการเจิมและให้พรจากพระในวัดก่อนที่จะรับคำใบ้
  • ที่วัดเอสพีเอส แต่ละทีมจะต้องอาบน้ำช้างโดยใช้กาบมะพร้าวจนกว่าควาญช้างจะพอใจ
ข้อมูลเสริม
  • สำหรับทางแยกในเลกนี้ มีภารกิจให้โรยผงข้าวย้อมสี (Fill) เหมือนกับภารกิจ Wild Rice ของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ 10 ในเลกที่ 5 ซึ่งเป็นงานตัวเลือกหนึ่งในทางแยกเหมือนกัน แต่ขนาดของรูปที่ให้โรยข้าวของเวอร์ชันอเมริกาจะมีขนาดใหญ่กว่ามาก
  • สำหรับอุปสรรคในเลกนี้ เหมือนกับอุปสรรคในเลกที่ 11 ของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ 11 ทุกประการ (ต้องกระโดดบันจี้จัมพ์ลงมาจากมาเก๊าทาวเวอร์ และเป็นอุปสรรคเหมือนกัน)

เลก 9 (อินเดีย)

[แก้]
ศนิวารวาฑา เป็นสถานที่สำหรับทำงานอุปสรรคในเลกที่ 9 ของการแข่งขัน

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนของแต่ละทีมจะต้องค้นหาผ้าโพกหัวจากชาย 50 คนที่เดินอยู่ในปราสาท จนกว่าจะพบคำว่า "Correct" (ถูกต้อง) ทีมจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป ทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง เข็น (Push) และ คั้น (Crush) โดยทีมที่เลือกเข็นจะต้องเข็นรถเข็นที่มีหม้อดินเผา 75 ใบ ไปยังสถานที่ที่กำหนด โดยจะต้องเหลือหม้ออย่างน้อย 70 ใบเมื่อไปถึงจุดหมาย ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป ส่วนทีมที่เลือกคั้นจะต้องคั้นน้ำอ้อยให้ได้ 40 แก้ว และขายน้ำอ้อยนั้นให้ได้เงินอย่างน้อย 200 รูปี ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป

ภารกิจเสริม
  • ที่สนามจาวาร์ฮาเลาเนห์รู แต่ละทีมทีมจะต้องตีคริกเกต ให้โดนแผ่นป้ายสีเหลือง-แดง ที่กำหนด ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป หากทีมไม่สามารถตีให้โดนหลังจากครบ 36 ลูกแล้ว ทีมจะต้องรับโทษปรับเวลาทันที 10 นาที ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป
  • หลังจากทีมเล่นคริกเกตแล้ว ทีมจะต้องใช้โปรแกรมแผนที่ในโทรศัพท์มือถือโนเกีย 6210 เนวิเกเตอร์ เพื่อนำทางคนขับรถตุ๊กตุ๊กไปยังสถานที่ตั้งกล่องคำใบ้ต่อไป
  • ที่โชว์รูมโซนี่เวิลด์ แต่ละทีมจะต้องหาคนท้องถิ่น แล้วขอให้พวกเขาเล่าเรื่องตลกให้ฟัง โดยสมาชิกทีมหนึ่งคนจะต้องบันทึกภาพไว้ด้วยกล้องโซนี่ แฮนดี้แคม แล้วนำมาเปิดให้กรรมการดู เมื่อกรรมการเห็นว่าเรื่องที่เล่านั้นตลกพอ จึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป

เลก 10 (อินเดีย → โอมาน)

[แก้]
ถ้ำบาจาเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ปรากฏในเลก 10

ทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง พรม (Carpet) และ นับ (Count It) โดยทีมที่เลือกพรม จะต้องเดินไปที่ร้านพรม แล้วค้นหาพรม 2 ผืนที่มีลายเหมือนกัน โดยใช้ภาพในกล้องโซนี่ ไซเบอร์ช็อต(อังกฤษ) ในการค้นหา ส่วนทีมที่เลือกนับ จะต้องเดินไปที่ร้านขายเครื่องเทศและนับมะนาวแห้งในตะกร้าให้ถูกต้อง ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนในแต่ละทีมจะต้องไต่หน้าผาไปที่ฝั่งตรงข้ามของหน้าผาวาดี ทานุฟเพื่อหยิบคำใบ้และไต่กลับมายังจุดเดิม

