ที่

ภาพวาดของช่างฝีมือทำ ที่ พ.ศ. 2440

ที่ (พม่า: ထီး; เอ็มแอลซีทีเอส: hti:, ออกเสียง: [tʰí]; มอญ: ဍိုၚ်, ออกเสียง: [daŋ]; ไทใหญ่: ထီး, ออกเสียง: [tʰi˦]) ในภาษาพม่าหมายถึงฉัตรหรือร่ม เป็นชื่อเครื่องประดับยอดบนสุดของเจดีย์พม่า[1] อันเป็นสัญลักษณ์มงคลในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู

เครื่องราชกกุธภัณฑ์

[แก้]
ภาพวาดพม่าแสดงถึงฉัตรสีขาวที่ใช้เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์

ในพม่าก่อนช่วงอาณานิคม ที่ เป็นตัวบ่งชี้สถานะทางสังคมและใช้โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตอย่างชัดเจนเท่านั้น ฉัตรขาว (ที่พยูดอ, ထီးဖြူတော်) เป็นหนึ่งในห้าเครื่องราชกกุธภัณฑ์พิธีราชาภิเษก (มี่น-มเยาะดะซา, မင်းမြောက်တန်ဆာ)[2]

การใช้และครอบครองฉัตรขาวนั้นจำกัดไว้เฉพาะกษัตริย์และพระอัครมเหสีเท่านั้น ในขณะที่ข้าราชการระดับสูง (วูน, ဝန်) และเจ้าชาย (รวมทั้งมกุฎราชกุมารหรือพระมหาอุปราช) ครอบครองฉัตรสีทอง และเจ้าหน้าที่ระดับล่างครอบครองฉัตรสีแดงถ้ามี[3][4][5]

ฉัตรขาวเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจอธิปไตย[5] การใช้ฉัตรขาวโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กษัตริย์และพระอัครมเหสีถือเป็นการประกาศกบฏ โดยมีโทษประหารชีวิตทันที[6] เมื่อกษัตริย์สวรรคตจะมีการหักฉัตรขาวที่ทรงครอบครอง[5] ฉัตรขาวยังได้รับอนุญาตให้ใช้ในทางศาสนาด้วย[3] เช่น เดิมพระมหามัยมุนีมีฉัตรขาวบังไว้[7]

ฉัตรประดับทั้งด้านในและด้านนอกด้วยรูปเหล่าชาวสรรค์จากทอง แผ่นทองคำบาง ๆ ที่คล้ายใบโพประดับไว้ด้านบน และด้ามจับทองคำประดับด้วยไข่มุก เพชร ทับทิม มรกต ปะการัง และเครื่องประดับแวววาว[8] ฉัตรที่กษัตริย์ใช้ทรงช้างหรือทรงรถม้าเรียกว่า ยีนที่[8]

จำนวนฉัตรที่ครอบครองยังเป็นเครื่องบ่งชี้สถานะทางสังคม เนื่องจากฉัตรเหล่านี้ถูกแสดงในระหว่างขบวนแห่ในที่สาธารณะ และนำไปประดับไว้ในสถานที่สำคัญ ๆ ในพระราชวัง กษัตริย์มีฉัตรขาวเก้าองค์ มกุฎราชกุมารมีฉัตรทองแปดคัน รัฐบุรุษผู้มีชื่อเสียงและแม่ทัพมีฉัตรทองหลายคัน ตามที่พระราชทานจากจำนวนความสำเร็จหรือเป็นที่นับถือของกษัตริย์ ช้างเผือกหลวง (ซีน-พยูดอ, ဆင်ဖြူတော်) ได้รับฉัตรหกคัน คือฉัตรขาวสองคันและฉัตรทองสี่คัน[6]

ชเวโบนนิด้าน เป็นบทความเรื่องของพระราชวัง อธิบายฉัตรของราชวงศ์ 11 ประเภทและเทพารักษ์หญิงที่เกี่ยวข้อง (นะตะมี่, နတ်သ္မီး) ซึ่งคอยพิทักษ์ฉัตรเหล่านี้[8]

