ตราวชิราวุธ เบญจปฎลเศวตฉัตร และต้นไทร ตราธนาคารออมสิน | |
ที่ทำการธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ | |
ชื่อท้องถิ่น | Government Savings Bank (GSB) |
---|---|
ชื่อเดิม | แบงค์ลีฟอเทีย (ก่อน พ.ศ. 2456) |
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
อุตสาหกรรม | สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ |
ก่อนหน้า | คลังออมสิน |
ก่อตั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2456 |
ผู้ก่อตั้ง | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) |
สำนักงานใหญ่ | |
จำนวนที่ตั้ง |
|
พื้นที่ให้บริการ | ประเทศไทย |
บุคลากรหลัก |
|
รายได้จากการดำเนินงาน | 26,919 ล้านบาท |
รายได้สุทธิ | 11,229.7908 ล้านบาท (พ.ศ. 2568)[1] |
สินทรัพย์ | 2.62 ล้านล้านบาท (พ.ศ. 2560) |
พนักงาน | 15,366 คน |
บริษัทแม่ | กระทรวงการคลัง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของธนาคาร |
ธนาคารออมสิน มีสถานะรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐสังกัดกระทรวงการคลัง เป็นธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย เน้นการให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย ถือว่าเป็นธนาคารเดียวที่มีบัญชีประเภทเงินฝากเผื่อเรียก (เช่นเดียวกับบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป) คือบัญชีที่สามารถเปิดบัญชีขั้นต่ำเริ่มต้น 1 บาท โดยมีรูปแบบของสินเชื่อและชนิดการฝากเงินรายย่อยมากมาย อีกทั้งยังสร้างเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มชุมชน โครงการธนาคารเพื่อประชาชน โดยให้สินเชื่อระยะสั้น แก่ผู้ประกอบการรายย่อย (ให้ประชาชนมาเป็นหนี้ในระบบ ที่สามารถตรวจสอบได้ และการเก็บดอกเบี้ยตามความเป็นจริง) เป็นช่องทางการรับและจ่ายเงินกู้ จากโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อีกทั้งยังลงทุนในการพัฒนาประเทศ ของหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ให้บริการรูปแบบเงินฝากที่หลากหลาย เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย รวมทั้งมีการให้บริการตามหลักศาสนาอิสลาม ปัจจุบันมีจำนวนสาขาทั้งหมด 1,026 แห่งทั่วประเทศ
ในสิ้นปี 2565 ธนาคารออมสิน เป็นรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด ลำดับที่ 4[2]
"...แท้จริงเรื่องคลังออมสินนี้ เราได้คิดมานานแล้ว แต่หากยังมีข้อขัดข้องบางอย่างซึ่งในเวลานั้นจะยังจัดไม่ได้ จึ่งได้พึ่งมาสำเร็จ และได้ออกพระราชบัญญัติในต้นศกนี้ ที่เราต้องกล่าวเช่นนี้เพราะจะให้เห็นว่า การที่จะทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ซึ่งเป็นการสำคัญและยากนั้น ไม่ใช่พอนึกจะทำก็ทำได้ง่ายๆ จำที่เราจะต้องคิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ มุ่งให้ได้ประโยชน์แก่บ้านเมืองจริง ป้องกันทางเสื่อมเสียพลั้งพลาดต่างๆ ให้ดีที่สุดที่จะเป็นไปได้..."
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในพระราชพิธีฉัตรมงคลของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทดลองตั้งธนาคารรับฝากเงิน ณ พระตำหนักจิตรลดา (เดิม) ซึ่งต่อมาคือวังปารุสกวัน ด้วยพระราชประสงค์ให้มหาดเล็ก และข้าราชบริพารของพระองค์ ได้เรียนรู้วิธีการดำเนินงานของธนาคาร และปลูกฝังนิสัยรักการออม พระราชทานชื่อธนาคารนี้ว่า “ลีฟอเทีย” อันมีที่มาจากผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคาร 3 ท่าน ได้แก่
การทดลองตั้งธนาคารลีฟอเทีย เป็นเหตุให้ทรงมีโอกาสศึกษานิสัยการออมของคนไทย ที่ยังมีข้อติดขัดบกพร่องอยู่หลายประการ ก่อให้เกิดพระบรมราชกุศโลบายจะให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการออม นับเป็นปฐมบทของคลังออมสินในเวลาต่อมา
ครั้นเมื่อเสด็จดำรงสิริราชสมบัติแล้ว ทรงพระราชปรารภถึงการรักษาทรัพย์สมบัติ ซึ่งประชาชนอุตสาหะประกอบการทำมาค้าขาย มีกำไรออมไว้เป็นทุนรอนได้แล้ว แต่การรักษาให้ปราศจากอันตรายยังเป็นการลำบาก เพราะไร้ที่ฝากฝังอันมั่นคง ส่วนการที่ประชาชนออมสินไว้เพื่อประโยชน์ยืนยาวข้างหน้า ไม่จับจ่ายเพื่อความเพลินใจชั่วขณะนั้น เป็นสิ่งควรอุดหนุนอย่างยิ่ง
