ระบบตัวเลขสำหรับอักษรกลาโกลิติก
แถวแรกของพระราชบัญญัติวีนอดอล ที่มีปี 1280 เขียนด้วยอักษร ·Ⱍ҃·Ⱄ҃·Ⱁ҃· (ฉบับสำเนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16)
ตัวเลขกลาโกลิติก เป็นระบบเลข จากอักษรกลาโกลิติก ที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าประดิษฐ์ขึ้นในคริสต์ตวรรษที่ 9 โดยนักบุญซีริล ตัวเลขนี้มีความคล้ายกับตัวเลขซ๊ริลลิก เพียงแต่ค่าตัวเลขนี้เรียงตามลำดับอักษร ของอักษรกลาโกลิติก [ 1] [ 2] การใช้งานอักษรและตัวเลขกลาโกลิติกเริ่มมีน้อยลงในสมัยกลาง และเหลือเพียงการใช้ในงานเขียนศาสนาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยยังไม่เป็นที่กระจ่างว่ายังคงมีการใช้ตัวเลขกลาโกลิติกต่อนานเท่ากับอักษรกลาโกลิติกหรือไม่[ 3]
ระบบตัวเลขนี้เป็นระบบเลขอักษร ฐานสิบ โดยมีค่าเลขตามลำดับอักษร ดังนั้ Ⰰ [ɑ] = 1, Ⰱ [b] = 2 เป็นต้น รูปอักขระสำหรับจำนวนในหลักหน่วย สิบ และร้อยมารวมกันเป็นตัวเลข เช่น ⰗⰑⰂ คือ 500 + 80 + 3 หรือ 583 ตัวเลขเขียนจากซ้ายไปขวา โดยจำนวนมากสุดอยู่ทางซ้าย
สำหรับจำนวนที่มากกว่า 999 มีหลักฐานที่ขัดแย้งกัน ออักษรกลาโกลิติกแรกสุดมีอักษรเพียง 36 ตัว โดยมีข้อบ่งชี้ถึงการใช้อักษรกลาโกลิติกสำหรับค่า 1000 ถึง 9000[ 3] [ 4] แม้ว่ายังคงมีข้อคำถามถึงข้อยืนยันเลขที่มีค่า 3000 และมากกว่านั้น[ 5]
เพื่อแยกตัวเลขออกจากข้อความ ตัวเลขมักจะมีจุดหรือสัญลักษณ์ข้างบน[ 3] เช่น ใน Missale Romanum Glagolitice ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1483 ใช้ทั้งจุดกลมและ titlo เหนืออักษร เพื่อระบุเป็นตัวเลข[ 6]
ตัวอย่าง:
(·Ⱍ҃·Ⱄ҃·Ⱁ҃· ) – 1280
ค่า
กลาโกลิติก
1
Ⰰ
2
Ⰱ
3
Ⰲ
4
Ⰳ
5
Ⰴ
6
Ⰵ
7
Ⰶ
8
Ⰷ
9
Ⰸ
ค่า
กลาโกลิติก
10
หรือ
Ⰺ หรือ Ⰹ
20
Ⰻ
30
Ⰼ
40
Ⰽ
50
Ⰾ
60
Ⰿ
70
Ⱀ
80
Ⱁ
90
Ⱂ
ค่า
กลาโกลิติก
100
Ⱃ
200
Ⱄ
300
Ⱅ
400
Ⱆ
500
Ⱇ
600
Ⱈ
700
Ⱉ
800
Ⱋ
900
Ⱌ
ค่า
กลาโกลิติก
1,000
Ⱍ
2,000
Ⱎ
3,000
Ⱏ
4,000
Ⱑ
5,000
Ⱓ
6,000
?
7,000
?
8,000
?
9,000
Ⱔ
ยังไม่มีใครทราบอักษรที่ระบุค่ามากกว่า 999 และนักเขียนหลายคนระบุอักษรสำหรับจำนวนเหล่านั้นต่างกัน[ 5] [ 7]
↑ Schenker, Alexander M. (1995), The Dawn of Slavic: An Introduction to Slavic Philology , New Haven, Connecticut: Yale University Press, ISBN 0-300-05846-2
↑ Lunt, Horace Gray (2001). Old Church Slavonic Grammar (7th ed.). Berlin, Germany: Walter de Gruyter. pp. 16–18. ISBN 978-3-11-016284-4 .
↑ 3.0 3.1 3.2 Chrisomalis, Stephen (2010). Numerical Notation: A Comparative History . Cambridge, England: Cambridge University Press. pp. 178–182. ISBN 978-1-139-48533-3 . สืบค้นเมื่อ 2016-12-28 .
↑ Veder, William R. (2004). The Glagolitic Alphabet as a Text . Glagoljica i hrvatski glagolizam. Zbornik radova s međunarodnoga znanstvenog skupa povodom 100. obljetnice Staroslavenske akademije i 50. obljetnice Staroslavenskog instituta. Zagreb, Croatia: Staroslavenski Institut/Krčka Biskupija. pp. 375–387.
↑ 5.0 5.1 Mathiesen, Robert (2004). A New Reconstruction of the Original Glagolitic Alphabet (M.S.). Brown University.
↑ Žubrinić, Darko (2013). "Hrvatski glagoljički Prvotisak misala iz 1483" [Croatian Glagolitic First Printing of the 1483 Missal] (ภาษาโครเอเชีย). สืบค้นเมื่อ 22 May 2020 .
↑ Chulev, Basil (2015). "Glagoling the Glagolithic ("Speaking the Speakolithic")" . สืบค้นเมื่อ May 21, 2020 .