โครงข่ายทางด่วนของประเทศกัมพูชา | |
---|---|
![]() ![]() ป้ายหมายเลขของทางด่วนพนมเปญ–บาเว็ต และทางด่วนพนมเปญ–พระสีหนุ | |
ข้อมูลของระบบ | |
บำรุงรักษาโดย กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง | |
ระยะทาง | 190.6 กิโลเมตร (2022) (118.4 ไมล์) |
ทางด่วนในประเทศกัมพูชา ในปัจจุบันประกอบด้วยทางด่วนที่เปิดให้บริการแล้ว 1 สาย อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 สาย และอีก 1 สายอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาโครงข่ายทางด่วนไว้ 3 ประการ ได้แก่[1]
ทางด่วนสายแรกคือ ทางด่วนพนมเปญ–พระสีหนุ ได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท China Road and Bridge Corporation มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้สัญญาก่อสร้าง-ดำเนินการ-ถ่ายโอน (build-operate-transfer หรือ BOT)[2]
ทางด่วนสายนี้ประกอบด้วยทิศทางละ 2 ช่องจราจร รวม 4 ช่องจราจร และมีการจำกัดความเร็วไว้ที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง) สำหรับยานพาหนะขนาดเล็ก 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (62 ไมล์ต่อชั่วโมง) สำหรับรถบรรทุกสองเพลา รถประจำทาง และรถจักรยานยนต์ และ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง) สำหรับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ และกำหนดความเร็วขั้นต่ำไว้ที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (37 ไมล์ต่อชั่วโมง) สำหรับยานพาหนะทุกชนิด[3] ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาการเดินทางระหว่างพนมเปญกับพระสีหนุลดลงครึ่งหนึ่งจาก 6 ชั่วโมง[4]
ทางด่วนสายนี้เปิดทดลองให้บริการโดยไม่เสียค่าผ่านทาง 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2022 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2022[5]
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022[6] สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อสร้างทางด่วนพนมเปญ–บาเว็ต ระยะทาง 138 กิโลเมตร
ทางด่วนสายที่ 2 สายพนมเปญ–บาเว็ต อยู่ระหว่างการศึกษาและวางแผนโดยบริษัท China Road and Bridge Corporation และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023[7] ทางด่วนสายนี้จะมีความยาว 138 กิโลเมตร กว้าง 25.5 เมตร ประกอบด้วย 4 ช่องจราจร (ทิศทางละ 2 ช่องจราจร)
ทางด่วนพนมเปญ–บาเว็ต คาดว่าจะช่วยส่งเสริมการขนส่งและการนำเข้า-ส่งออกระหว่างกัมพูชาและเวียดนาม ลดต้นทุนและระยะเวลาการขนส่งระหว่างทั้งสองประเทศ
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2023 สมเด็จฮุนเซนได้ประกาศอย่างเป็นทางการและเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ทางด่วนพนมเปญ–บาเว็ต ระยะทาง 135.10 กิโลเมตร[8] การก่อสร้างทางด่วนสายนี้จะดำเนินการโดยบริษัท China Road and Bridge Corporation โดยมีกำหนดเวลาการก่อสร้าง 48 เดือน และมีกำหนดแล้วเสร็จใน ค.ศ. 2027
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2023 กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งของกัมพูชา ได้ประกาศในจดหมายถึงหน่วยงานระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของทางด่วนพนมเปญ–เสียมราฐ[9] การประกาศดังกล่าวได้รับการตอบรับอย่างดีจากสาธารณชน เนื่องจากเสียมราฐเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวกัมพูชา และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 6 ปัจจุบันเป็นถนนที่มีการจราจรหนาแน่นที่สุดสายหนึ่งในประเทศกัมพูชา เนื่องจากมีเส้นทางผ่านจังหวัดที่มีประชากรจำนวนมาก เช่น จังหวัดกำปงจาม จังหวัดกำปงธม และจังหวัดเสียมราฐ
ควบคู่ไปกับการเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สำหรับทางด่วนพนมเปญ–บาเว็ต สมเด็จฮุนเซนยังได้ประกาศถึงความเป็นไปได้ของทางด่วนพนมเปญ–เสียมราฐ–ปอยเปต[10] ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์[11] โครงการทางด่วนพนมเปญ–เสียมราฐ–ปอยเปต เป็นโครงการทางด่วนสายที่ 3 ของกัมพูชาที่จะผ่าน 5 จังหวัดหลัก ได้แก่ พนมเปญ จังหวัดกันดาล จังหวัดกำปงจาม จังหวัดกำปงธม และจังหวัดเสียมราฐ โดยมีระยะทางรวมประมาณ 400 กิโลเมตร
หมายเลข | ป้าย | ชื่อ | ชื่อภาษาเขมร | เริ่มต้น | สิ้นสุด | ระยะทาง | เริ่มก่อสร้าง | สถานะการดำเนินงาน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
E1 | ![]() |
ทางด่วนพนมเปญ–บาเว็ต | ផ្លូវល្បឿនលឿនភ្នំពេញ-បាវិត | พนมเปญ | บาเว็ต | 138 กิโลเมตร (86 ไมล์)[12] | มิถุนายน ค.ศ. 2023 | เริ่มก่อสร้างมิถุนายน ค.ศ. 2023 |
E4[13] | ![]() |
ทางด่วนพนมเปญ–พระสีหนุ | ផ្លូវល្បឿនលឿនភ្នំពេញ-ព្រះសីហនុ | พนมเปญ | พระสีหนุ | 190.6 กิโลเมตร (118.4 ไมล์)[14] | มีนาคม ค.ศ. 2019 | เปิดให้บริการตุลาคม ค.ศ. 2022 |
E6 | ทางด่วนพนมเปญ–เสียมราฐ–ปอยเปต | ផ្លូវល្បឿនលឿនភ្នំពេញ-សៀមរៀប-ប៉ោយប៉ែត | พนมเปญ | ปอยเปต | ประมาณ 400 กิโลเมตร (248.5 ไมล์)[15] | รอการพิจารณา | อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด เริ่มศึกษามิถุนายน ค.ศ. 2023 |