ดิอะเมซิ่งเรซ 22

ดิอะเมซิ่งเรซ 22
โลโก้รายการ
ออกอากาศ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ระยะเวลาการถ่ายทำ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
7 ธันวาคม พ.ศ. 2555
จำนวนตอน 12
ผู้ชนะ เบทส์กับแอนโธนี
ทวีปที่ผ่าน 5
ประเทศที่ผ่าน 9
เมืองที่ผ่าน 24
ระยะทางการแข่งขัน 30,000 ไมล์
(48,279 กิโลเมตร)
จำนวนเลก 12
ซีซั่นก่อนหน้าและถัดไป
ก่อนหน้า ดิ อะเมซิ่ง เรซ 21
ถัดไป ดิ อะเมซิ่ง เรซ 23

ดิ อะเมซิ่ง เรซ 22 (อังกฤษ: The Amazing Race 22) เป็นฤดูกาลที่ 22 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 9 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส

การผลิต

[แก้]

ทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสได้เริ่มจัดการแข่งขันฤดูกาลที่ 22 เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดยสำหรับฤดูกาลที่ 22 นี้ได้เดินทางเป็นระยะทาง 30,000 ไมล์ (48,000 กิโลเมตร) ใน 9 ประเทศและ 5 ทวีป ซึ่งเป็นครั้งแรกในการไปเยือนประเทศในหมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย สถานที่ที่ทีมจะต้องกระโดดกลางเวหาเหนือเกาะโบราโบรา ภารกิจอื่นๆ ที่ได้รับการยืนยันจากฤดูกาลนี้แล้วประกอบด้วยการแข่งขัน Shemozzle ในนิวซีแลนด์, การล่าแมงป่องกับชนเผ่าบุชเม็นในบอตสวานาและการปีนเขาไอเกอร์ในสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนประเทศอื่นๆ ที่มีการเดินทางไปเยือนประกอบด้วยตาฮิติ, เยอรมนีและสกอตแลนด์

ข้อหักมุมสำหรับฤดูกาลนี้ คือ บัตรทางด่วน ที่ได้รับจากการเข้าเป็นที่ 1 ของเลกแรกนั้นจะได้ 2 ใบและจะต้องถูกมอบให้กับทีมอื่น 1 ใบโดยจะต้องมอบให้ก่อนที่จะถึงการแข่งขันเลกที่ 4

ผลการแข่งขัน

[แก้]

ตารางแสดงชื่อ ความสัมพันธ์ของผู้แข่งขันในขณะถ่ายทำของแต่ละทีมพร้อมทั้งแสดงสถานะในการแข่งขัน ดังนี้ (ตารางนี้อาจไม่ได้แสดงข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่เว็บไซต์เนื่องจากข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาบางส่วนในภายหลัง หรือข้อมูลที่ถูกนำออกไปบางส่วน)

ทีม ความสัมพันธ์ ลำดับที่ (ในแต่ละเลก) ผู้แก้อุปสรรค
1 2 3 4ε 5 6 7 8 9 10 11 12
เบทส์กับแอนโธนี พี่น้องนักกีฬาฮอกกี้ 2 1 3 7 4 1 1 4 2» 2 1 เบทส์ 5, แอนโธนี 6
แม็กซ์กับเคธี คู่แต่งงานใหม่ 9 8 8 3 2 7 6 3 1 1» 1 2 แม็กซ์ 6, เคธี 6
โมนากับเบ็ธ คู่คุณแม่โรลเลอร์เดอร์บี้ 5 6 7 6 3 6 2 2 5 4« 3 3 โมนา 6, เบ็ธ 6
แคโรไลน์กับเจนนิเฟอร์ เพื่อน/ นักร้องคันทรี 10 7 6 4 5 5 3 4 3 3 4 แคโรไลน์ 6, เจนนิเฟอร์ 6
โจอี้กับเมแกน เพื่อน/ โฮสท์ในยูทูบ 6 4 5 5 6«» 4 5 5 2 5« โจอี้ 6, เมแกน 5
ชัคกับไวโนนา คู่แต่งงาน 7 5 9 8 7« 1 3 4 6 ชัค 5, ไวโนนา 4
พาเมล่ากับวินนี่ เพื่อนสนิท 4 9 4 2 1» 2 7 พาเมล่า 4, วินนี่ 4
เดวิดกับคอนนอร์ พ่อกับลูกชายผู้รอดชีวิตจากมะเร็ง 3 2 1ε 1 8 เดวิด 1, คอนนอร์ 4
เจสสิก้ากับจอห์น คู่เดท 1 3 2 9 เจสสิก้า 2, จอห์น 3
เอ็ดดรี้กับจามิล คู่แฝด/ แพทย์ 8 10 เอ็ดดรี้ 1, จามิล 2
แม็ทธิวกับแดเนียล เพื่อนสนิท/ นักดับเพลิง 11 แม็ทธิว 1, แดเนียล 1


