ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ดิอะเมซิ่งเรซ 20 | |
ออกอากาศ | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 |
---|---|
ระยะเวลาการถ่ายทำ | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554 |
จำนวนตอน | 11 |
ผู้ชนะ | เรเชลกับเดฟ |
ทวีปที่ผ่าน | 5 |
ประเทศที่ผ่าน | 10 |
เมืองที่ผ่าน | 22 |
ระยะทางการแข่งขัน | 36,000 ไมล์ (57,935 กิโลเมตร) |
จำนวนเลก | 12 |
ซีซั่นก่อนหน้าและถัดไป | |
ก่อนหน้า | ดิ อะเมซิ่ง เรซ 19 |
ถัดไป | ดิ อะเมซิ่ง เรซ 21 |
ดิ อะเมซิ่ง เรซ 20 (อังกฤษ: The Amazing Race 20) เป็นฤดูกาลที่ 20 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส
ฤดูกาลนี้เริ่มออกอากาศในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 และจะออกอากาศตอนสุดท้ายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2555 ซึ่งจะเป็น 2 ชั่วโมงสุดท้ายติดต่อกันเนื่องจากได้เว้นว่างไป 1 สัปดาห์ที่ทางสถานีได้ถ่ายทอด คันทรี มิวสิก อาวอร์ด เช่นเดียวกับปีที่แล้ว
ทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสได้เริ่มจัดการแข่งขันฤดูกาลที่ 20 เมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 โดยสำหรับฤดูกาลที่ 20 นี้ได้เดินทางเป็นระยะทาง 40,00 ไมล์ใน 22 เมืองและ 5 ทวีป ซึ่งเป็นครั้งแรกในการไปเยือนประเทศปารากวัยและอาเซอร์ไบจาน และการไปเยือนประเทศอาร์เจนตินา, แทนซาเนีย, อิตาลี, เยอรมนี, ญี่ปุ่นและอินเดีย ก็ได้รับการยืนยันจากฤดูกาลนี้แล้วเช่นกัน ส่วนผู้เข้าแข่งขันประกอบไปด้วยทั้งผู้เข้าแข่งขันเก่าของรายการ "บิ๊ก บราเธอร์ส" ซึ่งก็ คือ เบรนดอนกับเรเชล รวมไปถึงคู่ของเจ้าหน้าที่ทางรัฐบาล, ตัวตลก, ตำรวจตะเวนชายแดนสหรัฐอเมริกาและคู่เดทที่หย่าแล้วทั้งคู่
ตารางแสดงชื่อ ความสัมพันธ์ของผู้แข่งขันในขณะถ่ายทำของแต่ละทีมพร้อมทั้งแสดงสถานะในการแข่งขัน ดังนี้ (ตารางนี้อาจไม่ได้แสดงข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่เว็บไซต์เนื่องจากข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาบางส่วนในภายหลัง หรือข้อมูลที่ถูกนำออกไปบางส่วน)
ทีม | ความสัมพันธ์ | ลำดับที่ (ในแต่ละเลก) | ผู้แก้อุปสรรค | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 113 | 123 | |||
เรเชลกับเดฟ | ภรรยาทหารกับนักบินรบ | 1 | 1 | 61 | 2 | 4 | 1ƒ | 1 | 2 | 1 | 1 | 1 | 12 | เรเชล 6, เดฟ 5 |
อาร์ตกับเจเจ | ตำรวจตระเวนชายแดน / เพื่อน | 3 | 2 | 1 | 1ƒ | 1 | 2 | 3 | 3» | 3 | 4 | 2 | 2 | อาร์ต 6, เจเจ 5 |
เบรนดอนกับเรเชล | นักศึกษาปริญญาเอก / พิธีกรงานอีเวนต์ | 2 | 4 | 2 | 6 | 5 | 4 | 4 | 4«» | 2 | 2 | 3 | 3 | เบรนดอน 6, เรเชล 6 |
วาเนสซ่ากับราล์ฟ | คู่เดท / หย่าแล้วทั้งคู่ | 5 | 7 | 8 | 4 | 3 | 6 | 5 | 5« | 4 | 3 | 4 | วาเนสซ่า 5, ราล์ฟ 5 | |
บ็อปเปอร์กับมาร์ค | เพื่อนสนิท | 9 | 3 | 4 | 8 | 6 | 3 | 2 | 1 | 5 | 5ƒ | บ็อปเปอร์ 3, มาร์ค 5 | ||
เนรี่กับเจมี่ | เจ้าหน้าที่รัฐบาล / เพื่อน | 4 | 6 | 5 | 5 | 7 | 5 | 6 | 6 | เนรี่ 4, เจมี่ 3 | ||||
