ตลาดนางเลิ้ง

บรรยากาศภายในตลาด

ตลาดนางเลิ้ง เป็นชุมชนและตลาดที่ตั้งอยู่บนถนนนครสวรรค์ แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นตลาดบกแห่งแรกของประเทศไทย มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี

ตลาดนางเลิ้งก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2443 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเอง แต่เดิมเรียกว่าบ้านสนามควาย ก่อนจะเรียกว่า “อีเลิ้ง” ตามชื่อคือตุ่มชนิดหนึ่งของชาวมอญ จนมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า “นางเลิ้ง” สถานที่สำคัญของตลาดนางเลิ้งได้แก่ โรงภาพยนตร์เฉลิมธานี ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 80 ปี สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นที่บันเทิงที่จะได้ชมภาพยนตร์จากทุกชาติทั้งไทย, จีน, อินเดีย, ฝรั่ง จากจำนวนคนดูที่เคยมากถึงรอบละ 300–400 คนก็เหลือเพียงรอบละไม่ถึง 10 คน จนต้องเลิกฉายไปเมื่อปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นเพียงโกดังเก็บของ

ปัจจุบัน ตลาดนางเลิ้ง เป็นชุมชนที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร อาคารบ้านเรือนแถบนี้มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม[1] [2] [3] และเป็นตลาดและย่านที่ขึ้นชื่ออย่างมากด้านอาหารนานาชนิด เช่น ขนมหวาน [4] และที่ขึ้นชื่ออย่างมาก คือ กล้วยทอด หรือกล้วยแขก ที่มีขายกันหลายรายริมถนนรอบด้านจนเป็นที่เลื่องชื่อ[5]

ในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี พ.ศ. 2552 ตลาดนางเลิ้งเป็นแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมด้วย มีผู้เสียชีวิต 2 คน ได้แก่ นาย ป้อม ผลพันพัว นาย ยุทธการ จ้อยช้อยชด เป็นบุคคลในชุมชน จากการออกมาปกป้องชุมชนแห่งนี้[6]

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""ตลาดนางเลิ้ง" ตลาดบกแรกแห่งกรุงสยาม". สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-23. สืบค้นเมื่อ 2007-09-22.
  2. "นางเลิ้ง พระนครย้อนสมัย ความศิวิไลซ์ในยุคบุกเบิก". พินิจนคร. 2009-04-20.
  3. ""นางเลิ้ง" ถิ่นฐานบ้านวัง ศิลปะฝรั่งในสยาม". พินิจนคร. 2009-04-27.
  4. "รวมของอร่อยย่านตลาดนางเลิ้ง". ไทยโพสต์. 2017-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-04. สืบค้นเมื่อ 2018-02-16.
  5. "ใครเคยกิน? "กล้วยทอดนางเลิ้ง"". คมชัดลึก. 2017-03-10.
  6. "โจรแดงเหิมยิง ชาวบ้านนางเลิ้งตาย 2 เจ็บนับ 10". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-11. สืบค้นเมื่อ 2012-11-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′35″N 100°30′44″E / 13.759688°N 100.512132°E / 13.759688; 100.512132