ทรงยศ สุขมากอนันต์ (ชื่อเล่น: ย้ง เกิดวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2516) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ไทย นักเขียนบท อยู่ในกลุ่ม 365 ฟิล์ม มีผลงานภาพยนตร์ที่สำคัญได้แก่ เด็กหอ และ แฟนฉัน รวมถึงมีผลงานซีรีส์ ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น นอกจากนี้ยังได้รับฉายาว่า ผู้กำกับโรคจิต เนื่องจากมีลักษณะเด่นคือ การออกแบบการดำเนินเรื่องแบบหักมุม
ทรงยศจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมต้นจาก โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และมัธยมปลายจาก โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และระดับปริญญาตรีจาก คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาภาพยนตร์และภาพนิ่ง
หลังเรียนจบทรงยศยังไม่มีงานจึงเตร็ดเตร่ที่คณะ 2 ปี โดยรับจ้างเป็นฟรีแลนซ์ถ่ายภาพ
แรกเริ่มเป็นสคริปต์ไรเตอร์ให้กับรายการสารคดีกระจกหกด้าน ทำอยู่ 3 เดือน ก็ขอลาออก[1]
ภายหลังทรงยศได้ตัดสินใจบินไปที่อเมริกาเพื่อไปเป็นเด็กเสิร์ฟที่ซานฟรานซิสโกอยู่ปีกว่า
จนวันหนึ่ง มีเพื่อนของทรงยศแนะนำตำแหน่งผู้ช่วย ผู้กำกับโฆษณาของพี่ต่อ (ธนญชัย ศรศรีวิชัย) โปรดักชั่นเฮาส์ที่ฟีโนมีนา
ต่อมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ทรงยศได้จับมือกับ ปิง-เกรียงไกร วชิรธรรมพร เปิดตัวบริษัท ทาดา เอ็นเทอร์เทนเมนท์เพื่อยกระดับวงการไทยป็อปไปสู่ระดับสากล โดยเตรียมเดบิวต์เกิร์ลกรุ๊ปวงแรกชื่อ MXFRUIT[2]
ภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน
[แก้]
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2546 [4]
- ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (นิธิวัฒน์ ธราธร, ทรงยศ สุขมากอนันต์, คมกฤษ ตรีวิมล, วิทยา ทองอยู่ยง, วิชชา โกจิ๋ว และ อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม)
- สตาร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ อวอร์ด ประจำปี พ.ศ. 2546 [5]
- กำกับภาพยอดเยี่ยม (ทรงยศ สุขมากอนันต์)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นิธิวัฒน์ ธราธร, ทรงยศ สุขมากอนันต์, คมกฤษ ตรีวิมล, วิทยา ทองอยู่ยง, อมราพร แผ่นดินทอง, วิชชา โกจิ๋ว และ อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม)
- ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (นิธิวัฒน์ ธราธร, ทรงยศ สุขมากอนันต์, คมกฤษ ตรีวิมล, วิทยา ทองอยู่ยง, วิชชา โกจิ๋ว และ อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม)
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ภาพยนตร์เรื่อง เด็กหอ
[แก้]
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549 [6]
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชลลดา เตียวสุวรรณ, วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์, ทรงยศ สุขมากอนันต์)
- รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2549 [7]
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เด็กหอ)
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ทรงยศ สุขมากอนันต์)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชลลดา เตียวสุวรรณ, วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์, ทรงยศ สุขมากอนันต์)
- รางวัลสตาร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2549 [8]
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ทรงยศ สุขมากอนันต์)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชลลดา เตียวสุวรรณ, วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์, ทรงยศ สุขมากอนันต์)
- เทศกาลภาพยนตร์ฟาทจ์แห่งอิหร่าน (Fajr Film Festival Iran) ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 1-11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 [9]
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ทรงยศ สุขมากอนันต์) (Crystal Simorgh for Best Director สาขา Competition of Spiritual Cinema (Seeking the Truth))
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ครั้งที่ 57 เยอรมนี (Berlin International Film Festival) พ.ศ. 2550 [10] [11]
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ทรงยศ สุขมากอนันต์) - รางวัลหมีแก้ว (Crystal Bear) สาย Generation Kplus - ตัดสินโดยกรรมการเด็ก 11 คน
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รองอันดับ 1 (ทรงยศ สุขมากอนันต์) - รางวัล Special Mention of Deutsches Kinderhilfswerk (องค์การสนับสนุนเด็กเยอรมัน) สาย Generation Kplus ตัดสินโดยกรรมการผู้ใหญ่ 7 คน จากนานาชาติ
- ทรงยศ ก่อนหน้านั้นในช่วงที่จะมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เคยเป็นคนเขียนสคริปต์รายการสารคดีในช่วงเวลาสั้นๆ 3 เดือน
- และเคยไปใช้ชีวิตเป็นเด็กเสิร์ฟที่ร้านอาหารไทยในซานฟรานซิสโก พร้อมกับ วิชชา (เดียว) หนึ่งในผู้กำกับ “แฟนฉัน”[12] เพราะได้แรงบันดาลใจจากจากละครทีวีในบทบาทของตัวเอกเป็นเด็กเสิร์ฟ[13]