นาฏศิลป์ในประเทศกัมพูชา

การแสดงกัมพูชา บน-ล่าง: (บน) ละโคนโขล (โขนเขมร) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร รัชกาลที่ 109 แห่งกัมพูชา, (ล่าง) ระบำพระราชทรัพย์

นาฏศิลป์ในประเทศกัมพูชา หรือ โรบัม (เขมร: របាំ) แบ่งได้เป็นสามประเภท คือ นาฏศิลป์ชั้นสูงของราชสำนัก ระบำพื้นบ้าน และระบำในงานสังคมต่าง ๆ

ประวัติ

[แก้]

นาฏศิลป์กัมพูชาได้ปรากฎในช่วงอาณาจักรฟูนันสืบเนื่องมาถึงอาณาจักรเจนละและก่อนสมัยอาณาจักรพระนคร หลักฐานปรากฏครั้งแรกตั้งแต่สมัยก่อนพระนคร เป็น รูปปั้นดินเหนียวสมัยนครบุรี (Angkor borei) ค้นพบที่จังหวัดตาแก้ว ในช่วง ค.ศ. 540-800 เป็นรูปบุคคลร่ายรำ และมีหลักฐานจารึกที่กล่าวถึง "คนรำ" เป็นภาษาเขมร ในจารึกสมัยพระนคร (ค.ศ. 825-ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14) โดยราชสำนักเขมรโบราณได้เริ่มรับอารยธรรมอินเดีย ปรากฎหลักฐานจากการพบคำสันสกฤต "ภาณิ" ซึ่งหมายถึงการแสดงเล่าเรื่อง และภาพสลักจำนวนมากในปราสาทหิน มีการร่ายรำ การแสดง เป็นเรื่องการแสดงธรรมดาทั้วไปสำหรับการบันเทิงในราชสำนักและราษฎร ในจารึกที่กล่าวถึงข้าพระที่ประจำศาสนสถานนั้นมักมี "คนรำ" ประจำอยู่ด้วย ส่วนการแสดงพื้นบ้าน (การรำละเล่นพื้นบ้าน) สำหรับราษฎรนั้นสันนิษฐานว่ามีวิวัฒนาการพร้อมๆกับการแสดงในพระราชสำนัก

นาฏศิลป์กัมพูชาได้มีวิวัฒนาการแลกเปลี่ยนกับสยามในช่วงหลังอาณาจักรพระนคร ในช่วงยุคอาณาจักรเขมรละแวก (สมัยละแวก) จนถึงอาณาจักรเขมรอุดง (สมัยอุดง) เรื่อยมา จนถึงในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ได้ทรงพยายามลดอิทธิพลของไทยสยามในการแสดงราชสำนักลง ตลอดจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครองราชย์ครั้งแรก) และรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต การแสดงระบำเทพอัปสราได้รับการอุปภัมป์อย่างมากในสมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิรีวัฒนา

ในช่วงรัฐประหารในประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2513 ของนายพลลอน นอล ได้มีการล้มล้างพระราชอาณาจักรกัมพูชาทำให้ระบอบราชอาณาจักรภายใต้พรรคสังคมราษฎรนิยมของพระนโรดม สีหนุลง มีการลดบทบาทพระมหากษัตริย์และเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐเขมรจนถึงยุคเขมรแดงได้มีการกวาดล้างปัญญาชนจำนวนมากทำให้นาฏศิลป์ต้องสะดุดหยุดลงในช่วงระยะนี้และได้รับการฟื้นฟูต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครองราชย์ครั้งที่สอง) ช่วงนายกรัฐมนตรีสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์และในสมัยการบริหารของสมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซนในภายหลัง

นาฏศิลป์ชั้นสูง (พระราชสำนักเขมร)

[แก้]

เป็นการแสดงที่เกิดขึ้นในราชสำนัก ใช้วงพิณพาทย์บรรเลงประกอบ ภายหลังได้แพร่หลายและกลายเป็นเอกลักษณ์ของกัมพูชา เช่น ระบำเทพอัปสร ระบำเปรียะห์เรียชโทรป

การแสดงกัมพูชา บน-ล่าง: (บน) ภาพสลักนางอัปสรที่นครวัด, (ล่าง) ภาพระบำที่นครธม
รูปปั้นเต้นรำบนภาพนูนต่ำนูนสูงในนครวัด เมืองพระนคร สมัยจักรวรรดิเขมร ศตวรรษที่ 12 แสดงท่าทางเต้นรำแบบเขมรแบบดั้งเดิม