โจอี้ "ฟิตเนส"กับแดนนี่ | ครูฝึกและผู้สนับสนุนคลับ | 10 | 8 | 3 | 3 | 2 | 7 | โจอี้ "ฟิตเนส" 3, แดนนี่ 3 | ||||||
เคอร์รี่กับสเตซี่ | คู่ญาติ | 7 | 5 | 7 | 7 | 8 | เคอร์รี่ 3, สเตซี่ 2 | |||||||
อีเลียตกับแอนดรูว์ | คู่แฝด | 6 | 9 | 9 | อีเลียต 1, แอนดรูว์ 2 | |||||||||
เดฟกับแชรี่ | คู่แต่งงานตัวตลก | 8 | 10 | เดฟ 1, แชรี่ 1 | ||||||||||
มิซ่ากับไมย่า | พี่สาว / น้องสาว | 11 | มิซา 0, ไมย่า 1 |
หมายเหตุ 1: เรเชลกับเดฟ เดิมมาถึงเป็นที่ 2 แต่โดนโทษปรับ 2 ชั่วโมงเนื่องใช้ขวดจนหมดในการทำภารกิจ อุปสรรค และก็ทำงานไม่เสร็จ จึงตกลงมาอยู่ที่ 6 (ในกรณีที่ทำงาน อุปสรรค ไม่สำเร็จจะโดนปรับ 4 ชั่วโมงแต่เฉพาะงานนี้เมื่อขวดแก้วหมดและไม่มีให้ทำต่อ ทีมงานกำหนดไว้แค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น) และทั้งคู่ตัดสินใจใช้บัตรทางด่วน เพื่อข้ามผ่านภารกิจทางแยกในเลกนี้ ทำให้กลายเป็นว่าทั้งคู่เป็นคู่แรกในประวัติศาสตร์รายการที่ทำไม่สำเร็จทั้ง ทางแยก (ใช้บัตรผ่านเร่งด่วน) และ อุปสรรค (โดนปรับเวลาแทน) แต่ยังคงอยู่ในการแข่งขัน
หมายเหตุ 2: เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์รายการที่มีทีมมาถึงเส้นชัยเป็นที่ 1 แล้วแต่ข้ามงาน "อุปสรรค" อันที่ 2 ไปจึงต้องเดินทางกลับไปทั้งๆ ที่เข้าเส้นชัยแล้ว (โดยปกติแล้วไม่เคยมีทีมใดที่เข้าที่ 1 และทำงานพลาดในเลกสุดท้ายมาก่อน) โดยเรเชลกับเดฟได้เข้ามาเป็นที่ 1 และกลับไปทำงานอุปสรรคให้ครบแต่ก็ยังคงเข้ามาเป็นที่ 1 อีกเช่นเคยและทั้งคู่ยังครองสถิติเข้าที่ 1 มากที่สุดถึง 8 เลกจากทั้งหมด 12 เลกด้วยกัน
หมายเหตุ 3: เลก 11 และ 12 ออกอากาศติดกันเป็น 2 ชั่วโมงสุดท้าย
เครื่องหมาย | คำอธิบาย |
---|---|
Route Marker เป็นสัญลักษณ์ธงสีแดงและสีเหลือง เป็นเครื่องหมายประจำสถานที่ที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถค้นหาคำสั่งต่อๆ ไป | |
Route Infomation (ข้อมูลเส้นทาง) เป็นสัญลักษณ์ตัวบอกเส้นทางที่ไปยังจุดหมายถัดไป ทีมจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะถูกทำโทษปรับเวลาขั้นต่ำในการลงโทษ 30 นาทีบวกกับเวลาที่ได้เปรียบจากการเดินทางที่ผิดไปจากคำสั่ง | |
Detour (ทางแยก) เป็นสัญลักษณ์ตัวเลือกระหว่างภารกิจที่แตกต่างกันสองประการที่ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกทำให้สำเร็จ ภารกิจทั้ง 2 อย่างนั้นมีข้อดีและข้อเสียในตัวมันเองฉะนั้นควรเลือกที่คิดว่าทั้งทีมถนัดเพื่อทำงานให้เสร็จโดยเร็ว จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป ถ้าหากโดนคำสั่งย้อนกลับ ทีมจะต้องกลับมาทำ Detour อีกอันที่ไม่ได้เลือกทำแต่แรก และกลายเป็นว่าจะต้องทำทั้งสองอันนั่นเอง (ถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 24 ชั่วโมงแต่ในฤดูกาลที่ 17 เป็นต้นมาจะถูกปรับแค่ 6 ชั่วโมงเท่านั้น) | |