ภารกิจเสริม
  • เมื่อทีมมาถึงปุเณ ทีมจะต้องไปจดข้อความที่อยู่บนป้ายของรูปปั้นมหาตมา คานธี ก่อนที่จะไปยังธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ซึ่งจะต้องใช้บัตรกดเงินสดที่กำหนดให้สอดเข้าไปในตู้เอทีเอ็ม แล้วกดรหัส 4 ตัว ที่เป็นปีเกิดของมหาตมา คานธี (คำตอบคือ ค.ศ. 1869) หากทีมสามารถกดได้ถูกต้อง คำใบ้ต่อไปจะอยู่หลังสลิปการทำรายการที่ถูกพิมพ์ออกมา แต่หากทีมกดรหัสผิดครบ 3 ครั้ง ทีมจะถูกปรับเวลาทันที 10 นาที ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป
  • ที่นิซวาห์ ฟอร์ท ทีมต้องค้นหากล่องคำใบ้ที่ถูกต้อง จากกล่องคำใบ้ที่ตั้งกระจายอยู่ในป้อมนั้น เพื่อรับคำใบ้ต่อไป

เลก 11 (โอมาน → ไทย)

[แก้]
ภูเก็ต ถูกใช้เป็นสถานที่ปลายทางของการแข่งขันในฤดูกาลนี้

อุปสรรคสุดท้ายของการแข่งขันนี้ ทีมจะต้องขับรถไปยังฮูบรา แซนด์ แล้วสมาชิกหนึ่งคนของแต่ละทีมจะต้องใช้เครื่องตรวจจับโลหะค้นหากุญแจ 1 ใน 7 ดอกที่สามารถเปิดกล่องคำใบ้ได้ จากกุญแจกว่า 70 ดอกในพื้นที่ที่กำหนดให้ในทะเลทราย ทางแยกสุดท้ายในการแข่งขันนี้แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง ดึง (Pull) และ งม (Plunge) โดยทีมที่เลือกดึง จะต้องพายเรือออกไปที่บ่อเลี้ยงหอยมุกแล้วหาหอยตัวที่มี Race Marker สีเหลือง-แดง ให้พบแล้วนำไปให้คนบนฝั่ง ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทีมที่เลือกงม ทีมจะต้องงมใต้น้ำเพื่อหาหอยยักษ์ แล้วนำไข่มุกที่อยู่ภายในหอยมาให้คนบนฝั่ง ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป

ภารกิจเสริม
  • ที่ฟาร์มอูฐของซาอิด ทีมจะต้องจูงอูฐ 10 ตัวให้ไปอยู่ในบริเวณที่กำหนด ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป
  • ที่โรงน้ำแข็งไทยเทรดฟู้ด ทีมจะต้องค้นหาลูกบาศก์แก้วคำใบ้ขนาดเล็กที่อยู่ในถังที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งโดยทีมห้ามยก หรือเทถัง
  • เมื่อไปถึงท่าเรือแหลมหิน ทีมจะต้องนั่งเรือหางยาวไปหาชาวประมง คนหนึ่งที่อยู่กลางทะเลระหว่างแหลมยามูและเกาะรังน้อย เพื่อรับคำใบ้ต่อไป
  • หลังจากเสร็จสิ้นงานทางแยก ทีมจะต้องขุดทรายบนชายหาดของเกาะรังใหญ่เพื่อค้นหาหีบสมบัติ ซึ่งในหีบสมบัตินั้นจะมีเงินรางวัลอยู่ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยทีมที่สามารถขนหีบสมบัติไปที่เส้นชัยได้เป็นทีมแรก จะเป็นผู้ชนะของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 3

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "AXN-Asia September 2008 Schedule" (PDF). AXN Asia. 2 สิงหาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Two-and-a-half S'poreans in new race". TODAYonline. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-11. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "RP duo in 2nd spot on 'Amazing Race Asia'". Inquirer.net. 8 กันยายน 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-11. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Application Procedure and Eligibility Requirements" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-12-29. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "Application Form" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-12-29. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 "Natalie & Pailin Bio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.
  7. "Sam & Vince Bio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-09. สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.
  8. "Niroo & Kapil Bio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.
  9. "I da & Tania Bio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-23. สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.
  10. "Mai & Oliver Bio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-31. สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.
  11. "William & Isac Bio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-09. สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.
  12. "Geoff & Tisha Bio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01. สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.
  13. "Cesar Montano now a grandpa". Inquirer.net. 4 สิงหาคม 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-06. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "The Amazing Race Asia 3 Is The Toughest Race Ever. Teams & Global Partners Gear Up For A Season Bar None!". AXN-Asia. 4 สิงหาคม 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]