นน บุญจำนงค์

นน บุญจำนงค์
เกิดนน บุญจำนงค์
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 (42 ปี)
สถิติเหรียญโอลิมปิก
มวยสากลสมัครเล่น
เอเชียนเกมส์
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ปูซาน 2002 เวลเตอร์เวท
มวยสากลสมัครเล่นเวิลด์แชมเปี้ยนชิพ
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ชิคาโก 2007 เวลเตอร์เวท
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ กัวลาลัมเปอร์ 2001 เวลเตอร์เวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ โคราช 2007 เวลเตอร์เวท

นน บุญจำนงค์ เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย ติดทีมชาติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539 และเป็นน้องชายร่วมสายโลหิตของ มนัส บุญจำนงค์ และถือว่าเป็นลูกหม้อของมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทยคนหนึ่ง มีจุดเริ่มในการเข้าสู่ทีมชาติคล้ายพี่ชายคือเข้ามาอยู่ในแคมป์ทีมชาติตั้งแต่เด็ก ก่อนจะพัฒนาฝีมือจนกระทั่งติดทีมชาติชุดใหญ่ นน เป็นมวยที่มีหน่วยก้าน และลำหักลำโค่นที่ดี อาวุธครบเครื่องทั้งความรวดเร็วและหนักหน่วง อย่างไรก็ตาม บางครั้ง นน ก็มักเจอปัญหาในเวลาที่เจอคู่ต่อสู้ที่มีความหนักหน่วงและปักหลักแลกหมัดด้วยเหมือนกัน เพราะในเรื่องความทนทานนั้นนนยังดูจะไม่เต็มที่เท่าที่ควร

ประวัติ

[แก้]

นน บุญจำนงค์ มีชื่อเล่นว่า "เต้ย" เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ที่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายมโนและนางมาลี บุญจำนงค์ มีพี่ชายและน้องชายอีก 2 คนคือ มนัส และ พันธนินทร์ ทั้งสามพี่น้องหัดชกมวยมาตั้งแต่สมัยเด็ก นน มีชื่อเดิมว่า "มานนท์" และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น นน โดยตัดพยางค์หน้าออก

โอลิมปิก 2008

[แก้]

โอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นโอลิมปิกครั้งแรกของนน ในรอบแรกนนจับสลากได้ผ่าน แต่ในรอบสอง นน แพ้ให้กับ โฮซัม อับดิน นักมวยชาวอียิปต์ไป 10-11 หมัด ตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย เพราะเดิมเคยคาดว่านนจะสามารถเอาชนะไปได้อย่างง่ายดาย หลังการชกมีการวิจารณ์ว่าการชกครั้งนี้นนชกไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะไม่มีหมัดหน้าทำคะแนนเลย

มวยสากลอาชีพ

[แก้]

นนขึ้นชกมวยสากลอาชีพครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมพ.ศ. 2553 ที่โรงแรมมารีออต์ เมืองเออร์วิน รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยชกในรุ่น ซูเปอร์เวลเตอร์เวท โดยชนะคะแนน ลอเรนซ์ เลตตูลี นักมวยชาวอเมริกันไปได้ ในการชก กำหนด 4 ยก

ผลงานระดับระหว่างประเทศ

[แก้]
  • เหรียญทอง โคเปนเฮเกน คัพ พ.ศ. 2544 (เดนมาร์ก)
  • เหรียญทอง ซีเกมส์ พ.ศ. 2544 (มาเลเซีย)
  • เหรียญทองแดง เวิลด์คัพ พ.ศ. 2545 (คาซัคสถาน)
  • เหรียญทอง ชิงแชมป์เอเซีย พ.ศ. 2545 (มาเลเซีย)
  • เหรียญทองแดง เอเชียนเกมส์ พ.ศ. 2545 (เกาหลีใต้)
  • เหรียญทอง คิงส์คัพ พ.ศ. 2544 (ไทย)
  • เหรียญทอง คิงส์คัพ พ.ศ. 2545 (ไทย)
  • เหรียญเงินเวิลด์แชมเปี้ยนชิพ 2007 (สหรัฐอเมริกา)
  • เหรียญทองซีเกมส์ พ.ศ. 2550 (ไทย)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]