หมายเหตุ 1: ชัคกับไวโนนา มาถึงเป็นลำดับสุดท้าย อย่างไรก็ตาม เดวิดกับคอนนอร์ ขอถอนตัวจากการแข่งขันและข้ามกิจกรรมทั้งหมดในเลกที่ 5 นี้ไปแล้วเนื่องจากปัญหาที่ข้อเท้า จึงถือว่าพวกเขาได้เลื่อนขึ้นมาเป็นลำดับที่ 7 แทน

  • สีแดง หมายถึง ทีมนั้นๆ ถูกคัดออก
  • สีเขียว ƒ หมายถึง ทีมนั้นๆ ทำ Fast Forward สำเร็จ ; เลขของเลกที่มีสีเขียวและ ƒ เป็นเลกที่มี Fast Forward แต่ไม่มีทีมไหนใช้
  • สีน้ำเงินตัวหนา หมายถึง ทีมนั้นๆ มาถึงจุดพักเป็นทีมสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก แต่จะต้องทำภารกิจเพิ่มในด่านถัดไปเรียกว่า "สปีด บัมพ์"
  • เครื่องหมาย +,~,^,- ที่มีสีเหมือนกัน หมายถึง มีการจับคู่กันทำงานระหว่างทีมตลอดเวลาที่ใช้กฎ Intersection
  • เครื่องหมาย » สีน้ำตาล หมายถึง ทีมนั้นๆ ใช้คำสั่งย้อนกลับให้กับทีมอื่น (U-Turn)  ; « หมายถึงทีมนั้นๆ ถูกสั่งให้ย้อนกลับ ; «» หมายถึงเลกที่มีกฎการย้อนกลับแต่ไม่มีทีมไหนใช้
  • เครื่องหมาย » สีเขียวน้ำเงิน หมายถึง ทีมนั้นๆ ใช้คำสั่งย้อนกลับให้กับทีมอื่น (U-Turn)  ; « หมายถึงทีมนั้นๆ ถูกสั่งให้ย้อนกลับ ; «» หมายถึงเลกที่มีกฎการย้อนกลับแต่ไม่มีทีมไหนใช้ (สำหรับการสั่ง ย้อนกลับ อีกหนึ่งทีมในเลกเดียวกัน)
  • สีม่วงขีดเส้นใต้ หมายถึง ทีมนั้นๆ ได้ทำการตัดสินใจเลือกใช้บัตรผ่านเร่งด่วน เพื่อข้ามภารกิจ 1 อย่างภายในเลกนั้นๆ

