โบโบ้จาจ่า (摩摩喳喳) | |
ชื่ออื่น | ตูโบ้, โบโบ้จาจ่า (ฮกเกี้ยนสิงคโปร์) |
---|---|
มื้อ | ขนม |
แหล่งกำเนิด | ประเทศจีนหรือมาเลเซีย |
ภูมิภาค | ฮกเกี้ยนหรือปีนัง |
ผู้สร้างสรรค์ | ไม่ปรากฏ |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | เย็นหรือร้อน |
ส่วนผสมหลัก | แป้งมันสำปะหลัง, กะทิ |
ตูโบ้, โบโบจาจ้า หรือ ต้มบวดรวมมิตร เป็นอาหารหวานท้องถิ่นภูเก็ต[1] และตรัง[2] ทำจากถั่วแดงเม็ดเล็ก (คนภูเก็ตเรียกว่า "ถั่วย้อแย้") มันเทศ เผือก (คนภูเก็ตเรียกว่า "หัวบอน") และแป้งมันสำปะหลัง (คนภูเก็ตเรียกว่า "แป้งตั่วจูหุ้น") ต้มรวมกันในน้ำกะทิเติมน้ำตาลและเกลือพอให้มีรสหวานนำและเค็มปะแล่ม จะกินร้อน ๆ หรือเติมน้ำแข็งก็ได้
ตู หมายถึง "หมู" และ โบ้ หมายถึง "แม่" รวมความแล้ว ตูโบ้ หมายถึง "แม่หมู" ที่เรียกเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะลักษณะของหวานเป็นแบบรวมมิตร เอาของกินหลายอย่างมาต้มรวมกันเหมือนต้มอาหารให้แม่หมูกิน
ส่วนโบโบ จาจ้า คำว่า โบโบ แปลว่า โจ๊ก คำว่า จาจ้า หมายถึง เต้นรำ ชื่อนี้มักเรียกกันในแถบจังหวัดตรัง และบางพื้นที่ในตรังเองก็มีการออกเสียงที่หลากหลาย และแตกต่างกันออกไป เช่น โบโบ ชิชิ หรือโบโบ เจี๊ยะเจี๊ยะ
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)