Roadblock (อุปสรรค) เป็นสัญลักษณ์ภารกิจที่อนุญาตให้สมาชิกเพียงคนเดียวในทีมสามารถทำได้เท่านั้นและเมื่อเลือกแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนคนทำได้ ผู้เข้าแข่งขันที่เลือกทำนั้นต้องทำงานอุปสรรคนั้นให้สำเร็จก่อน จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป (หลังจากฤดูกาลที่ 5 ได้กำหนดตลอดระยะเวลาการแข่งขันให้ทำได้ไม่เกินคนละ 6-7 ครั้ง โดยมากแล้วจะแบ่งในสัดส่วนพอๆ กันและถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 4 ชั่วโมง) | |
Face-Off (ภารกิจตัวต่อตัว) เป็นสัญลักษณ์ที่ให้ทีมที่มาขึ้นจุดนี้ รออีกทีมหนึ่งมา และสองทีมจะต้องแข่งภารกิจ ตัวต่อตัว ทีมที่ชนะจะได้คำใบ้ถัดไป ส่วนทีมที่แพ้ต้องรอจนกว่าจะมีอีกทีมถัดมา และแข่งใหม่อีกครั้ง โดยทีมสุดท้ายที่แพ้จะต้องถูกโทษปรับเวลา การแข่งขันภารกิจแบบตัวต่อตัวนี้ จะทำให้ลำดับการแข่งขันเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก | |
Fast Forward (ทางด่วน) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมใดก็ตามที่เสร็จสิ้นภารกิจ 1 อย่างเป็นพิเศษ ตามคำสั่งของ Fast Forward เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปยัง Pit Stop หรือจุดหมายปลายทางสุดท้ายของด่านนั้นๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านด่านใดๆ อีกในระหว่างทาง สิทธิ์ในการใช้สัญลักษณ์นี้ จะให้เฉพาะกับทีมแรกที่สามารถหาและเสร็จสิ้นภารกิจ Fast Forward เท่านั้นและตลอดการแข่งขันทีมๆ นั้นจะใช้สิทธิ์นี้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ยกเว้นในกฏ Intersection จะสามารถทำ Fast Forward ร่วมกันกับอีกทีมที่จับคู่ได้ถึงแม้ว่าจะเป็น Fast Forward ครั้งที่ 2 ก็ตาม (การใช้ Fast Forward ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้น้อยมาก) อย่างไรก็ตาม การได้บัตรทางด่วนนี้ ยังคงไม่รับประกันว่าจะไม่ตกรอบ ถ้ายังคงมาถึงเป็นทีมสุดท้าย (มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ) | |
Express Pass (บัตรผ่านเร่งด่วน) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถข้ามงานใดๆ ก็ได้ที่ไม่ต้องการทำ 1 งาน ไม่ว่าจะเป็นงานรูปแบบใดก็ตามและผ่านไปเลยโดยไม่ต้องมีอะไรเป็นการแลกเปลี่ยน ต่างจาก Fast Forward ที่ข้ามทั้งเลกและต้องทำภารกิจตามที่กำหนด 1 อย่างก่อน (บัตรนี้จะถูกให้กับทีมที่เข้ามาเป็นที่ 1 ในเลกแรกของการแข่งขันซึ่งใช้ได้ถึงเลก 8 จาก 12) | |
Salvage Pass (บัตรกอบกู้) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถช่วยทีมที่มาถึงเป็นลำดับสุดท้ายไม่ให้ถูกคัดออกได้ หรือจะใช้เพื่อเป็นการช่วยตัวเองไม่ให้ถูกคัดออกด้วยก็ได้ ในกรณีที่ต้องเผชิญหน้ากับการถูกคัดออก (ในเวอร์ชั่นอเมริการจะใช้คำว่า The Save) | |
Yield (ถ่วงเวลา) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้หยุดแข่งได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ย้อนกลับ) | |
U-Turn (ย้อนกลัับ) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้กลับไปทำงาน Detour อีกงานที่ไม่ได้เลือกทำ ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ถ่วงเวลา) | |
