ทูนิกา อัลบูจิเนียของอัณฑะ | |
---|---|
![]() แผนภาพแสดงองค์ประกอบส่วนใหญ่ของอัณฑะมนุษย์วัยผู้ใหญ่ ประกอบด้วย: 1. ทูนิกา วาจินาลิส, 2. ผนังกั้นอัณฑะ, 3. กลีบย่อยอัณฑะ, 4. ผนังกลางอัณฑะ, 5. หลอดสร้างอสุจิ, 6. ทูบูลี เซมินิเฟรี เรกติ, 7. รีตีเทสทิส, 8. ท่อขับ, 9a. หัวของเอพิดิไดมิส, 9b. ตัวของเอพิดิไดมิส, 9.c หางของเอพิดิไดมิส, 10. หลอดนำอสุจิ, 11a. ทูนิกา วาจินาลิส (ผิวฝั่งนอกอวัยวะ), 11b. ทูนิกา วาจินาลิส (ผิวฝั่งในอวัยวะ) และ 12. ช่องของทูนิกา วาจินาลิส | |
![]() ภาพตัดขวางของอัณฑะ[วัว]]โดยหลอดเลือดถูกฉีดด้วยสีเจลาตินแดง 1. พาเรงไคมา, 2 ผนังกลางอัณฑะ, 3 ทูนิกา อัลบูจินี, 4 หางของเอพิดิไดมิส, 5 หัวของเอพิดิไดมิส, 6 สายรั้งอัณฑะพร้อมหลอดเลือดแดงอัณฑะ | |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | tunica albuginea testis |
FMA | 19843 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
ทูนิกา อัลบูจิเนีย (ละติน: tunica albuginea) เป็นเนื้อเยื่อเส้นใยที่ทำหน้าที่ปกคลุมอัณฑะ มีลักษณะเป็นเยื่อสีน้ำเงินอมเทาที่แน่น ประกอบด้วยมัดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเส้นใยสีขาว อันเป็นที่มาของชื่อ albuginea ซึ่งสอดประสานกันในทุกทาง
ทูนิกา อัลบูจิเนียเป็นชั้นของเนื้อเยื่อเส้นใยที่ห่อหุ้มอัณฑะ[1] โดยถูกปกคลุมด้วยทูนิกา วาจินาลิส ยกเว้นในจุดที่เอพิดิไดมิสยึดเกาะกับอัณฑะ และตามแนวขอบด้านหลังซึ่งเป็นบริเวณที่หลอดต่าง ๆ ภายสายรั้งอัณฑะเข้าสู่อัณฑะ โดยทูนิกา อัลบูจิเนียนี้มีความหนากว่าทูนิกา อัลบูจิเนียของรังไข่[2]
ทูนิกา อัลบูจิเนียนั้นรวมเข้ากับทูนิกา วาสคูโลซาบริเวณเหนือเหนือต่อมปล่อยสารของอัณฑะ และที่ขอบด้านหลังจะหันเข้าหาด้านในของต่อม ทำให้เกิดเป็นแนวผนังกั้นแนวตั้งที่ไม่สมบูรณ์ขึ้น เรียกว่า ผนังกลางอัณฑะ (คอร์ปุส ไฮโมริ)
บทความนี้รวมเอาข้อความซึ่งเป็นสาธารณสมบัติจากหน้าที่ 1242 ของหนังสือเกรย์อนาโตมีฉบับพิมพ์ครั้งที่ 20 (ค.ศ. 1918 )