ผู้ประพันธ์ | ออสเน ซอแยร์สตัด (Åsne Seierstad) |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | Bokhandleren i Kabul |
ผู้แปล | จิระนันท์ พิตรปรีชา |
ประเทศ | นอร์เวย์ |
ภาษา | นอร์เวย์ |
ประเภท | สารคดี |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์มติชน (แปลไทย) |
วันที่พิมพ์ | พ.ศ. 2550 (แปลไทย) |
หน้า | 279 หน้า |
ISBN | 978-974-323-905-2 (แปลไทย) |
OCLC | 850821234 |
ถนนหนังสือสายคาบูล เป็นหนังสือสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของคนขายหนังสือผู้หนึ่งและครอบครัวในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน หนังสือเขียนโดยนักข่าวชาวนอร์เวย์ชื่อ ออสเน ซอแยร์สตัด (Åsne Seierstad) โดยผู้เขียนได้เขียนถึงสภาพชีวิตโดยทั่ว ๆ ไปของคนในครอบครัวนี้จากการที่ได้เข้าไปอาศัยอยู่ร่วมชายคาเดียวกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ออสเน ซอแยร์สตัด เดินทางเข้าสู่อัฟกานิสถานสองสัปดาห์หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายนและติดตามพันธมิตรฝ่ายเหนือไปยังคาบูลซึ่งเธอใช้เวลาอยู่ที่นั่นสามเดือน โดยปลอมตัวด้วยการสวมบุรเกาะอ์ เธออาศัยอยู่กับคนขายหนังสือและครอบครัวของเขาในกรุงคาบูล ซึ่งทำให้เธอมีโอกาสพิเศษที่จะบรรยายชีวิตตามที่ชาวอัฟกันธรรมดาเห็น
นอกจากการบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ในอัฟกานิสถานเมื่อมีการก่อตั้งระบอบประชาธิปไตยแล้ว ซอแยร์สตัดยังเน้นที่เงื่อนไขของสตรีชาวอัฟกันที่ยังคงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ภายใต้การปกครองของผู้ชาย–ประเพณีของอัฟกานิสถานอนุญาตให้สามีมีภรรยาหลายคน และมีการแต่งงานแบบคลุมถุงชน เธอยังกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างความเป็นตะวันตกกับอิสลามดั้งเดิม และให้เรื่องราวที่เข้าถึงประวัติศาสตร์ยุคใกล้ที่ซับซ้อนของอัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ตอลิบาน และระบอบประชาธิปไตยที่สนับสนุนโดยพันธมิตร
หลังจากที่ได้รับเสียงวิจารณ์วิจารณ์จากทั่วโลก คำพรรณาในหนังสือหลายส่วนถูกโต้แย้งโดยซูรอแย รออิส ซึ่งเป็นภรรยาคนที่สองของครอบครัวคนขายหนังสือในเรื่อง และได้ฟ้องผู้เขียนในนอร์เวย์ในข้อหาหมิ่นประมาท
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ซอแยร์สตัดถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทและ “ปฏิบัติงานข่าวโดยประมาทและได้รับคำสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ซูรอแย รออิส ภริยาของชาห์ มุฮัมมัด รออิส”[1][2]
ซอแยร์สตัดชนะการอุทธรณ์ซึ่งกลับผลการพิจารณาคดีครั้งก่อน และเธอได้ชี้แจงให้บรรณาธิการและผู้จัดพิมพ์ของสำนักพิมพ์คัปเปลัน ดัมม์ (Cappelen Damm) ถึงประเด็นการบุกรุกความเป็นส่วนตัวของครอบครัวรออิส และสรุปว่าข้อเท็จจริงของหนังสือเล่มนี้ถูกต้อง[3]
ระหว่างการเดินทางไปสแกนดิเนเวียในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รออิสประกาศว่าเขากำลังขอลี้ภัยในนอร์เวย์หรือสวีเดนในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง เขารู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เปิดเผยเกี่ยวกับตัวเขาในหนังสือของซอแยร์สตัด ได้ทำให้ชีวิตของเขาและครอบครัวของเขาในอัฟกานิสถานไม่ปลอดภัย ซึ่งที่นั่นมีการตีพิมพ์หนังสือฉบับปลอมในภาษาเปอร์เซีย
รออิสได้ตีพิมพ์เรื่องราวในเวอร์ชันของเขาเองในชื่อ "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีคนขายหนังสือในคาบูล" ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา[4]