Intersection (จุดร่วมมือ) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมต้องจับคู่กับอีกทีมทำภารกิจทุกๆ อย่างร่วมกัน ถ้ามาถึงจุดที่มีคำสั่งแต่ยังไม่มีทีมร่วมงานก็จำเป็นต้องรอและเมื่อมีคำสั่งยกเลิก Intersection จึงจะทำการแข่งขันแบบปกติได้ | |
Speed Bump (งานเพิ่มเติม) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำงานเพิ่มอีก 1 งานในเลกถัดไป เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว โดยจะเป็นงานพิเศษ ที่ไม่เหมื่อนกับงานทั่วไปที่แข่งในเลกนั้นๆ ทำให้ทีมที่ได้บทลงโทษนี้ ทำงานเพิ่มมากกว่าปกติอีก 1 งานในเลกนั้น คล้ายกับ Handicap ต่างกันตรงที่เป็นงานใหม่เพิ่มขึ้นมาต่างหาก | |
Handicap (เพิ่มจำนวนชิ้นงาน) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องเพิ่มจำนวนชิ้นงานมากกว่าปกติ เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว เช่น ในงานธรรมดาทั่วไปปกติให้ทำ 50 ชิ้นแต่ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำ 75 ชิ้น เป็นต้น คล้ายกับ Speed Bump ต่างกันตรงที่เป็นงานปกติทั่วไปในเลกนั้นๆ เพียงแต่เพิ่มจำนวน | |
Pit Stop (จุดหยุดพัก) เป็นสัญลักษณ์จุดหมายปลายทางสุดท้ายของการแข่งขันในแต่ละด่านโดยทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย อาจจะถูกคัดออก หรือบางครั้งจะมีการเตือนในคำใบ้สุดท้ายก่อนถึงจุดพักเลยว่า ทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย จะถูกคัดออก |
ชื่อตอนในการแข่งขันมักมาจากคำพูดสำคัญ ๆ ของผู้เข้าแข่งขันในเลกนั้น ๆ
ในบางเลก ทางรายการจะมีรางวัลให้กับผู้เข้าแข่งขัน ที่สามารถเข้าเส้นชัยได้เป็นทีมแรก สำหรับแพ็กเกจทัวร์ทั้งหมดสนับสนุนโดยแทรเวโลซิตี้
เดินทางโดยเครื่องบิน; เดินทางโดยรถไฟ; เดินทางโดยเรือ; เดินทางโดยรถประจำทาง; ไม่มี = เดินทางโดยรถยนต์หรือเดิน |
ทางแยก อุปสรรค ทางด่วน ย้อนกลับ งานเพิ่มเติม จุดหยุดพัก |
สำหรับอุปสรรคแรกของการแข่งขัน เพื่อนร่วมทีมที่ไม่ได้ทำอุปสรรค จะต้องขึ้นไปบนเครื่องบินเพื่อทำการกระโดดกลางเวหาจากความสูง 10,000 ฟุต ส่วนสมาชิกที่ทำอุปสรรค จะต้องขับรถไปยังบริเวณ X ของแผนที่ที่ได้รับมา ซึ่งอยู่ห่างจากสนามบินประมาณ 3 ไมล์และมองหาจุดลงจอดของเพื่อนร่วมทีม เมื่อทีมกลับมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งแล้ว นักกระโดดมืออาชีพจะมอบคำใบ้ต่อไปแก่ทีม
ทางแยกของเลกนี้ ทีมจะต้องระหว่าง ต้มน้ำ (Boil My Water) กับจุดไฟ (Light My Fire) ซึ่งทีมที่เลือกต้มน้ำ จะต้องเดินทางไปยังหนึ่งในสามเมืองเล็กๆบริเวณใกล้เคียง และขนกล่องอุปกรณ์จากหลังรถ เพื่อนำมาประกอบเป็นเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับห้องครัว โดยมีเพียงรูปภาพประกอบข้างกล่องเป็นรูปอ้างอิงเท่านั้น เมื่อทีมสามารถประกอบเตาพร้อมหันหน้าเข้าสู่ดวงอาทิตย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทีมจะต้องเติมน้ำในกาต้มน้ำและวางลงบนจานตรงกลาง เพื่อรอจนกว่าน้ำในกาจะเดือดและส่งเสียงออกมา