อุตสาหกรรม | กระบวนการหลังการผลิตภาพยนตร์, สื่อสารมวลชน, ภาพยนตร์, โทรทัศน์ |
---|---|
ก่อตั้ง | 1953 |
สำนักงานใหญ่ | |
เจ้าของ | ทอดด์ ซาวดีแล็กซ์ |
เว็บไซต์ | toddsoundelux |
ทอดด์ เอโอ (อังกฤษ: Todd-AO) คือบริษัทให้บริการกระบวนการหลังการผลิตภาพยนตร์ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1953 ให้บริการเกี่ยวกับเสียงให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ แบ่งการให้บริการเป็นสามแห่งในพื้นที่ลอสแอนเจลิส ทอดด์-เอโอยังเป็นชื่อของระบบฟิล์ม 70 มม. สำหรับจอกว้างซึ่งพัฒนาโดย ไมค์ ทอดด์ และ บริษัทออปติคอลอเมริกา ในช่วงกลางทศวรรษ ค.ศ. 1950 ทอดด-เอโอ ในตอนแรกตั้งขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์และให้บริการระบบดังกล่าว
ทอดด์-เอโอเริ่มต้นจากระบบฟิม์มจอกว้างความละเอียดสูง ถูกพัฒนาโดย ไมค์ ทอดด์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตละครบรอดเวย์ โดยความร่วมมือกับบริษัทออปติคอลอเมริกา ในบัฟฟาโล, นิวยอร์ค ช่วงกลางทศวรรศ ค.ศ. 1950 เพื่อผลิตกระบวนการสร้างภาพจอกว้างความละเอียดสูงจากกล้องเดี่ยวแข่งกับระบบซีเนรามา หรือที่จำกัดความโดยผู้พัฒนาว่า "ซีเนรามาในรูเดียว" เนื่องจากระบบซีเนรามาใช้การสร้างภาพจากฟิล์มสามม้วนถ่ายและฉายภาพโดยพร้อมกันและซับซ้อนมาก ในขณะที่ระบบทอดด์-เอโอต้องการเพียงกล้องถ่ายภาพยนตร์เดี่ยวและเลนส์
บริษัทเปลี่ยนวิสัยทัศน์หลังจากการเสียชีวิตอย่างกระทันหันของไมค์ ทอดด์จากอุบัติเหตุบนเครื่องบินเมื่อปี ค.ศ.1958 ระบบทอดด์-เอโอ 70 มม. ถูกนำไปปรับใช้โดยพานาวิชัน, ซิเนรามา และอื่นๆ เมื่อระบบทอดด์-เอโอถูกนำไปใช้น้อยลง จึงจำกัดแนวทางลงเหลือเพียงการผลิตเสียงหลังการผลิตภาพยนตร์ และเป็นผู้ให้บริการผสมเสียงอิสระสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์หลังการซื้อ เกล็น เกล็น ซาวน์ ในปี ค.ศ.1986 ในเดือนพฤษภาคม 2014 ทอดด์ ซาวน์ลักซ์ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของทอดด์-เอโอ ยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ล้มละลายตามบรรพที่ 11[1] บริษัทจึงปิดหน่วยให้บริการในฮอลลีวูดและซานตา มอนิกาตามข้อกำหนดการล้มละลาย เหลือพื้นที่ให้บริการในเบอร์แบงก์[2]
