ตำราทองคำ

ริซาละห์ ซะฮะบียะห์(ตำราทองคำ) คือตำราที่เกี่ยวกับเรื่องราวสุขภาพและการรักษาโรค ซึ่งมาจากท่านอิมามริฎอ(อฺ) อิมามท่านที่แปดของบรรดาชีอะห์ ตำราดังกล่าวถูกเขียนจากการร้องขอของคอลีฟะห์ในยุคสมัยนั้น คือ มะอฺมูน ตำราดังกล่าวถือเป็นแหล่งข้อมูลทรงคุณค่าเกี่ยวกับแพทย์ และถูกเรียกว่าริซาละห์ ซะฮะบียะห์(หมายถึง การบันทึกความรู้ทองคำ)เนื่องจากเขียนด้วยน้ำหมึกทองคำตามคำสั่งของมะอฺมูน[1][2] ควรรู้ว่าสายรายงานของตำราฉบับนี้คือ มุฮัมหมัด อิบนิ ญุมฮูร อัมมี หรือ ฮุเซ็น อิบนิ มุฮัมหมัด นูฟิลี ซึ่งถูกยืนยันความน่าเชื่อถือในการรายงานเป็นที่เรียบร้อยแล้วโดย นะญาชี[3]

หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยสาขาวิชาความรู้เช่น มิญชวิทยา จิตวิทยา เคมี พยาธิวิทยา ตามคำสั่งสอนที่อยู่ในตำราเล่มนี้มนุษย์จะมีสุขภาพที่ดีได้กับสิ่งเหล่านี้ คือ เลือด (blood) น้ำดีดำ (black bile) น้ำดีเหลือง (yellow bile) และเสมหะ (phlegm) ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายของมนุษย์ ตับคืออวัยวะที่สำคัญ ในการดูแลรักษาและผลิตสิ่งที่มนุษย์มีความจำเป็นต่อมัน ท่านอิมามริฎอ(อฺ)ได้กล่าวถึงร่างกายว่า “ร่างกายเปรียบเสมือนระบบการปกครองหนึ่งที่ถูกปกครองโดยราชาและนั่นคือหัวใจ โดยมีเลือด ร่างกาย และสมองเป็นผู้อยู่ภายใต้บัญชา

ผู้เขียน

[แก้]
نام رضا در عربی

ตำราฉบับนี้ถูกเขียนโดยท่านอิมามริฎอ(อฺ)ทายาท คนที่เจ็ดของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) และอิมามท่านที่แปดของบรรดาชีอะห์สิบสองอิมาม ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๑ ซุลเกาะอฺดะฮ์ ภายในบ้านของอิมามมูซากาเซ็ม(อิมามท่านที่เจ็ด) (อฺ) ณ เมืองมะดีนะ[4] ท่านถูกเรียกตัวไปยังเมืองคุราซานโดยคอลีฟะฮ์มะอฺมูน ในที่สุดท่านถูกวางยาพิษโดยมะอฺมูนจนเสียชีวิต และถูกฝังอยู่ ณ เมืองมัชัด ปัจจุบันเมืองมัชฮัดเป็นหนึ่งในเมืองที่มีความสำคัญมากที่สุดและมีผู้คนมากมายจากทั่วโลกไปซียาเราะห์กุโบร์ของท่าน[2][5]

ข้อสงสัยในสายรายงาน

[แก้]

สายรายงานของตำราฉบับนี้เป็นที่สงสัยในหมู่ผู้รู้ริญาลและฮาดิษ อาทิ ท่านอัลลามะฮ มัจลิซี[6]

เรื่องราว

[แก้]

วังของคอลีฟะห์มะอฺมูนเป็นศูนย์กลางการค้นคว้าวิชาการและปรัชญา มีบรรดาผู้รู้จำนวนมากรวมตัวกันที่นั่น

