ทิ้งถ่อน

ทิ้งถ่อน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Mimosoideae
เผ่า: Ingeae
สกุล: Albizia
สปีชีส์: A.  procera
ชื่อทวินาม
Albizia procera
(Roxb.) Benth.

ทิ้งถ่อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Albizia procera) เป็นพืชในสกุลถ่อน วงศ์ย่อยสีเสียด ลักษณะเป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 15–30 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียนหรือเรียงตรงข้าม 4–11 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขนาด 1.5–2.5 × 3–5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาว รวมเป็นกระจุก ขนาด 1.3–2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบ ปลายแยกแฉก เกสรเพศผู้จำนวนมาก โคนก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดรังไข่เหนือวงกลีบ มี 1 ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ออกเดือนเดือนพฤษภาคม–สิงหาคม ผลเป็นฝักแบนแห้งแตก รูปขอบขนาน ขนาด 2–2.5 × 10–15 เซนติเมตร เมื่อแก่มีสีน้ำตาล ภายในมี 6–12 เมล็ด เมล็ดนูนรูปไข่ ฝักจะแก่เดือนตุลาคม–ธันวาคม[1][2]

ทิ้งถ่อนมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย[3] โดยพบได้ในป่าฝน ป่าพรุ หรือทุ่งหญ้า[4] เนื้อไม้มีความเหนียวทนทาน ใช้ในการสร้างบ้านเรือน เครื่องเรือน และของใช้ เปลือกต้นมีรสร้อน ใช้ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก่นมีสรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ริดสีดวงทวาร[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ทิ้งถ่อน (Albizia procera (Roxb.) Benth.) - ฐานข้อมูล". กรมป่าไม้. สืบค้นเมื่อ March 8, 2020.[ลิงก์เสีย]
  2. "ถ่อน (Albizia procera) - สวนพฤกษศาสตร์ชายแดนภาคใต้". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-07. สืบค้นเมื่อ March 8, 2020.
  3. "Albizia procera (Roxb.) Benth. - Plants of the World Online". Kew Science. สืบค้นเมื่อ March 8, 2020.
  4. "Albizia procera". The IUCN Red List of Threatened Species. สืบค้นเมื่อ March 8, 2020.
  5. "ทิ้งถ่อน - สรรพคุณและประโยชน์". Medthai. สืบค้นเมื่อ March 8, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ทิ้งถ่อน
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Albizia procera ที่วิกิสปีชีส์