ทรงพระราชดำริว่า การรักษาสินซึ่งออมไว้เช่นนี้ มีทางที่จะทรงพระมหากรุณาพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ได้ ด้วยการตั้งคลังออมสิน เพื่อประโยชน์ในการรับรักษาเงินที่ประชาชนจะนำมาฝากเป็นรายย่อย และรับภาระจัดให้เงินนั้นเกิดผลแก่ผู้ฝากตามสมควร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติคลังออมสิน พุทธศักราช 2456” ขึ้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2456 เป็นต้นไป
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจะขยายกิจการคลังออมสินให้กว้างขวางขึ้น จึงโอนกิจการคลังออมสิน จากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข (ปัจจุบันเป็น สำนักงาน กสทช. แต่ก่อนจะแปรสภาพ ส่วนหนึ่งได้กลายเป็นวิวัฒนาการให้กับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)) กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (ปัจจุบันแยกเป็นคือกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม) มีสถานะเป็นแผนกคลังออมสินในกองบัญชี เมื่อปี พ.ศ. 2472 เป็นผลให้ราษฎรสามารถฝากและถอนเงิน ณ ที่ทำการไปรษณีย์ได้ เช่นเดียวกับบริการออมสิน ของกรมไปรษณีย์ประเทศญี่ปุ่น และกรมไปรษณีย์ประเทศเยอรมนี
กระทั่งปี พ.ศ. 2489 รัฐบาลในสมัยที่ ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี ยกระดับให้คลังออมสิน เปลี่ยนสถานะเป็น "ธนาคารออมสิน" มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2490เพื่อทำหน้าที่การธนาคาร และเป็นสถาบันการออมทรัพย์ที่สมบูรณ์แบบ เช่นเดียวกับธนาคารนานาประเทศ
ตราสัญลักษณ์ของธนาคารออมสิน เป็นรูปวงกลม ภายในแบ่งออกเป็นสามส่วน แต่ละส่วนประกอบด้วย วชิราวุธ เบญจปฎลเศวตฉัตร (ฉัตรห้าชั้น) และต้นไทร อันมีความหมายดังต่อไปนี้
สลากออมสิน เป็นรูปแบบหนึ่งของการออมทรัพย์ที่มีลักษณะพิเศษ ผลตอบแทนที่ผู้ฝากได้รับนอกจากดอกเบี้ยแล้วยังสามารถทวีเงินออมโดยผู้ฝากมีสิทธิถูกรางวัลตามที่ธนาคารกำหนด โดยทั้งดอกเบี้ยและเงินรางวัลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งธนาคารมักจะโฆษณาด้วยข้อความที่ว่า สลากออมสินไม่กินทุน
สลากออมสินนี้เป็นสลากที่เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนอกเหนือจากสลากกินแบ่งรัฐบาล สลากที่ออกโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และสลากที่ออกโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งยังไม่มีธนาคารเอกชนรายใดได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในลักษณะนี้ได้
เนื่องในโอกาสวันที่ 1 เมษายน 2567 ครบรอบวันสถานปนา 111 ปี ธนาคารออมสิน จึงได้ออกแคมเปญ สลากออมสินพิเศษ 1 ปี งวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 โดยรางวัลที่หนึ่งเป็นรางวัลใหญ่ จำนวน 111 ล้านบาท เงื่อไขการลุ้นรางวัล ผู้ฝากต้องฝากเงินเข้าสลากออมสิน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 จำนวน 100 บาทขึ้นไป[3]
วันออมสิน ตรงกับวันที่ 1 เมษายนของทุกปี กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงการตั้งธนาคารออมสิน โดยจัดกิจกรรมเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการรักนิสัยการออมเงินสำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไป โดยธนาคารออมสินทั่วประเทศได้จัดให้มีการรับฝากเงิน และมอบของที่ระลึก เป็นประจำทุกปี
ธนาคารออมสินจัดแข่งขันกีฬาธนาคารโรงเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและนักศึกษาได้พัฒนาทักษะด้านกีฬา ควบคู่กับการส่งเสริมการออมในระดับเยาวชน และสามารถต่อยอดไปสู่การแข่งขันในระดับประเทศ
ครั้งที่ | ชื่อ | ชนิด | กีฬา |
---|---|---|---|
"กรุงเทพมหานคร" |
|||
"เชียงใหม่" |
|||
"นครราชสีมา" |
กรีฑา, เซปักตะกร้อ, เปตอง, เทเบิลเทนนิส, เทนนิส, แบดมินตัน | ||
"นครสวรรค์" |
กรีฑา, เซปักตะกร้อ, เปตอง, เทเบิลเทนนิส, เทนนิส, แบดมินตัน | ||
"ขอนแก่น" |
|||