ก่อนที่ผู้เชี่ยวชาญการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์จะมอบคำใบ้ต่อไปแก่ทีม ส่วนทีมที่เลือกจุดไฟ จะต้องเดินทางไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำบริเวณใกล้เคียง เพื่อรวบรวมฟืนและดินโคลนจำนวนหนึ่ง ก่อนขนของไปบนหลังลาไปยังร้านขายของหัตถกรรมท้องถิ่นชื่อว่า "ทอลเลอร์ เอล โอเบลิสโค" สถานที่ที่นักปั้นหม้อจะมอบคำใบ้ต่อไปแก่ทีม ส่วนอุปสรรคของเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องเดินทางไปยังบริเวณที่มีการประมูลปศุสัตว์ และฟังผู้ขายทอดตลาด บอกน้ำหนักรวมของวัวภายในคอก จากนั้นทีมจะต้องนับจำนวนวัวในคอกและคำนวณหาน้ำหนักเฉลี่ยของวัวแต่ละตัวในคอก ท่ามกลางเสียงจอกแจกในการประมูล ก่อนที่นำตัวเลขไปให้กับโคบาล ถ้าหากตัวเลขที่ให้ถูกต้องและให้ทันเวลา เขาจะมอบคำใบ้ต่อไปแก่ทีม แต่ถ้าผู้ขายทอดตลาดเคลื่อนไปยังคอกอื่น ก่อนที่สมาชิกจะนำเลขไปให้โคบาล พวกเขาจะต้องเริ่มใหม่กับคอกต่อไป
สำหรับทางแยกของเลกนี้ ทีมจะต้องเลือกระหว่างเรียงขึ้น (Stacked Up) กับร้อยออก (Strung Out) โดยทีมที่เลือกเรียงขึ้น ทีมจะต้องเดินทางไปยังตลาดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศปารากวัย; ตลาดขนส่งกลางอาซุนซีออน (สเปน) และนำแตงโมจากบนรถบรรทุกที่มีเครื่องหมายกำกับไว้ มาเรียงเป็นพีระมิดฐาน 10x10 (รวมแล้วจะใช้แตงโมทั้งหมด 385 ลูก) แบบที่พ่อค้าท้องถิ่นทำกันเป็นปกติ เมื่อพีระมิดแตงโมถูกเรียงอย่างเรียบร้อยแล้ว พ่อค้าผลไม้จะมอบคำใบ้ต่อไปให้แก่ทีม แต่ถ้าแตงโมเกิดร่วงลงมาเป็นชั้นๆ ทีมจะต้องเรียงใหม่เพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนทางแยกไปทำอีกอันนึง ส่วนทีมที่เลือกร้อยออก จะต้องเดินทางไปยังหอประชุมที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติอาซุนซีออน ซึ่งทีมจะต้องขึงสายของเครื่องดนตรีประจำชาติของประเทศปารากวัย; ฮาร์ปทั้ง 36 สาย โดยแกะสายที่พันกันแล้วขึงเข้ากับตัวเครื่องให้เรียบร้อย เมื่อฮาร์ปอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้ง่ายแล้ว วาทยกรจะมอบคำใบ้ต่อไปแก่ทีม ส่วนอุปสรรคของเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องแสดงท่าทางการระบำขวด ซึ่งเป็นการเต้นพื้นเมืองของประเทศปารากวัย ซึ่งจะต้องร่ายรำท่าที่ได้ออกแบบไว้ (หมุนก่อนค่อยๆย่อตัวแล้วนอนแผ่กางแขนและขาออก) โดยมีขวดแก้วอยู่บนศีรษะ หากขวดแก้วแตก สมาชิกจะต้องเริ่มต้นใหม่กับขวดใบใหม่ เมื่อสมาชิกร่ารำได้ครบถ้วนแล้ว หัวหน้านักเต้นจะมอบคำใบ้ต่อไปแก่ทีม อย่างไรก็ตาม ทีมจะได้รับขวดในปริมาณที่จำกัดคือ 50 ขวด และถ้าทีมทำขวดแตกทั้งหมด โดยไม่สามารถจะทำอุปสรรคห้สำเร็จได้ ทีมจะถูกปรับเวลา 2 ชั่วโมงที่จุดหยุดพัก