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2014 เครื่องหมายทางการค้า ทอดด์-ซาวด์ลักซ์ (ทอดด์-เอโอ และซาวด์ลักซ์) ถูกซื้อตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง (คำสั่งเขตภาคกลางกรณีที่ 2:14-bk-19980) โดย รอบ โนเกส์ บริษัท Sounddogs.com[3]
ก่อนหน้าที่ฟิล์ม 70 มม. ถูกใช้, มักรู้จักกันจากกระบวนการฟอกซ์ แกรนเดอร์ ในช่วงปี 1929-1930 กระบวนการนี้ไม่สามารถเข้ากันกับระบบทอดด์-เอโอได้เนื่องจากขนาดฟิล์มต่างกัน, รูหนามเตยและประเภทของช่องเสียง ระบบทอดด์-เอโอรวมไอเดียของฟิล์มถ่ายภาพขนาด 65 มม. กับเฟรมภาพสูงขนาด 5 รูหนามเตย กับฟิล์มพิมพ์ขนาด 70 มม. และเสียงจากแถบแม่เหล็กซึ่งปรากฎครั้งแรกในระบบซีเนมาสโคป แม้จะมีช่องเสียงถึง 6 ช่องและคุณภาพสูงขึ้นมากแล้ว แต่ฟิล์ม 70 มม. ยังเพิ่มขอบฟิล์มอีก 2.5 มม. ทั้งสองด้านเพื่อช่องเสียงเพิ่มเติม ทำให้ฟิล์มพิมพ์มีรูหนามเตยที่ระยะ 65 มม. และฟิล์มสีกลับ 65 มม. สามารถพิมพ์ฟิล์มพิมพ์ 70 มม. ได้โดยตรงเพราะรูหนามเตยตรงกัน
ทอดด์-เอโอมีเลนส์มุมมองภาพขนาด 128, 64, 48 หรือ 37 องศาให้เลือก โดยฉายภาพลงฟิล์มสีกลับขนาด 65 มม. และภาพจะพิมพ์ลงบนฟิล์มพิมพ์ขนาด 70 มม. (ใหญ่กว่า 5 มม. เพื่อให้ครอบคลุมช่องเสียง) สำหรับฉายภาพยนตร์ มีอัตราส่วนภาพที่ 2.20:1
การใช้ภาพถ่ายขนาด 65 มม. และการพิมพ์ที่ 70 มม. กลายเป็นมาตรฐานที่ประยุต์โดยบริษัทอื่น เช่นซูเปอร์พานาวิชัน 70 (ซึ่งที่จริงคือระบบทอดด์-เอโอ ของบริษัทพานาวิชัน) และอัลตราพานาวิชัน 70 (กระบวนการเดียว แต่ภาพบีบลงแบบไม่สมมาตรเหลือ 1.25:1 เพื่อให้สามารถฉายภาพอัตราส่วนกว้างยิ่งยวดได้) ต่างก็ใช้กระบวนการ 65/70 เช่นกัน
ระบบไอแมกซ์ก็ใช้กล้องและฟิล์มสีกลับขนาด 65 มม. เพื่อพิมพ์ลงบนฟิล์ม 70 มม. เพื่อฉาย (เป็นที่รู้จักในชื่อกระบวนการ 65/70) สอดคล้องกับมาตรฐานฟิล์ม 70 มม. ซึ่งเริ่มต้นโดยทอดด์-เอโอเมื่อกลางทศวรรศ 1950 เฟรมภาพของไอแมกซ์ยาว 15 รูหนามเตยและฉายทางขวางผ่านเครื่องฉาย ในขณะที่เฟรมภาพของทอดด์-เอโอ สูงเพียง 5 รูหนามเตยและฉายทางตั้งผ่านเครื่องฉาย[4]
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของสหภาพโซเวียตก็ลอกระบบนี้ไปใช้กับระบบโซโวสโคป 70 ของตัวเอง ซึ่งเหมือนกันทุกประการ ยกเว้นกล้องถ่ายฯ และฟิล์มพิมพ์ก็ใช้ฟิล์มกว้าง 70 มม. ทั้งคู่
