ตะจาน | |
---|---|
ภาพวาดเทศกาลตะจานในยุคอาณาจักรพุกาม | |
ชื่อทางการ | ตะจาน |
ชื่ออื่น | วันปีใหม่ประเทศพม่า |
จัดขึ้นโดย | ชาวพม่า |
ความสำคัญ | เป็นเครื่องหมายปีใหม่ของชาวพม่า |
การถือปฏิบัติ | สาดน้ำ, ทำบุญ, กาดอว์ |
เริ่ม | 13 เมษายน |
สิ้นสุด | 16 เมษายน |
วันที่ | 13–16 เมษายน |
ความถี่ | ทุกปี |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ปีใหม่สุริยคติเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ |
เทศกาลปีใหม่ดั้งเดิมพม่า อะตาตะจาน * | |
---|---|
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก | |
ชาวพม่าซ้อมรำเปิดเทศกาลตะจานมัณฑะเลย์ ค.ศ. 2012 | |
ประเทศ | พม่า |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
สาขา | แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล |
เกณฑ์พิจารณา | R.1, R.2, R.3, R.4, R.5 |
อ้างอิง | 02085 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2024 (คณะกรรมการสมัยที่ 19) |
รายการ | ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ตะจาน (พม่า: သင်္ကြန်, ออกเสียง: [θɪ́ɰ̃.d͡ʑàɰ̃] หรือ [ðə.d͡ʑàɰ̃]; ยะไข่: [θɔ́ɰ̃.kràɰ̃]; มอญ: သၚ်္ကြန်, ; มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า สํกฺรานฺติ หมายถึง "การเคลื่อนย้าย [ของดวงอาทิตย์จากราศีมีนสู่ราศีเมษ])[1] เป็นวัฒนธรรมของชาวพม่าแต่โบราณและถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อกำหนดวันขึ้นปีใหม่ให้สะดวกขึ้น วันขึ้นปีใหม่ของพม่าจึงกำหนดตามปฏิทินสากล ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน ถึง 16 เมษายน ช่วงนี้จะเป็นการเล่นสาดน้ำต้อนรับปีใหม่ และในวันที่ 17 เมษายน ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ เดิมทีทางการพม่าได้กำหนดระหว่างวันที่ 12 เมษายนจนถึงวันที่ 16 เมษายน เป็นวันหยุดราชการ แต่ปัจจุบันได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการไปจนถึงวันที่ 22 เมษายน
ตะจานคล้ายกับประเพณีสงกรานต์ในประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน คือ การเล่นสาดน้ำเพื่อคลายร้อน และเปรียบเหมือนเป็นการลบล้างสิ่งไม่ดีจากปีเก่าเพื่อความเป็นสิริมงคล ในสมัยอดีตจะใช้การเล่นสาดน้ำอย่างเบา ๆ โดยใช้ยอดหว้าอ่อนชุบใส่น้ำปรุงแล้วแตะเบา ๆ บนไหล่ของผู้ที่จะเล่นสาดน้ำด้วย นอกจากการเล่นสนุกสนานแล้ว ยังมีประเพณีบุญ คือ การทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น การตักบาตร, สรงน้ำพระพุทธรูป, ถือศีลปฏิบัติธรรม, ทำความสะอาดวัดหรือศาสนสถาน, ทำบุญบ้าน, สระผมหรืออาบน้ำทำความสะอาดให้แก่คนชราที่ไร้ญาติ รวมถึงการปล่อยสัตว์ต่าง ๆ เช่น นก, ปลา หรือสัตว์ใหญ่อย่าง วัวหรือควาย นอกจากนี้แล้วผู้คนที่ไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างถิ่น ก็จะเดินทางกลับสู่ถิ่นเกิดเพื่อกราบไหว้ผู้ใหญ่ในครอบครัว เช่น พ่อแม่, ปู่ย่าตายาย, ลุงป้าน้าอา เป็นต้น และเชื่อว่าหากได้สระผมหรือตัดเล็บก่อนไปทำบุญที่วัด จะเป็นการตัดสิ่งไม่ดีในปีเก่าทิ้งไปและรับสิ่งดี ๆ เข้ามา[2]
ในเทศกาลตะจานนี้มีอาหารพิเศษหลายอย่าง เช่น โหมะน์โล่นเยบอ (မုန့်လုံးရေပေါ်) เป็นขนมที่ทำรับประทานกันโดยเฉพาะในช่วงนี้ โดยมีความหมายถึง ความสามัคคี เพราะเมื่อทำขนมนี้ต้องใช้ผู้คนหลายคน และแจกจ่ายแก่บุคคลอื่นที่ผ่านไปมา และ ตะจานทะมี่น (သင်္ကြန်ထမင်း) เป็นข้าวสวยที่แช่ในน้ำที่มีกลิ่นเทียนหอม รับประทานกับเครื่องเคียง คือ ปลาช่อนแห้งผัดกับหอมเจียวและยำมะม่วงดอง[3]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ตะจาน