ยางพลวง | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malvales |
วงศ์: | Dipterocarpaceae |
สกุล: | Dipterocarpus |
สปีชีส์: | D. tuberculatus |
ชื่อทวินาม | |
Dipterocarpus tuberculatus Roxb. |
ยางพลวง ชื่อวิทยาศาสตร์: Dipterocarpus tuberculatus ชื่ออื่น: กุง (ปราจีนบุรี, อุบลราชธานี, อุดรธานี); เกาะสะแต้ว (ละว้า-เชียงใหม่); คลง (เขมร-บุรีรัมย์); คลอง (เขมร); คลุ้ง (ชาวบน-นครราชสีมา); ควง (พิษณุโลก, สุโขทัย); โคล้ง (เขมร-สุรินทร์); ตะล่าอ่ออาขว่า (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); ตึง, ตองตึง, ตึงขาว (ภาคเหนือ); พลวง (ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); พลอง (ระยอง, ส่วย-สุรินทร์); ยาง, ยางพลวง (ภาคกลาง); ล่าเทอะ, แลเท้า (กะเหรี่ยง-ภาคเหนือ); สะเติ่ง (ละว้า-เชียงใหม่); สาละออง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ภาษากะเหรี่ยงเรียก หล่าเคอะหล่า ไม้ยืนต้น ผลัดใบ กิ่งอ่อนมีร่องรอยแผลเป็นจากใบร่วงชัดเจน เปลือกต้นหนา สีน้ำตาลปนเทาอ่อน ใบเดี่ยว ยอดอ่อนมีหูใบสีแดงหุ้ม ดอกช่อออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงขนาดใหญ่ กลีบดอกเรียงซ้อนเป็นเกลียว สีชมพูเข้ม ตรงปลายกลีบ ผลมีปีกสองปีก เกิดจากกลีบเลี้ยง แข็ง ผลแก่ไม่แตก ใบใช้ห่อข้าวและตากแห้งใช้ทำตับมุงหลังคา เป็นไม้ที่นิยมใช้ทำฟืนในจังหวัดกำปงชนัง ประเทศกัมพูชา[1]