ตังควด

ตังควด (ต่ง เจฺว๋)
董厥
ทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซานฉีฉางชื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 264 (264) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮวน
ที่ปรึกษาการทหารของอัครมหาเสนาบดี
(相國參軍 เซียงกั๋วชานจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 264 (264) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮวน
มหาขุนพลผู้ช่วยเหลือรัฐ
(輔國大將軍 ฟู่กั๋วต้าเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 263 (263)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
มหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 258 (258) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ก่อนหน้าเฉิน จือ
ผู้ช่วยราชเลขาธิการ (尚書僕射 ช่างชูผูเช่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 234 (234) – ค.ศ. 258 (258)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวน้าเลขานุการและนายทะเบียน
ในสำนักของอัครมหาเสนาบดี
(丞相府令史及主簿 เฉิงเซี่ยงฝู่ลิ่งฉื่อจี๋จู่ปู้)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 234 (234) – ค.ศ. 258 (258)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครเจ่าหยาง มณฑลหูเป่ย์
เสียชีวิตไม่ทราบ
อาชีพขุนนาง, ขุนพล
ชื่อรองกงสี (龔襲)
บรรดาศักดิ์หนานเซียงโหฺว
(南鄉侯)

ตังควด[a], ต๋งเคียด[b], เตียวกอด[c] หรือ ตังขวด[d] (มีบทบาทในช่วงทศวรรษ 220–260) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ต่ง เจฺว๋ (จีน: 董厥; พินอิน: Dǒng Jué) ชื่อรอง กงสี (จีน: 龔襲; พินอิน: Gōngxí) เป็นขุนนางและขุนพลของรัฐจ๊กก๊กในช่วงปลายยุคสามก๊กของจีน ตังควดรับราชการต่อมาในฐานะขุนนางของรัฐวุยก๊กซึ่งพิชิตจ๊กก๊กได้ในปี ค.ศ. 263

ประวัติ

[แก้]

ตังควดรับราชการร่วมกับฮวนเกี๋ยนในฐานะเลขานุการและนายทะเบียนของจูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐจ๊กก๊กในช่วงการบุกลงใต้และการบุกขึ้นเหนือ หลังจูกัดเหลียงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 234 ตังควดได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยราชเลขาธิการ (尚書僕射 ช่างชูผูเช่อ) และภายหลังขึ้นเป็นหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง) ในปี ค.ศ. 258 แทนที่เฉิน จือ ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็นมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน) และมหาขุนพลผู้ช่วยเหลือรัฐ (輔國大將軍 ฟู่กั๋วต้าเจียงจฺวิน) จักรพรรดิเล่าเสี้ยนแห่งจ๊กก๊กยังพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่ตังควดให้เป็นหนานเซียงโหฺว (南鄉侯)

ต่อมาตังควดได้เป็นผู้ช่วยของเกียงอุยขุนพลจ๊กก๊กในการป้องกันด่านเกียมโก๊ะ (劍閣 เจี้ยนเก๋อ) ในปี ค.ศ. 263 ตังควดยังเคยพยายามทูลแนะนำเล่าเสี้ยนเพื่อลดทอนอิทธิพลของขันทีฮุยโฮที่เล่าเสี้ยนไว้วางพระทัยแต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดเล่าเสี้ยนให้ย้ายให้ตังควดให้ไปทำงานด้านการจัดการบัญชีเพื่อลดการแทรกแซงกิจการของรัฐของตังควด หลังจ๊กก๊กล่มสลาย ตังควดรับราชการต่อมาในฐานะขุนนางของรัฐวุยก๊ก โดยมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาการทหารของอัครมหาเสนาบดี (相國參軍 เซียงกั๋วชานจฺวิน) และทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซานฉีฉางชื่อ)

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 70[1] และตอนที่ 75[2]
  2. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 67[3]
  3. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 69[4]
  4. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 85[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ("แล้วขงเบ้งก็ถวายบังคมลามาที่อยู่ จึงจัดแจงนายทหารสามสิบคน อุยเอี๋ยน เตียวเอ๊ก อองเป๋ง ลิอิ๋น ลิหงี ม้าต้าย เลียวฮัว ม้าตง เตียวหงี เล่าตำ เปงจี๋ ม้าเจ๊ก อ้วนหลิม งออี้ โกเสียง งอปัน เอียวหงี เล่าเป๋า เคาอิ้น เตงหำ เล่าปิ้น กัวหยง ออจี้ เงี้ยมอ้าน เหียนสิบ ตอหงี ตอกี๋ เซงฮู ฮวนกี๋ อวนเกี๋ยน ตังควด กวนหิน เตียวเปา จะยกไปตีเมืองฮูโต๋") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 12, 2023.
  2. ("ครั้นอยู่มาสองวันขงเบ้งจึงให้หาตังควดกับอ้วนเกี๋ยนสองคนเข้ามาบอกว่า บัดนี้เราป่วยหนักจะว่ากล่าวบังคับกิจการสืบไปมิได้ เราจะเลิกทัพกลับไปเมืองเสฉวนเถิด แต่ทว่าอย่าให้เอิกเกริกไป รู้ถึงสุมาอี้จะยกทหารติดตามเราจะไปมิสดวก ท่านจงบอกทหารทั้งปวงให้ตระเตรียมตัวให้พร้อม สั่งแล้วเวลาคํ่าก็ให้ทหารเลิกทัพลอดลัดมาเมืองฮันต๋ง") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 12, 2023.
  3. ("แล้วขงเบ้งก็พาจูล่งเข้าไปถวายบังคมลาพระเจ้าเล่าเสี้ยน แล้วออกไปจัดกองทัพอยู่นอกเมือง จึงตั้งให้จูล่งอุยเอี๋ยนสองคนเปนนายกองทัพ อองเป๋งกับเตียวเอ๊กคุมทหารเปนปีกซ้ายขวา เจียวอ้วนคุมทหารเปนสารวัดตรวจตรา ปีฮุยต๋งเคียด อ้วนเคียนสามคนนี้เปนที่ปรึกษา แลทหารในกองทัพห้าสิบหมื่น") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 12, 2023.
  4. ("ครั้นเวลากลางคืนก็ยกออกไปตั้งไว้ริมน้ำ ขงเบ้งจึงแต่งตัวออกไปจุดธูปเทียนแลประทีปสี่สิบเก้า แล้วแต่งหนังสือบวงสรวงให้เตียวกอดอ่านเปนใจความว่า") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๙". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 12, 2023.
  5. ("ฝ่ายตังขวดนายด่านเห็นเกียงอุยยกทหารมาดังนั้น ไม่รู้ว่าเกียงอุยก็ตกใจสำคัญว่าข้าศึกยกมา ก็ตระเตรียมทหารจะออกรบ ม้าใช้เข้าไปแจ้งว่าเกียงอุยยกมาก็มีความยินดี จึงรีบออกไปต้อนรับ ต่างคนต่างคำนับกันแล้วก็พากันเข้ามา ตังขวดจึงร้องไห้บอกแก่เกียงอุยว่า บัดนี้พระเจ้าเล่าเสี้ยนนายเราเชื่อถือถ้อยคำฮุยโฮ สารวลเสพย์สุรามิได้ออกว่าราชการบ้านเมืองเลย จนเปนอันตรายถึงเพียงนี้แล้วจะคิดประการใด") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 12, 2023.

บรรณานุกรม

[แก้]