คำสั่งต่างๆ ในการแข่งขัน

[แก้]
เครื่องหมาย คำอธิบาย
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
Route Marker เป็นสัญลักษณ์ธงสีแดงและสีเหลือง เป็นเครื่องหมายประจำสถานที่ที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถค้นหาคำสั่งต่อๆ ไป
บัตรคำสั่ง Route Infomation
บัตรคำสั่ง Route Infomation
Route Infomation (ข้อมูลเส้นทาง) เป็นสัญลักษณ์ตัวบอกเส้นทางที่ไปยังจุดหมายถัดไป ทีมจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะถูกทำโทษปรับเวลาขั้นต่ำในการลงโทษ 30 นาทีบวกกับเวลาที่ได้เปรียบจากการเดินทางที่ผิดไปจากคำสั่ง
Detour (ทางแยก) เป็นสัญลักษณ์ตัวเลือกระหว่างภารกิจที่แตกต่างกันสองประการที่ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกทำให้สำเร็จ ภารกิจทั้ง 2 อย่างนั้นมีข้อดีและข้อเสียในตัวมันเองฉะนั้นควรเลือกที่คิดว่าทั้งทีมถนัดเพื่อทำงานให้เสร็จโดยเร็ว จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป ถ้าหากโดนคำสั่งย้อนกลับ ทีมจะต้องกลับมาทำ Detour อีกอันที่ไม่ได้เลือกทำแต่แรก และกลายเป็นว่าจะต้องทำทั้งสองอันนั่นเอง (ถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 24 ชั่วโมงแต่ในฤดูกาลที่ 17 เป็นต้นมาจะถูกปรับแค่ 6 ชั่วโมงเท่านั้น)
Roadblock (อุปสรรค) เป็นสัญลักษณ์ภารกิจที่อนุญาตให้สมาชิกเพียงคนเดียวในทีมสามารถทำได้เท่านั้นและเมื่อเลือกแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนคนทำได้ ผู้เข้าแข่งขันที่เลือกทำนั้นต้องทำงานอุปสรรคนั้นให้สำเร็จก่อน จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป (หลังจากฤดูกาลที่ 5 ได้กำหนดตลอดระยะเวลาการแข่งขันให้ทำได้ไม่เกินคนละ 6-7 ครั้ง โดยมากแล้วจะแบ่งในสัดส่วนพอๆ กันและถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 4 ชั่วโมง)
Face-Off (ภารกิจตัวต่อตัว) เป็นสัญลักษณ์ที่ให้ทีมที่มาขึ้นจุดนี้ รออีกทีมหนึ่งมา และสองทีมจะต้องแข่งภารกิจ ตัวต่อตัว ทีมที่ชนะจะได้คำใบ้ถัดไป ส่วนทีมที่แพ้ต้องรอจนกว่าจะมีอีกทีมถัดมา และแข่งใหม่อีกครั้ง โดยทีมสุดท้ายที่แพ้จะต้องถูกโทษปรับเวลา การแข่งขันภารกิจแบบตัวต่อตัวนี้ จะทำให้ลำดับการแข่งขันเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก
Fast Forward (ทางด่วน) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมใดก็ตามที่เสร็จสิ้นภารกิจ 1 อย่างเป็นพิเศษ ตามคำสั่งของ Fast Forward เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปยัง Pit Stop หรือจุดหมายปลายทางสุดท้ายของด่านนั้นๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านด่านใดๆ อีกในระหว่างทาง สิทธิ์ในการใช้สัญลักษณ์นี้ จะให้เฉพาะกับทีมแรกที่สามารถหาและเสร็จสิ้นภารกิจ Fast Forward เท่านั้นและตลอดการแข่งขันทีมๆ นั้นจะใช้สิทธิ์นี้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ยกเว้นในกฏ Intersection จะสามารถทำ Fast Forward ร่วมกันกับอีกทีมที่จับคู่ได้ถึงแม้ว่าจะเป็น Fast Forward ครั้งที่ 2 ก็ตาม (การใช้ Fast Forward ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้น้อยมาก) อย่างไรก็ตาม การได้บัตรทางด่วนนี้ ยังคงไม่รับประกันว่าจะไม่ตกรอบ ถ้ายังคงมาถึงเป็นทีมสุดท้าย (มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ)
