ท่าอากาศยานปาย | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | กรมท่าอากาศยาน / กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||||||||||
พื้นที่บริการ | อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนเขลางค์ ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 1,676 ฟุต / 510 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 19°22′13.3″N 98°26′10.0″E / 19.370361°N 98.436111°E | ||||||||||
เว็บไซต์ | https://minisite.airports.go.th/pai/ | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2562) | |||||||||||
| |||||||||||
แหล่งข้อมูล: https://airports.go.th |
ท่าอากาศยานปาย หรือ สนามบินปาย[1] (IATA: PYY, ICAO: VTCI) ตั้งอยู่ที่ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ห่างตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[2] พัฒนาขึ้นจากความคิดริเริ่มของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อส่งเสริมศักยภาพธุรกิจการท่องเที่ยวของปาย รันเวย์เก่าที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองถูกเก็บรักษาไว้ใช้งานเป็นลานบินชั่วคราวสำหรับลำเลียงเสบียงอาหารทหารส่วนกลาง โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เข้ามาควบคุมดูแล และผลักดันให้ท่าอากาศยานแห่งนี้ได้รับการรับรองทางการค้า และท่าอากาศยานได้รับการตกแต่งให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของปาย โดยพื้นที่ท่าอากาศยานครอบคลุมพื้นที่ 72.3 ไร่ พร้อมทางวิ่งกว้าง 23 เมตร ยาว 900 เมตร และอาคารสถานที่ขนาดเล็กเพื่อรองรับผู้โดยสาร
สนามบินเมืองปายเริ่มก่อสร้างครั้งแรกตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพทหารของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้จุดที่ตั้งสนามบินปายในปัจจุบันเป็นสนามบินชั่วคราว เพื่อให้เครื่องบินขนาดเล็กของญี่ปุ่นทำการบินขึ้น-ลง โดยใช้เชลยศึกในการก่อสร้างสนามบิน เมื่อสงครามสิ้นสุดลง สนามบินปายก็ไม่ได้ถูกใช้งานอีกเลย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนร่วมกับสำนักงานการบินพลเรือน ได้ทำการปรับปรุงสนามบินปาย ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน สนามบินขุนยวม และสนามบินแม่สะเรียง ซึ่งอยู่ภายในจังหวัดแม่ฮ่องสอนทั้งหมด เพื่อใช้เชื่อมต่อการเดินทางสู่จุดต่างๆ ในแม่ฮ่องสอนได้ง่ายขึ้น และรองรับการเปิดเส้นทางบินของสายการบินเดินอากาศไทย โดยทำการบินบนเส้นทาง เชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน – ปาย – เชียงใหม่
พ.ศ. 2503 บริษัทเดินอากาศไทย ได้หยุดให้บริการมายังสนามบินปาย สนามบินขุนยวม และสนามบินแม่สะเรียง เนื่องจากเปลี่ยนแบบเครื่องบินเป็นดักลาส ดีซี-3 และทางวิ่งมีความยาวไม่พอ ซึ่งมีความกว้าง 20 เมตร และยาว 700 เมตรในขนาดนั้น โดยเมื่อไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์มาลงที่ท่าอากาศยานปาย สถานีวิทยุสื่อสารการบินปายจึงได้ทำการบินตัวลงตามไปด้วยในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2503 แต่สนามบินปายก็ยังคงใช้เป็นที่ขึ้น-ลงของเครื่องบินทางการทหารและตำรวจต่อไป
