ตัวเลข | ตัวคูณ | ตัวเลข | ตัวคูณ |
---|---|---|---|
1 | โมโน- (mono-) | 32 | โดเทรียคอนตะ- (dotriaconta-) |
2 | ได-(di-) | 40 | เตตระคอนตะ- (tetraconta-) |
3 | ไตร- (tri-) | 50 | เพนตะคอนตะ- (pentaconta-) |
4 | เตตระ- (tetra-) | 60 | เฮกซะคอนตะ- (hexaconta-) |
5 | เพนตะ- (penta-) | 70 | เฮปตะคอนตะ-(heptaconta-) |
6 | เฮกซะ- (hexa-) | 80 | ออกตะคอนตะ- (octaconta-) |
7 | เฮปตะ- (hepta-) | 90 | โนนะคอนตะ- (nonaconta-) |
8 | ออกตะ- (octa-) | 100 | เฮกตะ- (hecta-) |
9 | โนนะ- (nona-) | 200 | ดิกตะ- (dicta-) |
10 | เดคะ- (deca-) | 300 | ทริกตะ- (tricta-) |
11 | อุนเดคะ- (undeca-) | 400 | เททรักตะ- (tetracta-) |
12 | โดเดคะ- (dodeca-) | 500 | เพนทักตะ- (pentacta-) |
13 | ไตรเดคะ- (trideca-) | 600 | เฮกซักตะ (hexacta-) |
14 | เตตระเดคะ- (tetradeca-) | 700 | เฮปทักตะ (heptacta-) |
15 | เพนตะเดคะ- (pentadeca-) | 800 | ออกทะคะตะ- (octacata-) |
16 | เฮกซะเดคะ- (hexadeca-) | 900 | โนนักตะ- (nonacta-) |
17 | เฮปตะเดคะ- (heptadeca-) | 1000 | คิเลีย- (kilia-) |
18 | ออกตะเดคะ- (octadeca-) | 2000 | ดิเลีย- (dilia-) |
19 | โนนะเดคะ- (nonadeca-) | 3000 | ทริเลีย- (trilia-) |
20 | ไอโคซะ- (icosa-) | 4000 | เตตระเลีย- (tetralia-) |
21 | เฮนิโคซะ- (henicosa-) | 5000 | เพนตะเลีย- (pentalia-) |
22 | โดโคซะ- (docosa-) | 6000 | เฮกซะเลีย(hexalia-) |
23 | ไตรโคซะ- (tricosa-) | 7000 | เฮปตะเลีย- (heptalia-) |
30 | ไตรคอนตะ- (triconta-) | 8000 | ออกตะเลีย- (octalia-) |
31 | เฮนทริคอนตะ- (hentriconta-) | 9000 | โนนะเลีย- (nonalia-) |
ตัวคูณของ IUPAC (อังกฤษ: IUPAC numerical multiplier) เป็นส่วนหนึ่งของระบบการเรียกชื่อสารเคมีของ IUPAC ซึ่งทำหน้าที่บอกให้เราทราบถึงจำนวนของอะตอมหรือหมู่ฟังก์ชันที่ต่ออยู่กับจุดใดจุดหนึ่งในโมเลกุล โดยที่ตัวคูณได้ดัดแปลงจากจำนวนนับทั้งในภาษาละตินและภาษากรีก
ปกติแล้ว ตัวคูณที่ให้ไว้นี้จะใช้สำหรับเป็นคำอุปสรรค ในการระบุจำนวนอะตอมหรือหมู่ฟังก์ชันในสารเคมีได้เลย แต่ ว่าถ้าต้องการตัวเลขที่ไม่มีตัวคูณในตาราง เราต้องประกอบขึ้นเอง โดยการเรียกตัวคูณของหลักหน่วย ต่อด้วยหลักสิบ หลักร้อย หลักพัน... ไปเรื่อย ๆ โดยคำนึงถึงค่าของตัวเลขตัวนั้น ๆ ขณะอยู่ประจำหลักของตัวเอง ดังตัวอย่าง
กรณีที่เลขที่เราต้องการมี 1 หรือ 11 ต่อท้าย เราจะเรียกเลขหนึ่งว่า เฮน- (hen-) และเรียกเลขสิบเอ็ดว่า อุนเดคะ- (undeca-) ดังตัวอย่าง
Panico, R.; & Powell, W. H. (Eds.) (1994). A Guide to IUPAC Nomenclature of Organic Compounds 1993, Oxford: Blackwell Science. ISBN 0-6320-3488-2.