บัตรผ่านเร่งด่วน
บัตรผ่านเร่งด่วน
Express Pass (บัตรผ่านเร่งด่วน) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถข้ามงานใดๆ ก็ได้ที่ไม่ต้องการทำ 1 งาน ไม่ว่าจะเป็นงานรูปแบบใดก็ตามและผ่านไปเลยโดยไม่ต้องมีอะไรเป็นการแลกเปลี่ยน ต่างจาก Fast Forward ที่ข้ามทั้งเลกและต้องทำภารกิจตามที่กำหนด 1 อย่างก่อน (บัตรนี้จะถูกให้กับทีมที่เข้ามาเป็นที่ 1 ในเลกแรกของการแข่งขันซึ่งใช้ได้ถึงเลก 8 จาก 12)
บัตรกอบกู้
บัตรกอบกู้
Salvage Pass (บัตรกอบกู้) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถช่วยทีมที่มาถึงเป็นลำดับสุดท้ายไม่ให้ถูกคัดออกได้ หรือจะใช้เพื่อเป็นการช่วยตัวเองไม่ให้ถูกคัดออกด้วยก็ได้ ในกรณีที่ต้องเผชิญหน้ากับการถูกคัดออก (ในเวอร์ชั่นอเมริการจะใช้คำว่า The Save)
ป้ายสั่ง Yield
ป้ายสั่ง Yield
Yield (ถ่วงเวลา) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้หยุดแข่งได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ย้อนกลับ)
ป้ายสั่ง U-Turn
ป้ายสั่ง U-Turn
U-Turn (ย้อนกลัับ) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้กลับไปทำงาน Detour อีกงานที่ไม่ได้เลือกทำ ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ถ่วงเวลา)
Intersection (จุดร่วมมือ) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมต้องจับคู่กับอีกทีมทำภารกิจทุกๆ อย่างร่วมกัน ถ้ามาถึงจุดที่มีคำสั่งแต่ยังไม่มีทีมร่วมงานก็จำเป็นต้องรอและเมื่อมีคำสั่งยกเลิก Intersection จึงจะทำการแข่งขันแบบปกติได้
ป้ายสั่ง Speed Bump
ป้ายสั่ง Speed Bump
Speed Bump (งานเพิ่มเติม) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำงานเพิ่มอีก 1 งานในเลกถัดไป เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว โดยจะเป็นงานพิเศษ ที่ไม่เหมื่อนกับงานทั่วไปที่แข่งในเลกนั้นๆ ทำให้ทีมที่ได้บทลงโทษนี้ ทำงานเพิ่มมากกว่าปกติอีก 1 งานในเลกนั้น คล้ายกับ Handicap ต่างกันตรงที่เป็นงานใหม่เพิ่มขึ้นมาต่างหาก
ป้ายสั่ง Handicap
ป้ายสั่ง Handicap
Handicap (เพิ่มจำนวนชิ้นงาน) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องเพิ่มจำนวนชิ้นงานมากกว่าปกติ เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว เช่น ในงานธรรมดาทั่วไปปกติให้ทำ 50 ชิ้นแต่ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำ 75 ชิ้น เป็นต้น คล้ายกับ Speed Bump ต่างกันตรงที่เป็นงานปกติทั่วไปในเลกนั้นๆ เพียงแต่เพิ่มจำนวน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
Pit Stop (จุดหยุดพัก) เป็นสัญลักษณ์จุดหมายปลายทางสุดท้ายของการแข่งขันในแต่ละด่านโดยทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย อาจจะถูกคัดออก หรือบางครั้งจะมีการเตือนในคำใบ้สุดท้ายก่อนถึงจุดพักเลยว่า ทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย จะถูกคัดออก


