นางแย้ม | |
---|---|
ดอกนางแย้ม | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Lamiaceae |
สกุล: | Clerodendrum |
สปีชีส์: | C. chinense |
ชื่อทวินาม | |
Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.[1] | |
ชื่อพ้อง | |
รายการ
|
นางแย้ม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Clerodendrum chinense) เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน พบทั่วไปตามป่าของประเทศไทย
นางแย้มเป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน ใบเดี่ยว กว้างทรงรี ขึ้นสลับตามข้อของลำต้น ขอบใบมีหยัก เมื่อขยี้จะมีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวอมชมพู ออกเป็นช่อแน่นที่ปลายกิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 6–10 เซนติเมตร บานไม่พร้อมกัน ส่วนบนจะบานก่อน มีกลิ่นหอมทั้งวัน ผลเนื้ออ่อนมีเปลือกหุ้ม เมื่อแก่จัดจะแตกเป็น 4 กลีบ มีเมล็ดหลายเมล็ด
นางแย้มขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
นางแย้มเป็นไม้ประดับ และมีสรรพคุณทางสมุนไพร ใบใช้ตำพอกแก้โรคผิวหนัง รากใช้ต้มดื่มแก้ปวดข้อ ริดสีดวงทวาร แก้หลอดลมอักเสบ ต้นใช้ต้มดื่มแก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง ปวดข้อ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
นางแย้มบานแบ่งแย้ม | เกสร | |
เสียวกระสันโอษฐ์อร | อ่อนยิ้ม | |
— ลิลิตเพชรมงกุฏ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน)[3] |
ชมดวงพวงนางแย้ม บานแสล้มแย้มเกสร คิดความยามบังอร แย้มโอษฐ์ยิ้มพริ้มพรายงาม