สำหรับทางด่วน (ซึ่งหายไปใน 2 ซีซั่นที่ผ่านมา) ของซีซันนี้ สมาชิกหนึ่งคนจะต้องควบคุมเฮลิคอปเตอร์บังคับวิทยุให้ลงจอดบนลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเป็นหมวกที่สมาชิกอีกคนสวมอยู่ เมื่อทีมลงจอดได้สำเร็จแล้ว ทีมจะถือว่าชนะภารกิจทางด่วน แล้วสามารถข้ามผ่านภารกิจอื่นๆไปยังจุดหยุดพักได้ ส่วนอุปสรรคของเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนในทีม จะต้องโรยตัวลงมาจากยอดทางลาดของอาคารลินกอทโตจากความสูง 120 เมตร (37 ฟุต) เพื่อหยิบรอกผูกคำใบ้ภายในเวลา 2 นาที หากสมาชิกใช้เวลาหมดก่อนที่จะหยิบคำใบ้ได้ พวกเขาจะต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด และทางแยกของเลกนี้ ทีมจะต้องเลือกระหว่าง ล้างรูปปั้น (Clean That Statue) กับให้ชื่อซาลามี (Name That Salami) โดยทีมที่เลือกล้างรูปปั้น จะต้องเดินทางไปยังลาอาร์ท มาร์มี เมื่อทีมเดินทางถึงที่นั่นแล้ว ทีมจะต้องทำความสะอาดและขัดหนึ่งในสมบัติล้ำค่าของเมืองตูริน;รูปปั้นหินอ่อนโดยใช้เครื่องมือที่ให้มา เมื่อทีมสามารถทำความสะอาดได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หัวหน้านักบูรณะจะมอบคำใบ้ต่อไปแก่ทีม ส่วนทีมที่เลือกให้ชื่อซาลามี จะต้องเดินทางไปยังร้านแกสโตรโนเมีย ซาลูมีเรีย สถานที่ที่ทีมจะต้องชิมซาลามีที่แตกต่างทั้ง 14 แบบ ได้แก่ Aglio, Tartufo, Piccante, Cacciatorino, Barolo, Noci, Felino, Finochiona, Cinghiale, Cotto, Mucca, Toscano, Mandola และ 'Nduja ก่อนที่จะเดินทาง 0.5 ไมล์ไปยัง วิคโตริโอ เวเนโต พลาซา (อิตาลี) เพื่อหาแผงร้านขายซาลามี ก่อนที่ทีมจะต้องระบุซาลามีทั้ง 14 ชนิตที่ทีมได้ชิมมา ถ้าทำได้ถูกต้องและครบถ้วน ทีมจะได้รับคำใบ้ต่อไปแก่คนขายซาลามี
สำหรับทางแยกของเลกนี้ ทีมจะต้องเลือกระหว่างเทพนิยาย (Fairy Tale) กับแชมเปี้ยนชาย (Champion Male) โดยทีมที่เลือกเทพนิยาย จะต้องตามรอยเบาะแสของขนมปังขิง โดยหยิบชิ้นส่วนตามไปทางใส่ตะกร้า นำทีมไปยังบ้านของแม่มดในเมืองโอเบอรัมเมอร์เกา เมื่อทีมถึงที่นั่น ทีมจะต้องสร้างหลังคาของบ้านขนมปังขิงให้สมบูรณ์โดยใช้ชิ้นส่วนที่ทีมได้รวบรวมมา ก่อนที่จะวางชิ้นส่วนของหลังคาบ้านลงบนบ้านและตกแต่งโดยใช้เยลลี่และวิปปิ้งครีม เมื่อแม่มดรู้สึกพึงพอใจกับผลงานของทีม เธอจะมอบคำใบ้ต่อไปแก่ทีม ส่วนทีมที่เลือกแชมเปี้ยนชาย จะต้องเดินทางไปยังเมืองอันเทอรัมเมอร์เกา และหาร้านบาร์บริเวณใกล้เคียง สถานที่ที่จะต้องเลือกผู้คลั่งไคล้เครา และตกแต่งเคราเพื่อให้คู่กับแชมเปี้ยนจากเทศกาลประกวดหนวดเคราโดยใช้โรลผมและครีม เมื่อหนวดเคราได้รับการตกแต่งตามความคาดหวังของเขาแล้ว ทีมจะได้รับคำใบ้ต่อไปจากแชมเปี้ยนโลกผู้มีอำนาจสูงสุด ส่วนงานเพิ่มเติมนั้น บ็อปเปอร์กับมาร์กจะต้องแต่งตัวในชุดแบบบาวาเรี่ยนท้องถิ่น: เลเดอร์โฮเซิน และเรียนรู้วิธีการร้องเพลงโดยใช้โทนเสียงที่แตกต่างกัน จากการฟังผู้เชี่ยวชาญในการร้องเพลง เมื่อทำได้อย่างสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญจะมอบคำใบ้ต่อไปแก่ทีมและอนุญาตให้ทำการแข่งขันต่อไปได้ และอุปสรรคของเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องใช้ตัวโนมจากทราเวโลซิตี้ในการเล่นเคอร์ลิง; รู้จักในประเทศเยอรมนีว่า Eisstockschießen โดยสมาชิกจะต้องลื่นตัวโนมให้บริเวณฐานส่วนหนึ่งอยู่กลางจุดกลางสีขาวบนน้ำแข็ง เพื่อจะได้รับคำใบ้ต่อไป
