นัวร์เซโอธริซิน

นัวร์เซโอธริซิน

n=1-4
เลขทะเบียน
คุณสมบัติ
~ 1 g/L
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

นัวร์เซโอธริซิน (อังกฤษ: Nourseothricin หรือ NTC) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มย่อยสเตรปโตธริซินของยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ เป็นสารที่ละลายน้ำได้ง่ายมาก (~ 1 g/mL) และคงตัวในสารละลายได้นานถึง 2 ปี ที่อุณหภูมิ 4 °C[1] ยานี้ซึ่งแยกได้จากแบคทีเรียสกุลสเตรปโตมัยซิส ทั้งนี้ นัวร์เซโอธริซินเป็นสารที่มีส่วนผสมของสารอื่นสี่ชนิด คือ นัวร์เซโอธริซิน ซี, นัวร์เซโอธริซิน ดี, นัวร์เซโอธริซิน อี, และนัวร์เซโอธริซิน เอฟ[2] โดยนัวร์เซโอธริซินนั้นจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน โดยเหนี่ยวนำให้เกิดการแปรรหัสพันธุกรรมผิดพลาด นอกจากนี้ยังถูกใช้เป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรม (Selection marker) สำหรับการคัดเลือกพันธุ์ของจุลชีพหลายชนิด ได้แก่ แบคทีเรีย, ยีสต์, รา, และเซลล์พืช และยานี้ไม่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อเซลล์ที่ได้รับคัดเลือก ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่งของสารที่จะนำมาใช้ในกระบวนการนี้[3]

นัวร์เซโอธริซินสามารถถูกทำให้หมดฤทธิ์ได้โดยเอนไซม์ nourseothricin N-acetyl transferase (NAT) จากเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces noursei โดยเอนไซม์นี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาอะเซทิเลชันโดยการเติมหมู่บีตา-อะมิโนเข้าไปในส่วนบีตา-ไลซีนของนัวร์เซโอธริซิน[4] นอกจากนี้นัวร์เซโอธริซินยังแสดงคุณสมบัติคล้ายกับยีนที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้เช่นกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jena Bioscience. "NTC properties". สืบค้นเมื่อ 13 January 2018.
  2. Jena Bioscience. "Nourseothricin" (PDF). สืบค้นเมื่อ 13 January 2018.
  3. Kochupurakkal BS, Iglehart JD (2013). "Nourseothricin N-acetyl transferase: a positive selection marker for mammalian cells". PLoS ONE. 8 (7): e68509. doi:10.1371/journal.pone.0068509. PMC 3701686. PMID 23861913.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Krügel H, Fiedler G, Smith C, Baumberg S (1993). "Sequence and transcriptional analysis of the nourseothricin acetyltransferase-encoding gene nat1 from Streptomyces noursei". Gene. 127 (1): 127–31. doi:10.1016/0378-1119(93)90627-f. PMID 8486278.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)