ศาสตราจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566) เป็นนักคิด นักเขียน และศาสตราจารย์ ด้านประวัติศาสตร์ ชาวไทย ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ, รางวัลฟูกูโอกะ และรางวัลศรีบูรพา อดีตศาตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ย่านสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลังจบการศึกษาปริญญาตรี นิธิได้เข้าเป็นครูที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ก่อนจะศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านประวัติศาสตร์ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2509 จากนั้นเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และลาศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2519 และกลับเข้ารับราชการตามเดิม โดยรับตำแหน่งกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกตำแหน่งหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2555 นิธิได้รับปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศ.ดร.นิธิ เกษียณตามอายุราชการใน พ.ศ. 2543[ 1] หลังจากสิ้นภาระการสอนในระบบมหาวิทยาลัยปกติ เขายังคงเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการแสดงความคิดสู่สังคมผ่านมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งได้บุกเบิกมาตั้งแต่ปี 2541 และผ่านรูปแบบบทความทางหนังสือพิมพ์ นิตยสารอยู่เป็นประจำ ในการออกเสียงประชามติ รับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นิธิยังเป็นผู้หนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 11:47 น. ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สิริรวมอายุ 83 ปี ทั้งนี้ ได้บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาลดังกล่าวด้วย[ 2]
การทำงานในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ[ แก้ ]
นิธิ ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุม ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติแก้ไขปัญหาความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ [ 3]
อิสลามสมัยแรก (2511)
ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก (2521)
การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ (2523)
ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา (2523)
วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ (2525)
หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (2521) / นิธิ เอียวศรีวงศ์ และอาคม พัฒิยะ (2525)
ปากไก่และใบเรือ : รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรม และประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์ (2527)
ศรีรามเทพนคร : รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น / อาคม พัฒิยะ และนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2527)
สุนทรภู่ : มหากวีกระฎุมพี (2528)
การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (2529)
สุนทรภู่ดูโลกและสังคม / นิธิ เอียวศรีวงศ์ และสมบัติ จันทรวงศ์ (2529)
เกียวโต ใต้ชะเงื้อมดอยสุเทพ (2532)
ท่องเที่ยวบุญบั้งไฟในอีสาน : บุญบั้งไฟต้องรับใช้ชาวยโสธรไม่ใช่ชาวยโสธรรับใช้บุญบั้งไฟ (2536)
ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5 (2536)
วีรบุรุษในวัฒนธรรมไทย (2536)
สภาพเศรษฐกิจสังคมไทยยุคใหม่ : จริยธรรมในการศึกษาสำหรับอนาคต (2536)
สองหน้าสังคมไทย : บทวิพากษ์โครงสร้างอารยธรรมไทย (2539)
การปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศไทย (2543)
เชิงอรรถสังคมไทยในสายตานักวิเคราะห์ (2532)
กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย : ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ (2538)
โขน, คาราบาว, น้ำเน่า และหนังไทย : ว่าด้วยเพลง ภาษาและนานามหรสพ (2538)
ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรีย์ : ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก (2538)
ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น กางเกงใน และฯลฯ : ว่าด้วยประเพณี ความเปลี่ยนแปลง และเรื่องสรรพสาระ (2538)
สังคมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง (2539)
ยุคสมัยไม่เชื่ออย่าลบหลู่ (2541)
วัฒนธรรมความจน (2541)
เก็บที่โล่งแก่รากหญ้า : คัดสรรข้อเขียน 1 ทศวรรษว่าด้วยทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และอื่นๆ (2543)
คนจนกับนโยบายการทำให้จนของรัฐ : รวมบทความนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2543)
พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย (2543)
ก่อนยุคพระศรีอาริย์ ว่าด้วย ศาสนา ความเชื่อ และศีลธรรม (2545)
คำมีคม : ว่าด้วยภาษา วัฒนธรรมและอำนาจ (2545)
ว่าด้วย "การเมือง" ของประวัติศาสตร์และความทรงจำ (2545)
ว่าด้วย "เพศ" ความคิด ตัวตน และอคติทางเพศ ผู้หญิง เกย์ เพศศึกษา และกามารมณ์ (2545)
(ต่าง) คิดในคอก (ตน) ว่าด้วยวัฒนธรรมและวิธีคิด (2546)
นอกรั้วโรงเรียน (2546)
ไฮเทคาถาปาฏิหาริย์ ว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทย (2546)
บริโภค/โพสต์โมเดิร์น (2547)
อ่านวัฒนธรรมการเมืองไทย (2547)
ความยุ่งของการอยู่ (2548)
ประวัติศาสตร์ ชาติ ปัญญาชน (2548)
วัฒนธรรมคนอย่างทักษิณ (2549)
รากหญ้าสร้างบ้าน ชนชั้นกลางสร้างเมือง (2552)
ความไม่ไทยของคนไทย (2559)
การปราบฮ่อและการเสียดินแดน พ.ศ. 2431 (Suppression of the Haw uprisings and loss of Thai territories in 1888) (วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2509)
Fiction as history : a study of pre-war Indonesian novels and novelists (1920-1942) (Thesis (Ph.D.) University of Michigan, 1976) (2519)
ประวัติศาสตร์เยอรมัน (2511) / ฮูแบร์ตุส เลอเวนสไตน์ เขียน; นิธิ เอียวศรีวงศ์, แปล
พุทธศาสนา : สาระและพัฒนาการ (2514) (Buddhism, its essence and development, by Edward Conze)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[ แก้ ]
↑ ชีวประวัติ นิธิ เอียวศรีวงศ์
↑ "สิ้น 'นิธิ เอียวศรีวงศ์' วงวิชาการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่" . มติชน . 2023-08-07. สืบค้นเมื่อ 2023-08-07 .{{cite news }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09 .
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ , เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ , เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ , เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ , เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗๕, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
สาขาสหวิทยาการ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมี และเภสัช สาขาเกษตรศาสตร์ และชีววิทยา สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมวิจัย สาขาปรัชญา สาขารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และนิเทศศาสตร์ สาขาสังคมวิทยา สาขาการศึกษา