รูปแบบเริ่มต้นของระบบทอดด์-เอโอมีความเร็วที่ 30 เฟรมต่อวินาที เร็วกว่ามาตรฐานที่ 24 เฟรมต่อวินาที แม้จะไม่ต่างมาก แต่ความไวของสายตามนุษย์ที่ต่อต้านการกระพริบภาพที่สูงลิ่วและการปรับแต่งเล็กน้อยทำให้ฟิล์มดูกระพริบน้อยลง และทำให้ภาพเสถียรและนิ่มนวลกว่าระบบมาตรฐาน ระบบเดิมสร้างภาพที่ "เข้มข้นกว่าอื่นใดที่เคยเห็นบนจอ เร่าร้อนเสียจนต้องทำให้สงบเมื่อผ่านเครื่องฉายภาพยนต์ระบบทอดด์-เอโอ".[5]
มีเพียงสองเรื่องแรกของภาพยนต์ระบบทอดด์-เอโอ ได้แก่ โอกลาโฮมา! และ 80 วันรอบโลก ที่ฉายด้วยความเร็ว 30 เฟรมต่อวินาที เนื่องจากระบบดั้งเดิมต้องการภาพที่ 24 เฟรมต่อวินาที ทุกฉากต้องถ่ายสองครั้ง ครั้งแรกด้วยระบบทอดด์-เอโอและอีกครั้งด้วยฟิล์มซีเนมาสโคป 35 มม. เรื่องต่อๆ มาจึงถ่ายด้วยฟิล์มระบบทอดด์-เอโอ 65 มม. พร้อมกัน โดยให้กล้องที่สองมีความเร็วที่ 24 เฟรมต่อวินาทีเพื่อฉายภาพจอกว้างโดยลดจำนวนฟิล์มพิมพ์ลง และพิมพ์ลงบนฟิล์มพิมพ์ 35 มม. เพื่อให้ตรงความต้องการของระบบดั้งเดิม[6] โดยรวมแล้ว มีภาพยนตร์ฉายในระบบทอดด์-เอโอทั้งหมด 16 เรื่อง
ระบบทอดด์-เอโอถูกพัฒนาและทดสอบในบัฟฟาโล นิวยอร์คที่โรงภาพยนตร์รีเกนต์ ริชาร์ด โรเจอร์และออสการ์ แฮมเมอสเตน ที่สอง เคยไปชมภาพทดสอบของทอดด์-เอโอจนถูกยอมรับนำไปใช้ในเรื่อง โอกลาโฮมา! ส่วนระบบเสียงของทอดด์-เอโอพัฒนาโดยวิศกรบริษัทแอมเพ็กซ์ซึ่งภายหลังนำไปผลิตระบบเสียง รวมถึงระบบเสียงสี่ช่องเลือกได้ของซีเนมาสโคปหรือหกช่องของทอดด์-เอโอ หรือสี่ช่องแบบประสานหรือหกช่องประสานหรือระบบเสียงจากแสง
ทอดด์-เอโอยังมีระบบฟิล์ม 35 มม. ไม่สมมาตร ซึ่งในทางเทคนิคเหมือนกับฟิล์ม 35 มม. ของพานาวิชันหรือซีเนมาสโคป ซึ่งอาจทำให้สับสนได้ถ้าเครดิตทอดด์-เอโอปรากฎบนภาพยนตร์จอกว้างที่ผลิตในทศวรรศ 1970 ถึง 1980 และยิ่งสับสนกับระบบ 70 มม. ซึ่งทำสำหรับภาพยนตร์ที่มีมัลติเพล็กซ์ อย่าง ดูน และ โลแกน รัน.
ในช่วงปลายทศวรรศ 1970 ถึงต้นทศวรรศ 1990 ภาพยนตร์ที่ถ่ายด้วยฟิล์มขนาด 65 มม. หาได้ยาก อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงบางเรื่องที่มีฟิล์มพิมพ์ 70 มม. จะสร้างจากการขยายภาพจากฟิล์มสีกลับ 35 มม. ส่วนใหญ่เพื่อใช้ประโยชน์จากระบบเสียงหกช่อง และใช้ในโรงภาพยนตร์ในเมืองใหญ่ไม่กี่แห่งในขณะที่อื่นจะรับชมผ่านฟิล์ม 35 มม. พัฒนาการของระบบเสียงดิจิทัลหลายช่องเสียงในช่วงทศวรรศ 1990 ทำให้ระบบฟิล์มราคาแพงดังกล่าวหายไป กระนั้น ระบบภาพอัตราส่วน 1.85:1 ก็เคยนำมาพิมพ์บนฟิล์ม 70 มม. เช่นกัน แต่ปล่อยให้ขอบภาพที่เหลือมืดลงไป