นกกระตั้วหงอนจำปา | |
---|---|
ตัวผู้ | |
ตัวเมีย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | สัตว์ปีก |
อันดับ: | Psittaciformes |
วงศ์: | Cacatuidae |
สกุล: | Cacatua (เฟรเซอร์, 1844) |
สปีชีส์: | Cacatua citrinocristata |
ชื่อทวินาม | |
Cacatua citrinocristata (เฟรเซอร์, 1844) | |
ชื่อพ้อง | |
Cacatua sulphurea citrinocristata |
นกกระตั้วหงอนจำปา (อังกฤษ: Citron-crested cockatoo; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cacatua citrinocristata) เป็นนกกระตั้วขนาดกลางที่มีหงอนจำปา ปากสีเทาเข้ม แพทช์บริเวณหูสีส้มอ่อน และมีเท้าและกรงเล็บที่แข็งแรง ขนด้านล่างของปีกและหางจะมีสีเหลืองอ่อน สีของเปลือกตาจะเป็นสีน้ำเงินอ่อนมาก ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวเมียจะมีตาสีทองแดง ในขณะที่ตัวผู้จะมีตาสีดำเข้ม
นกกระตั้วชนิดนี้เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของเกาะซุมบา ในหมู่เกาะซุนดาน้อย ประเทศอินโดนีเซีย อาหารหลักประกอบด้วยเมล็ดพืช ตาอ่อน ผลไม้ ถั่ว และพืชสมุนไพรต่าง ๆ
ในปี ค.ศ. 2022 องค์กร Birdlife International ได้รับรองว่านกกระตั้วหงอนจำปาเป็นชนิดพันธุ์แยกต่างหาก ภายใต้ชื่อวิทยาศาสตร์ Cacatua citrinocristata โดยถูกจัดให้อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ[2] ในขณะที่สภานกวิทยานานาชาติ (International Ornithological Congress) ได้กำหนดให้นกชนิดนี้เป็นสายพันธุ์ในปี ค.ศ. 2023[3]
นกกระตั้วจำปา เป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต ซึ่งจำนวนประชากรลดลงเนื่องจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่และการดักจับอย่างผิดกฎหมายเพื่อการค้าสัตว์เลี้ยง ในการสำรวจที่เกาะซุมบาในปี ค.ศ. 1993 พบว่าจำนวนนกชนิดนี้เหลือไม่ถึง 2,000 ตัว[4] ภายในปี ค.ศ. 2012 การประมาณการลดลงเหลือ 563 ตัว และ ณ ปี 2019 ประเมินว่ามีจำนวนประชากรอยู่ระหว่าง 1,200–2,000 ตัว โดยมีตัวเต็มวัยระหว่าง 800–1,320 ตัว[1] นกกระตั้วจำปาได้รับการจัดให้อยู่ในบัญชีรายชื่อภาคผนวก I ของ CITES[5] ดังนั้นการค้าระหว่างประเทศจึงถูกควบคุมอย่างเข้มงวดและการค้านกกระตั้วจำปาจากธรรมชาติถือว่าผิดกฎหมาย