ท่าช้างในปี พ.ศ. 2550 | ||||||||||||||
ประเภท | ท่าเรือโดยสาร | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภทเรือ | เรือด่วน, เรือข้ามฟาก, เรือหางยาว | |||||||||||||
โครงสร้างท่า | สะพานเหล็กปรับระดับพร้อมทางเดินเชื่อม 6 ชุด | |||||||||||||
ที่ตั้ง | เขตพระนคร, กรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา | |||||||||||||
ชื่อทางการ | ท่าช้าง (โดยกรมเจ้าท่า) | |||||||||||||
เจ้าของ | กรมเจ้าท่า | |||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | • เรือด่วนเจ้าพระยา • เรือโดยสารไมน์สมาร์ทเฟอร์รี่ | |||||||||||||
ค่าโดยสาร | • เรือด่วนเจ้าพระยา ธงส้ม16 บาทตลอดสาย | |||||||||||||
ข้อมูลเฉพาะ | ||||||||||||||
รหัสท่า | น9 (N9) | |||||||||||||
โครงสร้างหลัก | โป๊ะลอยน้ำ 6 โป๊ะ (ด้านเหนือ 2 โป๊ะ ด้านใต้ 4 โป๊ะ) | |||||||||||||
ความยาว | 10 เมตร (ด้านเหนือ) 12 เมตร (ด้านใต้) | |||||||||||||
ความกว้าง | 5 เมตร (ด้านเหนือ) 6 เมตร (ด้านใต้) | |||||||||||||
|
ท่าช้างวังหลวง หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ท่าช้าง (อังกฤษ: Tha Chang Pier; รหัส: น9, N9) เป็นท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บริเวณสุดถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พื้นที่แถบนี้ถูกเรียกว่า "ท่าพระ" หรือ "ประตูท่าพระ" เนื่องจากเป็นประตูที่ใช้อัญเชิญพระศรีศากยมุนี มาเพื่อประดิษฐานไว้ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร แต่ทว่าไม่สามารถอัญเชิญเข้าได้ จึงมีการรื้อประตูและกำแพงวังบางส่วนออก แต่ทว่าชื่อนี้ไม่ใคร่เป็นที่เรียกติดปากของผู้คนมากเท่า "ท่าช้าง" ซึ่งเป็นจุดเดียวกับบริเวณประตูเมืองที่นำช้างซึ่งเลี้ยงไว้ในพระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังหลวง เพื่อลงอาบน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเรียกกันว่า "ท่าช้างวังหลวง" ต่อมาใน พ.ศ. 2351 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากสุโขทัยมาทางแพเพื่อมาประดิษฐานที่วัดสุทัศนเทพวราราม และพักแพที่ท่าช้างวังหลวงเพื่อประกอบพระราชพิธีสมโภชเป็นเวลา 3 วัน แต่พระพุทธรูปไม่สามารถผ่านประตูเมืองบริเวณนี้ได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อประตูและกำแพงบางส่วนออก แล้วสร้างประตูใหม่พระราชทานนามว่า "ประตูท่าพระ" แต่ประชาชนยังคงนิยมเรียกกันว่า ท่าช้าง หรือท่าช้างวังหลวง ปัจจุบันเป็นท่าเรือข้ามฟากซึ่งเอกชนได้เช่าจากกรุงเทพมหานครมาดำเนินการ ส่วนท่าพระปัจจุบันใช้เรียกท่าเรือบริเวณใกล้เคียงท่าช้างวังหลวง และยังเป็นชื่อวังท่าพระที่ตั้งอยู่บริเวณท่าช้างวังหลวงซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศิลปากร
บ้านเรือนและอาคารพาณิชย์แถบท่าช้างวังหลวง เป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก หลังคาชั้นบนทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องว่าวซีเมนต์ ชั้นล่างด้านหน้า อาคารมีกันสาดมุงด้วยสังกะสีลอนลูกฟูก โดยมีค้ำยันเหล็กและแปไม้รับน้ำหนัก ผนังและเสาอิงภายนอกทั้งสองชั้น มีลวดบัวปูนปั้นตกแต่งและเซาะร่องผนังเป็นเส้นตามแนวนอน ทั้งหมด ประตูและหน้าต่างทำจากไม้สัก โดยประตูหน้าของชั้นล่างเป็นชุดบานเฟี้ยม ตอนบนมีช่องลม ส่วนด้านหลังเป็นบานลูกฟักทึบแบบเปิดคู่หน้าต่างชั้นบนด้านหน้าเป็นบานลูกฟักทึบแบบเปิดคู่ตอนบนมีช่องลมไม้ฉลุลายรูปโค้ง ส่วนหน้าต่างด้านหลังเป็นบานเปิดคู่รูปสี่เหลี่ยม ไม่มีช่องลม บริเวณห้องริมสุดของอาคารแต่ละด้านรวมทั้งห้องมุมถนนมหาราชจะมีลักษณะพิเศษ คือ รูปด้านอาคารทำเป็นมุขยื่น มุขชั้นล่างมีเสาลอยขึ้นไปรับระเบียงชั้นบน กันสาดชั้นล่างเป็นรูปโค้ง ส่วนแผงหน้าจั่วประดับลวดลายปูนปั้น หรือซุ้มสกัดตอน และกรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน อาคารพาณิชย์ริมถนนมหาราชบริเวณท่าช้างวังหลวงจำนวน 34 คูหา เมื่อปลายปี พ.ศ. 2544 และได้มีการบูรณะปรับปรุงใหม่ให้ดูแลสวยงามและใหม่ หลังจากที่ได้เสื่อมทรุดไปกับกาลเวลา พร้อมกับได้ปรับปรุงภูมิทัศน์รอบ ๆ ด้วย [1]
ท่าช้าง, รหัส: น9 (อังกฤษ: Tha Chang Pier, code: N9)[2]
ท่าช้าง ประกอบด้วย 2 โป๊ะ แยกกันให้บริการในเส้นทางท่าช้าง-วังหลัง และท่าช้าง-วัดระฆัง[2]
ให้บริการเรือโดยสารในเส้นทางท่าช้าง-บางใหญ่ ผ่านคลองบางกอกน้อย, เส้นทางคลองมอญ และให้บริการเรือนำเที่ยวในเส้นทางคลองฝั่งธนบุรี และเกาะเกร็ด ของเรือด่วนเจ้าพระยา[2]