หนึ่งในหัวข้อที่มีการวิจัยเกิดขึ้น คือเรื่องร่างกายของมนุษย์ ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์มากมายเข้าร่วมด้วย อาทิ Jabril ibn Bukhtishu และ Masawaiyh ครั้งหนึ่งผู้เข้าร่วมได้ทำการถกเถียงเกี่ยวกับโครงสร้างของมนุษย์ และประเภทของอาหารต่าง ๆ ในระหว่างนั้นท่านอิมามริฎอ(อฺ)ทำเพียงนิ่งเงียบ จากนั้นมะอฺมูนจึงขอให้อิมามแสดงความรู้ของตนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านอิมาม(อฺ)จึงกล่าวตอบว่า

นอกเหนือจากวิชาความรู้ต่าง ๆ ได้รับจากบรรพบุรุษของฉัน และหลังจากที่ฉันได้ทำการทดลองเองจนมีความรู้ไปยังทุกสิ่งอย่างอย่างถูกต้องลึกซึ่งจนไม่สามารถมีผู้ใดมองข้ามได้ ฉันจึงต้องแบ่งให้เป็นส่วนที่เท่าเทียมกัน และต้องเรียบเรียงนำเสนอให้ทุกคนได้รับรู้

หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวมะอฺมูนเรียกร้องให้ท่านอิมามริฎอ(อฺ)ให้ทำตามที่ตนขอ คือเขียนตำราเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ ท่านอิมามริฎอ(อฺ)จึงเขียนตำรานี้ขึ้น และเพราะความสำคัญของเรื่องนี้มะอฺมูนมีคำสั่งให้ทำการบันทึกด้วยทองคำจึงเป็นที่มาของชื่อ “ริซาละห์ ซะฮะบียะห์”(ตำราทองคำ)

เนื้อหาของหนังสือ

ในเริ่มต้นท่านอิมามริฎอ(อฺ)ได้เปรียบร่างกายของมนุษย์เหมือนประเทศหนึ่งซึ่งมีหัวใจเป็นผู้ปกครอง และเส้นเลือดเป็นคือผู้บริหาร และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คือส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของหัวใจ มือและขาทั้งสอง ตา ปาก ลิ้น สองหู คือมิตรสหาย ท้องและหน้าอกคือขุมทรัพย์ จากนั้นท่านอธิบายถึงแนวทางและขนาดที่ถูกต้องในการกินการดื่ม ท่านยังคงชี้ให้เห็นถึงหนทางในการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของดิน ฟ้า อากาศ มนุษย์ควรจะพักผ่อนอย่างไร ควรดูแลสุขภาพของช่องปากและฟันอย่างไร

อ้างอิง

[แก้]
  1. Muhammad Jawad Fadlallah (27 September 2012). Imam ar-Ridha', A Historical and Biographical Research. Al-islam.org. Yasin T. Al-Jibouri. สืบค้นเมื่อ 18 June 2014.
  2. 2.0 2.1 W. Madelung (1 August 2011). "ALĪ AL-REŻĀ, the eighth Imam of the Emāmī Shiʿites". Iranicaonline.org. สืบค้นเมื่อ 18 June 2014.
  3. Derakhshan, Mahdi (July 1362). "al-Risalah al-Dhahabiah (in medicine) attributed to Hazrat Reza (a.s)". Literature and Human Science Department of Tehran University. 101–104 (25): 87–112. สืบค้นเมื่อ 27 June 2014.
  4. Tabatabaei, Sayyid Mohammad Hosayn (1975). Shi'ite Islam. แปลโดย Sayyid Hossein Nasr. State University of New York Press. ISBN 0-87395-390-8.
  5. Chittick, William C. (1980). A Shi'ite Anthology. SUNY Press. ISBN 978-0-87395-510-2.
  6. عابدی، احمد. تاریخ‌نگری و تاریخ‌نگاری (نورمگز) سال بیست و سوم (۱۳۹۰). http://www.noormags.ir/view/fa/articlepage/943962/تردیدهای-آشکار-و-نهان-علامه-مجلسی-درباره-اعتبار-رساله-ذهبیه.แม่แบบ:یادکرد ژورنال