สำหรับทางด่วนครั้งที่สอง ทีมที่ต้องการทำภารกิจทางด่วน จะต้องเดินทางไปยังตลาดขายฟางหญ้าบริเวณใกล้เคียง ซึ่งทีมจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการเป็นแรงงานเกษตรกรรมของอาเซอร์ไบจาน โดยการขนถ่ายกองฟาง 150 กองและเรียงเป็นกล่องยาว 10 กอง กว้าง 3 กองและสูง 5 กอง เมื่อทีมสามารถทำได้สำเร็จแล้ว จะถือว่าชนะภารกิจทางด่วน แล้วสามารถข้ามผ่านภารกิจอื่นๆไปยังจุดหยุดพักได้ ส่วนอุปสรรคของเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องเข้าร่วมในการฝึกหัดหนีจากการชนของเฮลิคอปเตอร์ โดยทีมจะได้รับการสอนก่อนที่จะเข้าไปในเฮลิคอปเตอร์จำลอง ซึ่งจะจมและหมุนในสระ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องออกจากเฮลิคอปเตอร์โดยการผลักกระจกหน้าต่างและว่ายน้ำเพื่อไปหยิบคำใบ้ต่อไปของทีมบนเรือชูชีพที่ลอยอยู่บนสระ และทางแยกของเลกนี้ ทีมจะได้รับโอกาสในการเลือกสิ่งที่ทำให้ชาวอาเซอร์ไบจานมีสุขภาพดีระหว่าง แอปเปิล (Apple) กับ น้ำมัน (Oil) โดยทีมที่เลือกแอปเปิลนั้น จะต้องเดินทางไปยังตลาดผลไม้ยาปี บาซาร์ และขนถ่ายพร้อมค้นหาแอปเปิล 1 ผลที่มีธงการแข่งขันผูกอยู่ ท่ามกลางแอปเปิ้ลกว่า 1000 ลูกในรถลาด้า ซึ่งใช้ในสมัยโซเวียต เมื่อทีมเจอแอปเปิลเรียบร้อยแล้ว ทีมสามารถแลกแอปเปิลกับคำใบ้ต่อไปที่คนขายแอปเปิลได้ ส่วนทีมที่เลือกน้ำมัน ทีมจะต้องเดินทางไปยังสปาเพื่อสุขภาพนาฟตาแลนในเขตนิคมบาดัมดาร์ เพื่อทำความสะอาดน้ำมันดิบออกจากตัวลูกค้าที่แช่อยู่ในอ่าง โดยเริ่มจากการใช้ช้อนรองเท้าและขัดตัวให้สะอาด เมื่อทีมทำได้เรียบร้อยและเป็นที่พอใจของพนักงานแล้ว เธอจะมอบคำใบ้ต่อไปแก่ทีม
สำหรับทางแยกของเลกนี้ ทีมจะต้องเลือกภารกิจที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตประจำวันของชนเผ่ามาซาย ระหว่างความแม่นอาวุธ (Marksmanship) กับการพาราสี (Courtship) โดยทั้งสองทางแยกต้องการให้ทีมปั่นจักรยานไปยังหมู่บ้านโซเนโต และเมื่อทีมเดินทางมาถึงแล้ว จะมีชาวบ้านชนเผ่ามาซายมาแต่งตัวสมาชิกให้อยู่ในชุดท้องถิ่น โดยทีมที่เลือกความแม่นอาวุธ จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้อาวุธท้องถิ่นของชนเผ่าที่เรียกว่า รุนกู (Rungu) เพื่อที่จะขว้างให้ถูกเป้าหินที่ถูกติดไว้กับล้อจักรยานที่หมุนอยู่ เมื่อสมาชิกทั้งสองคนสามารถขว้างถูกเป้าหมายแล้ว ชาวบ้านมาซายจะมอบคำใบ้ต่อไปแก่ทีม ส่วนทีมที่เลือการพาราสี จะต้องเรียนรู้พิธีกรรมการกระโดดของชนเผ่ามาซายที่เรียกกันว่า อดูมู (Adumu) โดยทีมจะต้องกระโดดขึ้น-ลงต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 นาที ความท้าทายของภารกิจนี้อยู่ที่ความเหน็ดเหนื่อยทางร่างกายจากความสูงของหมู่บ้านเป็นระยะทาง 8,000 ฟุต (หรือ 2,400 เมตร) จากระดับน้ำทะเล เพื่อรับคำใบ้ต่อไป
