ตไลกกูตตัล

ตไลกกูตตัล (ทมิฬ: தலைக்கூத்தல்; Thalaikoothal) เป็นการฆาตกรรมคนชราหรือการบังคับการุณยฆาตที่กระทำโดยสมาชิกในครอบครัว มีกระทำอยู่ในบางส่วนของทางใต้ของรัฐทมิฬนาฑูของอินเดีย

กระบวนการ

[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่จะถูก ตไลกกูตตัล จะได้รับการอาบน้ำมันในตอนเช้า ตามด้วยการบังคับดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน จำนวนหลายแก้วจนเกิดไข้สูง, ไตวาย, อาการกระตุกรุนแรง และเสียชีวิตภายในวันหรือสองวัน[1][2] นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงการนวดศีรษะในน้ำเย็นจัด ซึ่งอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงมากพอที่จะกระตุ้นให้หัวใจวายได้[3] วิธีอื่น ๆ ที่ใช้ เช่น การบังคับดื่มนมวัวขณะที่อุดจมูกไว้ ทำให้หายใจลำบาก ไปจนถึงการใช้ยาพิษโดยตรง[3]

ความชุก

[แก้]

ถึงแม้ว่าการกระทำ ตไลกกูตตัล จะผิดกฎหมายในประเทศอินเดีย[4] แต่ก็ยังคงได้รับการยอมรับอย่างลับ ๆ อยู่ในรูปของการการุณยฆาต และน้อยครั้งที่จะมีผู้นำเรื่องนี้ไปแจ้งถึงตำรวจ[5] ในบางกรณี สมาชิกในครอบครัวจะแจ้งญาติให้ทราบก่อนที่จะกระทำ ตไลกกูตตัล[6] และบางครั้งผู้ที่ถูกกระทำยังเป็นคนขอเองด้วยซ้ำ[3] อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกกรณีที่ผู้ถูกกระทำจะยินยอม เช่นกรณีอื้อฉาวเมื่อปี 2010 ที่ชายวัย 80 ปี หลบหนีออกมาอาศัยในที่พักของญาติ หลังทราบชะตากรรมตัวเองและแอบได้ยินสมาชิกในครอบครัวคุยกันเรื่องการแบ่งจัดสรรมรดกที่ดินของเขา[5]

รายงานการตรวจสอบระบุว่าการะกระทำนี้มี "ค่อนข้างทั่วไป" ("fairly widespread") ในอำเภอทางตอนใต้ของรัฐทมิฬนาฑู[4][5] มีการคาดการณ์ว่ามีการทำ ตไลกกูตตัล ราว 20 ถึงหลายร้อยครั้งทุกปี[3]

การเฝ้าระวัง

[แก้]

ในปี 2010 หลังเกิดเหตุชายวัย 80 ปีหนีออกจากบ้านในอำเภอวิรุธูนคร รัฐบาลท้องถิ่นได้มีการจัดตั้งคณะทำงานตรวจตราผู้สูงอายุในอำเภอ[5][6]

ภาพยนตร์ทมิฬเช่น K.D. Engira Karuppudurai และ Baaram มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทำ ตไลกกูตตัล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "After thalaikoothal scare, 80-year-old fights back". Deccan Chronicle. 15 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2010.
  2. "Mother, shall I put you to sleep?". Tehelka. 7 (46). 20 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-08. สืบค้นเมื่อ 2022-09-13.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Magnier, Mark (15 January 2013). "In southern India, relatives sometimes quietly kill their elders". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 16 January 2013.
  4. 4.0 4.1 Suresh, V.; Vera-Sanso, Penny (20 March 2010). "No mercy killing, this". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 16 August 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "'Mercy killing' in TN villages". Deccan Chronicle. 26 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2016.
  6. 6.0 6.1 "Family murders of elders to be probed". Deccan Chronicle, Chennai. 2 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]