บนเจดีย์

[แก้]
ที่ บนยอดเจดีย์ชเวดากอง

อาจกล่าวได้ว่า ที่ เป็นลักษณะเด่นหลักของเจดีย์พม่า เนื่องจากมีความโดดเด่นมากกว่าเจดีย์ในศรีลังกา ลาว และไทย ที่มักไม่มีการประดับฉัตรบนยอดเจดีย์ ส่วนปลายของ ที่ ซึ่งประดับด้วยอัญมณีมีค่า เรียกว่า เซนพู่ดอ (စိန်ဖူးတော်) ที่ มักพบบนเจดีย์ที่สร้างโดยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสี่กลุ่มของประเทศพม่า ได้แก่ มอญ พม่า ยะไข่ และไทใหญ่

ที่ ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเจดีย์ จึงมีพิธีพิเศษเมื่อมีการประดับ เรียกว่า ที่ทิน-ปแว (ထီးတင်ပွဲ)

ที่ มักประดับบนยอดเจดีย์และแขวนพร้อมระฆังจำนวนมาก[9] ที่ บนเจดีย์สำคัญมักทำด้วยทองหรือเงินทั้งหมด[9] ระฆังใช้เพื่อดึงดูดเหล่าเทวดา ที่สถิตบนเขาพระสุเมรุและในดาวดึงส์[9]

ตัวอย่าง

[แก้]

ที่ บนวิหารในพุกามและมเยาะอู้ ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ทางโบราณคดีสองแห่งของประเทศพม่าล้วนทำด้วยหิน ในขณะที่เจดีย์ที่นั่นและที่อื่น ๆ ทั่วพม่าทำด้วยโลหะ มักใช้เป็นเหล็กหรือเหล็กกล้าชุบทอง จากนั้นตกแต่งด้วยทอง ทองชุบและระฆังสัมฤทธิ์ (ခေါင်းလောင်း) ตามด้วยเครื่องประดับที่ได้รับบริจาคจากผู้ศรัทธา

ที่ บนยอดเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้งสูงประมาณหนึ่งชั้นครึ่งและมีทองคำประมาณครึ่งตัน[10][11] และประดับด้วยเพชรมากกว่า 5,500 เม็ด ทับทิม 2,300 เม็ด ไพลินและอัญมณีอื่น ๆ และระฆังทอง 4,000 ใบ[10] ที่ คันเก่าซึ่งได้รับการถวายโดยพระเจ้ามินดงสามารถพบได้ที่บริเวณเจดีย์ เป็นงานเหล็กเคลือบทอง โดยแต่ละห่วงแขวนระฆังทองและเงินประดับอัญมณีมากมาย[12] และมีราคาไม่ต่ำกว่า 50,000 ปอนด์อังกฤษ[12] ถูกสร้างขึ้นโดยแรงงานที่สมัครใจ โดยใช้เงินและอัญมณีที่ได้รับบริจาค[12] ใบพัดและแถบบนสุดประดับอย่างวิจิตรด้วยอัญมณีที่มาจากทุกภาคส่วนของพม่า[12]

ร่มพะสิม

[แก้]

เมืองพะสิม เขตปากแม่น้ำอิรวดี ในพม่าตอนล่าง มีชื่อเสียงในเรื่องร่มผ้าฝ้ายสีสันสดใส ซึ่งเรียกว่า "ร่มพะสิม" (ပုသိမ်ထီး) เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้าน[13]

คลังภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Scott 1882.
  2. Nisbet 1901, p. 204.
  3. 3.0 3.1 Scott 1882, p. 330.
  4. Scott 1882, p. 410.
  5. 5.0 5.1 5.2 Nisbet 1901, p. 104.
  6. 6.0 6.1 Scott 1882, p. 488.
  7. Scott 1882, p. 170.
  8. 8.0 8.1 8.2 Scott 1900, p. 153.
  9. 9.0 9.1 9.2 Scott 1882, p. 205.
  10. 10.0 10.1 Ranger, Peter (10 April 2014). "Their weight in gold: How material wealth creates spiritual energy in some of the world's costliest holy places". Myanmar Times.
  11. Win Maung (Tampawaddy) (October 2010). "The Ancestral Stupas of Shwedagon" (PDF). International Buddhist Conference.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 Scott 1882, p. 162.
  13. Guides, Rough (2017-11-02). The Rough Guide to Myanmar (Burma) (Travel Guide eBook) (ภาษาอังกฤษ). Rough Guides UK. ISBN 978-0-241-33214-6.

บรรณานุกรม

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]