พ.ศ. 2516 บริษัท การบินฟ้าสยาม เปิดทำการบินเช่าเหมาลำ เพื่อทำการรับส่งผู้โดยสาร สินค้า และ พัสดุภัณฑ์ไปรษณีย์ ในเส้นทางเชียงใหม่ – ปาย – เชียงใหม่ จึงสามารถเปิดให้บริการสถานีวิทยุสื่อสารการบินปายได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2516 โดยทำการบินเฉลี่ยวันละ 4-5 เที่ยวบิน จนถึง พ.ศ. 2520 บริษัท การบินฟ้าสยามหยุดการทำการบินและเลิกกิจการในที่สุด แต่สนามบินปายก็ยังเปิดให้บริการเรื่อยมาตามปกติ
พ.ศ. 2523 ทางกรมการบินพาณิชย์ ได้ตั้งงบประมาณจำนวนเงิน 1 ล้าน 5 แสนบาท เพื่อทำการปรับปรุงท่าอากาศยานปาย โดยเปลี่ยนทางวิ่งให้เป็นลูกรังบดอัดแน่น และก่อสร้างอาคารผู้โดยสารอาคารสถานีวิทยุสื่อสารและหอบังคับการบินเพิ่มเติม
พ.ศ. 2547 ได้มีการปรับปรุงทางวิ่ง ลานจอดเครื่องบิน และอาคารผู้โดยสาร โดยก่อสร้างตั้งแต่ 22 กรกฎาคม 2547 ถึง 20 กันยายน 2547 และจากนั้นในปี พ.ศ. 2550 สายการบิน SGA (นกมินิ) ได้เปิดเส้นทางการบิน เชียงใหม่ – ปาย – เชียงใหม่ โดยใช้เครื่องบินขนาดเล็กแบบ เซสน่า 208B คาราวาน จนกระทั่งเดือนธันวาคม 2554 ได้หยุดบินไป[3]
พ.ศ. 2554 สายการบินกานต์แอร์ ได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินสู่ท่าอากาศยานปายด้วยเครื่องบินแบบ เซสน่า 208B คาราวาน สามารถจุผู้โดยสารได้ 12 ที่นั่ง แต่ในพ.ศ. 2559 สายการบินกานต์แอร์ ไม่ผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานการบินสากล[ต้องการอ้างอิง] จึงถูกเพิกถอนใบอนุญาตในการทำการบิน และยกเลิกเส้นทางการบินมายังปาย และทุกๆเส้นทางบินอีกด้วย
ท่าอากาศยานเมืองปายมีพื้นที่ประมาณ 77.2 ไร่[4]
โดยท่าอากาศยานขนาดย่อมแห่งนี้มีรถดับเพลิงอากาศยานขนาด 2,000 ลิตร และอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชียวชาญจากท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน
ปัจจุบันไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการ
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
เดินอากาศไทย | เชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
นกมินิ | เชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
วิสดอมแอร์เวย์ | เชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
กานต์แอร์ | เชียงใหม่ | ภายในประเทศ |
ปี (พ.ศ.) | ผู้โดยสาร | ความเปลี่ยนแปลง | จำนวนเที่ยวบิน | คาร์โก้ (ตัน) |
---|---|---|---|---|
2550 | 6,885 | 996 | 0.00 | |
2551 | 8,534 | 23.95% | 1,326 | 0.00 |
2552 | 9,979 | 16.93% | 1,367 | 0.00 |
2553 | 8,961 | 10.20% | 1,272 | 0.00 |
2554 | 5,014 | 44.05% | 864 | 0.00 |
2555 | 3,883 | 22.56% | 488 | 0.00 |
2556 | 3,913 | 0.77% | 434 | 0.00 |
2557 | 4,289 | 9.61% | 434 | 0.00 |
2558 | 5,481 | 27.79% | 560 | 0.00 |
2559 | 6,046 | 10.31% | 620 | 0.00 |
2560 | 2,110 | 65.10% | 212 | 0.00 |
2561 | 1,779 | 15.69% | 484 | 0.00 |
2562 | 1,032 | 41.99% | 218 | 0.00 |
2563 | 0 | 100% | 0 | 0.00 |
2564 | 0 | 100% | 0 | 0.00 |
2565 | 0 | 100% | 0 | 0.00 |
นับแต่ปี พ.ศ. 2563 ท่าอากาศยานปาย ไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการ แต่มีเที่ยวบินทหารและเที่ยวบินฝึกบิน เดินทางขึ้น-ลง รวมทั้งมีเที่ยวบินส่วนตัว ใช้บริการท่าอากาศยานปาย จำนวน 61 เที่ยวบิน ในปี 2563, จำนวน 75 เที่ยวบิน ในปี 2564 และจำนวน 96 เที่ยวบิน ในปี 2565[7]
ตั้งอยู่ที่ถนนเขลางค์ ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลานจอดรถยนต์ สามารถรองรับรถยนต์ได้ 10 คัน และรถจักรยานยนต์ได้ 10 คัน
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)