ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ–อังกอร์ Siem Reap–Angkor International Airport អាកាសយានដ្ឋានអន្តរជាតិសៀមរាប-អង្គរ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||
เจ้าของ | การท่าอากาศยานกัมพูชา | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | Yunnan Aviation Industry Investment Group | ||||||||||
พื้นที่บริการ | เสียมราฐ, กัมพูชา | ||||||||||
ที่ตั้ง | สูทรนิคม, จังหวัดเสียมราฐ, กัมพูชา | ||||||||||
เปิดใช้งาน | 16 ตุลาคม ค.ศ. 2023 (1 ปี) [1][2] | ||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||
เมืองสำคัญ | |||||||||||
พิกัด | 13°22′31″N 104°13′15″E / 13.37528°N 104.22083°E | ||||||||||
เว็บไซต์ | english.sai-airport.com | ||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
|
ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ–อังกอร์ (เขมร: អាកាសយានដ្ឋានអន្តរជាតិសៀមរាបអង្គរ; อากาสยานฐานอนฺตรชาติเสียมราบองฺคร; อังกฤษ: Siem Reap–Angkor International Airport, ฝรั่งเศส: Aéroport International de Siem Reap-Angkor) ตั้งอยู่ที่อำเภอสูทรนิคม จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ของเมืองเสียมราฐ อยู่ห่างจากด็อมแด็กทางตะวันออกเฉียงเหนือ 18 กิโลเมตร อยู่ห่างจากนครวัดทางตะวันออก 40 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมราฐทางตะวันออก 50 กิโลเมตร โดยสร้างขึ้นเพื่อทดแทนท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐเดิมที่มีขนาดคับแคบไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น การเปิดให้บริการท่าอากาศยานนั้น ทำให้ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ–อังกอร์เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชา[3]
จากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มตัวขึ้น ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐที่มีอยู่เดิมจะไม่สามารถรับมือกับผู้โดยสารที่มากขึ้นได้ เนื่องจากอาคารผู้โดยสารที่มีอยู่มีขนาดเล็ก โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 10 ล้านคนต่อปีเท่านั้น รัฐบาลกัมพูชาจึงตัดสินใจสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ทดแทนท่าอากาศยานเดิมในเสียมราฐ โครงการนี้เปิดตัวครั้งแรกในปี 2010 และได้เลือกบริษัท Yunnan Investment Holdings Limited สัญชาติจีนในการก่อสร้างท่าอากาศยานในเดือนธันวาคม 2016 ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ–อังกอร์มีการก่อสร้างภายใต้ข้อตกลงการสร้าง-ปฏิบัติการ-โอน 55 ปี[4]
การก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ–อังกอร์จะแบ่งเป็นสามระยะ มูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ บนพื้นที่ 700 เฮกตาร์ ท่าอากาศยานมีอาคารผู้โดยสารพร้อมสะพานเทียบเครื่องบิน 15 แห่ง อาคารขนส่งสินค้า หอควบคุมการจราจรทางอากาศ ทางวิ่งยาว 3,605 เมตรพร้อมทางขับคู่ขนาน ในระยะแรกอาคารผู้โดยสารสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 7 ล้านคนต่อปี[5]
ในระยะแรก ท่าอากาศยานจะมีทางวิ่งที่รองรับอากาศยานลำตัวแคบเช่น โบอิง 737 และแอร์บัส เอ320 โดยจะขยายเพิ่มเติมเพื่อรองรับอากาศยานลำตัวกว้าง เช่นโบอิง 747, โบอิง 777, โบอิง 787, แอร์บัส เอ330 และแอร์บัส เอ350 และจะเพิ่มความจุของท่าอากาศยานเป็น 12 ล้านคนต่อปีภายในปี 2030[6] ระยะที่ 3 ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2050 จะเพิ่มความจุผู้โดยสารรวมเป็นกว่า 20 ล้านคนต่อปี สนามบินมีแผนจะเชื่อมต่อกับทางด่วนท่าอากาศยานโดยตรงจากตัวเมือง[7][3] สามารถรองรับการขนส่งสินค้าทางอากาศได้ 10,000 ตันต่อปีตั้งแต่ปี 2566 และ 26,000 ตันต่อปีตั้งแต่ปี 2583
ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ–อังกอร์มีสายการบินที่ให้บริการเส้นทางดังนี้:
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง
|
---|---|
แอร์เอเชีย | กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ[8] |
แอร์เอเชียแคมโบเดีย | พนมเปญ, พระสีหนุ[9],กรุงเทพฯ-ดอนเมือง อนาคต |
บางกอกแอร์เวย์ส | กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ[10] |
แคมโบเดียอังกอร์แอร์ | ดานัง, ฮานอย, นครโฮจิมินห์, พนมเปญ, พระสีหนุ[11] |
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ | คุนหมิง, ซ่างไห่–ผู่ตง |
การบินลาว | ปากเซ |
สิงคโปร์แอร์ไลน์ | สิงคโปร์[12] |
สกายอังกอร์แอร์ไลน์ | โซล–อินช็อล[ต้องการอ้างอิง] เช่าเหมาลำ: ช็องจู, มูอัน[ต้องการอ้างอิง] |
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพ–ดอนเมือง, ภูเก็ต (เริ่มต้น 29 ตุลาคม ค.ศ. 2024)[13] |
การบินไทย | กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ |
เวียดเจ็ทแอร์ | ฮานอย |
เวียดนามแอร์ไลน์ | ฮานอย, นครโฮจิมินห์, หลวงพระบาง[14] |