สำหรับทางแยกของเลกนี้ทีมจะต้องเลือกระหว่างเติมน้ำ (Water Supply) กับเติมลม (Air Supply)โดยทีมที่เลือกเติมน้ำ ทีมจะต้องรับแกลลอนเก้าแกลลอนแล้วทีมจะต้องรอแถวที่จะเติมน้ำและเมื่อถึงคิวของทีมจะต้องเติมน้ำแล้วขนกลับมาที่บ้านเพื่อรับคำใบ้ถัดไป ส่วนทีมที่เลือกเติมลม จะต้องปะรูล้อจักรยานที่รั้ว เมื่อสามารถปั่นได้เหมือนเดิมจึงจะได้รับคำใบ้ถัดไป สำหรับงานเพิ่มเติมของเนรี่ กับ เจมี่ พวกเขาจะต้องตั้งร้านขายรูปภาพ แล้ววางภาพวาดให้ถูกตำแหน่งจึงจะได้รับอนุญาตให้แข่งขันต่อไปได้ และอุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องแต่งชุดคลุมแล้วจะต้องหารังผึ้งจากผึ้งแอฟริกาแล้วใส่ลงในถังจนมีน้ำหนัก 5 กิโลกรัม ผู้ควบคุมจะมอบคำใบ้ถัดไป
สำหรับอุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องใส่เสื้อผ้าและเลือกครูฝึกซึ่งทีมจะต้องเรียนการเต้นบอลลี่วู้ด เมื่อทีมสามารถทำได้จะต้องเต้นให้ผู้กำกับดูบนเวที ถ้าไม่มีท่าที่ผิดในเพลง ผู้กำกับจะมอบคำใบ้ถัดไปและสำหรับทางแยกในเลกนี้ทีมจะต้องเลือกกิจกรรมของชาวอินเดียที่ทำเป็นประจำระหว่างเล่นคริกเกต (Cricket) กับฝึกขับรถ (Clutch It)โดยทีมที่เลือกเล่นคริกเกต ทีมจะต้องเล่นคริกเกตโดยจะต้องใส่ชุดป้องกันและผู้โยนบอลจะต้องโยนลูกบอลมายังทีมซึ่งทีมจะต้องใช้ไม้ตีลูกให้โดนหรือเลยเส้นสีขาว-เหลือง และห้ามให้ผู้โยนบอลรับบอลได้ จึงจะได้รับคำใบ้ถัดไป ส่วนทีมที่เลือกฝึกขับรถ ทีมจะต้องเลือกคุณครูสอนแล้วทดสอบการขับรถสามล้อของอินเดียที่มีคนขับมากกว่าห้าแสนคัน โดยทีมจะต้องขับรถสามล้อซิกแซกหลบเสา เมื่อทีมสามารถขับรถได้โดยไม่ชนเสา ผู้ฝึกจะมอบคำใบ้ถัดไป
สำหรับทางด่วนครั้งที่สามและครั้งสุดท้ายของซีซั่นนี้ จัดเป็นสวิตซ์แบคของงานทางด่วน (การมาทำงานทางด่วนอันก่อนของรายการดิ อะเมซิ่ง เรซ) จากเลก 8 ที่อินเดียของดิ อะเมซิ่ง เรซ 7นั่นเอง ซึ่งสมาชิกทั้งสองคนในทีมจะต้องโกนหัว โดยเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูว่าโกนหัวแล้วจะโชคดี) ทีมที่แรกจะโกนหัวเสร็จแล้ว จะถือว่าชนะทางด่วนในเลกนี้ (สำหรับซีซั่นที่ 7 ยูเชนน่ากับจ้อยช์เลือกที่จะทำทางด่วนนี้ในครึ่งหลังของเลก 8 และทำให้พวกเขาเข้าเส้นชัยเป็นทีมแรก) สำหรับงานเพิ่มเติมของบ็อปเปอร์กับมาร์ค พวกเขาจะต้องวาดรูปและระบายสีเป็นรูปหน้าเสือบนหน้าท้องของนักเต้นพูลี่ คาลี่ ถ้าพราหมณ์พอใจ พวกเขาจึงจะได้รับอนุญาตให้แข่งขันต่อไป ในอุปสรรคของเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องเลือกคุณครูสอนและเรียนการปั่นเชือกใยมะพร้าวที่มีความยาว 40 ฟุต (12 เมตร) จากนั้นใช้แกนม้วนม้วนใยทั้ง 4 ม้วน เพื่อรับคำใบ้ถัดไป และทางแยกของเลกนี้ทีมจะต้องเลือกิจกรรมที่อยู่ในประวัติศาสตร์อินเดียระหว่าง ตกแต่งช้าง (Pachyderm) กับแพคเครื่องเทศ (Pack a Box)ทีมที่เลือกตกแต่งช้าง จะต้องใช้อุปกรณ์นำมาตกแต่งช้าง เมื่อนักบวชพอใจแล้ว ทีมจะต้องเข็นมูลช้างโดยรถเข็นไปยังรถบรรทุกที่จอดอยู่ใกล้ๆ ให้ครบ 15 ครั้ง เพื่อรับคำใบ้ถัดไป ส่วนทีมที่เลือกแพคเครื่องเทศ จะต้องทาสีตัวอักษรโดยพิมพ์ทั้ง 10 กล่อง จากนั้นทีมจะต้องใช้ที่กรองขิงแล้วนำใส่กล่องแล้วชั่งบนตาชั่งเมื่อน้ำหนักถูกต้องตามมาตรฐาน ทีมจะต้องปิดฝาทำแบบนี้ไปจนครบทั้ง 10 กล่อง จากนั้นที่จะต้องบรรจุใส่รถเข็นเพื่อไปยังโรงงานส่งออก เมื่อเครื่องเทศพร้อมที่จะส่งออก เจ้าของโรงงานจะมอบคำใบ้ถัดไป