ถนนดินสอ

ถนนดินสอ
Devasathan Bangkok (2021).jpg
ถนนดินสอบริเวณเทวสถานโบสถ์พราหมณ์
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว0.850 กิโลเมตร (0.528 ไมล์; 2,790 ฟุต)
ประวัติ
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้ วงเวียนเสาชิงช้า ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ปลายทางทิศเหนือ แยกสะพานวันชาติ ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ถนนดินสอ (อักษรโรมัน: Thanon Dinso) ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนเสาชิงช้าที่ถนนบำรุงเมือง บริเวณหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และทอดยาวออกไปยังถนนราชดำเนินกลางผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปสิ้นสุดลงที่แยกสะพานวันชาติ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ โดยเป็นถนนที่เป็นเส้นตรงตลอดทั้งสาย มีความยาวทั้งสิ้น 850 เมตร

ถนนดินสอ เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เหตุที่ได้ชื่อว่า "ดินสอ" เนื่องจากแถบนี้ในช่วงกรุงศรีอยุธยา ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่มีอาชีพทำดินสอและกระดาษ จนได้ชื่อว่า "ย่านป่าดินสอ" ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารจากหอหลวง เรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ ความว่า "ย่านป่าดินสอ ริมวัดพระงาม มีร้ายขายดินสอศิลาอ่อนแก่ แลดินสอขาวเหลือง ดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ"

จนล่วงมาถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาชีพทำดินสอของผู้คนแถบนี้ก็ยังคงอยู่ และถูกเรียกว่า "ย่านดินสอ" หรือ "บ้านดินสอ" ต่อมามีการสร้างถนนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 เพื่อขยายเส้นทางสัญจรในพื้นที่พระนคร จึงได้ชื่อว่า "ถนนดินสอ" ตราบจนปัจจุบัน แต่อาชีพทำดินสอไม่หลงเหลืออยู่อีกแล้ว[1]

ถนนดินสอ ในปัจจุบัน เป็นแหล่งรวมร้านอาหารที่ขึ้นชื่อหลายร้านเช่นเดียวกับถนนที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ถนนตะนาว, ถนนมหรรณพ, ถนนแพร่งภูธร, ถนนแพร่งนรา มีอาหารหลากหลายชนิด เช่น อาหารตามสั่ง, อาหารไทย, ข้าวแกง, โจ๊ก, นมสดและขนมปังปิ้ง, ข้าวมันไก่, เป็ดย่าง, เย็นตาโฟ, ขนมหวาน, ถั่วคั่ว, โบ๊กเกี้ย และขนมไทย เป็นต้น[2][3]

รายชื่อทางแยก

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ทิศทาง: เสาชิงช้า-สะพานวันชาติ
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนดินสอ (วงเวียนเสาชิงช้า - สะพานเฉลิมวันชาติ)
กรุงเทพมหานคร 0+000 เสาชิงช้า ไม่มี ไม่มี
ถนนบำรุงเมือง,ถนนตีทอง ไปสะพานช้างโรงสี,ศาลาเฉลิมกรุง ถนนศิริพงษ์,ถนนบำรุงเมือง ไปแยกอุณากรรณ,แยกสำราญราษฎร์
แยกกทม. ไม่มี ถนนมหรรณพ ไปศาลเจ้าพ่อเสือ
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง ไปแยกคอกวัว,สะพานผ่านพิภพลีลา ถนนราชดำเนินกลาง ไปผ่านฟ้า
สะพานวันชาติ ถนนพระสุเมรุ ไปบางลำพู ถนนพระสุเมรุ ไปผ่านฟ้า,ป้อมมหากาฬ
ตรงไป: ถนนประชาธิปไตย ไปวิสุทธิกษัตริย์
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2551. 544 หน้า. หน้า 47-48. ISBN 9789740202585
  2. MOONSIRI, THEERADA (2017-08-19). "10 พิกัดของกินในตำนานที่รวมตัวอยู่ในย่านเสาชิงช้า-ถนนดินสอต้องกินให้ครบ". soimilk. สืบค้นเมื่อ 2018-03-01.
  3. "'ขนมไทยแม่อุดม' อีกหนึ่งร้านขนมไทยเจ้าอร่อยในตำนาน". อมรินทร์ทีวี. 2017-05-05. สืบค้นเมื่อ 2018-03-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′20″N 100°30′04″E / 13.755617°N 100.501005°E / 13.755617; 100.501005