ชื่อตอนในการแข่งขัน

[แก้]

ชื่อตอนในการแข่งขันมักมาจากคำพูดสำคัญ ๆ ของผู้เข้าแข่งขันในเลกนั้น ๆ

  1. "Business in the Front, Party in the Back" – ชัค
  2. "Loose Lips Sink Ships" – จอห์น
  3. "Like James Bond Again" – เมแกน
  4. "I Love Monkeys!" – พาเมล์ล่า
  5. "Your Tan is Totally Cool" – พาเมล์ล่า
  6. "Scorpion King Hunter" – โจอี้
  7. "Be Safe and Don't Hit a Cow" – ไวโนนา
  8. "My Cheese Is Out of Control" – แคโรไลน์
  9. "The Ultimate Fun House" – โจอี้
  10. "Working Our Barrels Off" – เบทส์
  11. "Beacon of Hope" – ไม่ใช่ผู้เข้าแข่งขัน โดยพูดถึง แคโรไลน์กับเจนนิเฟอร์

รางวัล

[แก้]

ในบางเลก ทางรายการจะมีรางวัลให้กับผู้เข้าแข่งขัน ที่สามารถเข้าเส้นชัยได้เป็นทีมแรก สำหรับแพ็กเกจทัวร์ทั้งหมดสนับสนุนโดยแทรเวโลซิตี้

  • เลก 1 - บัตรผ่านเร่งด่วน (อุปกรณ์ที่ทำให้ทีมสามารถเลือกข้ามภารกิจใดๆ ก็ได้ในการแข่งขันโดยใช้ได้ถึงเลก 8) และบัตรผ่านเร๋งด่วนอีกใบที่จะต้องให้อีกทีมก่อนจบเลก 4
  • เลก 2 - ทริปท่องเที่ยว ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ
  • เลก 3 - ทริปท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
  • เลก 4 - เงินสดคนละ 5,000 ดอลลาร์
  • เลก 5 - ทริปเล่นสกี วิชเลอร์, บริทติช โคลัมเบีย
  • เลก 6 - ทริปท่องเที่ยว ภูเก็ต, ประเทศไทย
  • เลก 7 - เงินสดคนละ 7,500 ดอลลาร์
  • เลก 8 - ทริปท่องเที่ยว โบล่า โบล่า
  • เลก 9 - รถยนต์ฟอร์ด ฟิวชั่น 2013 คนละคัน
  • เลก 10 - เงินสดคนละ 10,000 ดอลลาร์
  • เลก 11 - ทริปท่องเที่ยว สาธารณรัฐโดมินิกัน
  • เลก 12 - เงินสดมูลค่า 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ

สถานที่ในการแข่งขัน

[แก้]
เดินทางโดยเครื่องบิน; เดินทางโดยรถไฟ; เดินทางโดยเรือ; เดินทางโดยรถประจำทาง; ไม่มี = เดินทางโดยรถยนต์หรือเดิน
ทางแยก อุปสรรค ทางด่วน ย้อนกลับ งานเพิ่มเติม จุดหยุดพัก

เลก 1 (สหรัฐอเมริกา → เฟรนช์โปลินีเซีย, ฝรั่งเศส)

[แก้]

เลก 2 (เฟรนช์โปลินีเซีย, ฝรั่งเศส)

[แก้]

เลก 3 (เฟรนช์โปลินีเซีย, ฝรั่งเศส → นิวซีแลนด์)

[แก้]

เลก 4 (นิวซีแลนด์ → อินโดนีเซีย)

[แก้]

เลก 5 (อินโดนีเซีย → เวียดนาม)

[แก้]

เลก 6 (เวียดนาม → บอสต์วานา)

[แก้]

เลก 7 (บอสต์วานา)

[แก้]

เลก 8 (บอสต์วานา → สวิตเซอร์แลนด์)

[แก้]

เลก 9 (สวิตเซอร์แลนด์ → เยอรมนี)

[แก้]

เลก 10 (เยอรมนี → สกอตแลนด์, สหราชอาณาจักร)

[แก้]

เลก 11 (สกอตแลนด์, สหราชอาณาจักร → ไอร์แลนด์เหนือ, สหราชอาณาจักร)

[แก้]

เลก 12 (สหราชอาณาจักร → สหรัฐอเมริกา)

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]