รูปแบบศิลปะการแสดงชั้นนำของกัมพูชาคือ นาฏศิลป์เขมร หรือ "ระบำพระราชทรัพย์" ซึ่งเป็นรูปแบบนาฏศิลป์ที่มีสไตล์สูงซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากราชสำนัก นาฏศิลป์เขมรดั้งเดิมแสดงและดูแลโดยผู้เข้าร่วมในพระราชวัง การเต้นรำคลาสสิกเขมรได้รับการแนะนำให้รู้จักกับประชาชนทั่วไปในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 และได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมกัมพูชา โดยมักแสดงในช่วงกิจกรรมสาธารณะ วันหยุด และสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนกัมพูชา

การแสดงประกอบด้วยนักเต้นที่แต่งกายอย่างประณีต โดยแสดงท่าทางช้าๆ และเป็นรูปเป็นร่าง ร่วมกับดนตรีประกอบของวงดนตรี วงพิณพาทย์ ละครคลาสสิกประกอบด้วยการเต้นรำเพื่อบรรณาการหรือการวิงวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการจัดทำเรื่องราวดั้งเดิมและบทกวีมหากาพย์ เช่น เรียมเกร์ การเต้นรำคลาสสิกที่มีการแสดงมากที่สุดสองรายการ ได้แก่ ระบำชวนปอ ("ระบำปรารถนา") และ ระบำเทพอัปสรา ("ระบำอัปสรา")

ชื่ออื่นของนาฏศิลป์เขมร ได้แก่ "การเต้นรำในราชสำนักกัมพูชา" และ "บัลเล่ต์หลวงแห่งกัมพูชา" แม้ว่าคำหลังอาจหมายถึงคณะนาฏศิลป์แห่งชาติของกัมพูชาก็ได้ ในภาษาเขมร มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ระบำพระราชทรัพย์" (របាំព្រះរាជទ្រព្យ, แปลว่า "การเต้นรำที่มั่งคั่งร่ำรวยแห่งราชสำนัก") หรือ ละครพระราชทรัพย์ (ល្ខោនព្រះរាជទ្រព្យ, แปลว่า "ละครแห่งความมั่งคั่งแห่งพระมหากษัตริย์") บางครั้งก็เรียกว่า ละครหลวง (ល្ខោនហ្លួង, แปลว่า "ละครของพระมหากษัตริย์") ในสมัย​​รัฐประหารในประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2513ของนายพลลอน นอล ประเพณีการเต้นรำถูกเรียกว่า "ละครกบัคโบราณเขมร" (ល្ខោនក្បាច់បូរាណខ្មែរ แปลว่า "โรงละครเขมรแบบโบราณ"), แสดงให้เห็นถึงการลดบทบาทของราชสำนักและทำให้ห่างไกลจากมรดกของราชวงศ์

การแสดงในพระราชสำนัก

[แก้]

ระบำพื้นบ้าน

[แก้]
ระบำพื้นบ้านในกัมพูชา
ระบำพื้นบ้านกัมพูชาที่เกี่ยวข้องกับสุ่มจับปลา เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงศิลปะพื้นบ้านที่วอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

เป็นนาฏศิลป์ที่ใช้แสดงในกลุ่มประชาชนทั่วไป และชนเผ่าต่างๆของกัมพูชา เช่น ชาวจาม เขมรบน และการแสดงของชาวนาและกรรมกร ส่วนใหญ่ใช้วงมโหรีบรรเลงประกอบ บางส่วนเกี่ยวข้องกับความรักและนิทานพื้นบ้าน เช่น

  • ระบำเกนียกไพลิน เป็นการแสดงของชาวกุลาในเมืองไพลิน
  • เสนียกโตเซีย เป็นระบำที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากชาวเปียร์ในจังหวัดโพธิสัตว์
  • ระบำก็อมบาเรียน คล้ายกับรำลาวกระทบไม้ของไทย เป็นการแสดงระบำที่มีไม้ไผ่กระทบกันเป็นจังหวะ บ้างว่ามาจากการแสดงของชาวกุย บ้างว่าได้รับอิทธิพลจากประเทศฟิลิปปินส์
  • ระบำโทรต เป็นระบำที่กล่าวถึงพรานกับกวาง
  • ชยัม เป็นการแสดงแบบเขมรแท้ มีการแสดงตลกและใช้เด็กหญิงที่สวยงาม นิยมแสดงในวันหยุด

การแสดงทางสังคม

[แก้]

เป็นการแสดงในโอกาสที่พบปะทางสังคม เช่น รำวง รำบัจ รำสาละวัน ช็อกกระเปียส และลำเลียบ ได้รับการช่วยเหลือในการฝึกฝนจากสยามในการฟื้นฟูศิลปะ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]