บอนห้วย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
อันดับ: | Alismatales |
วงศ์: | Araceae |
สกุล: | Colocasia |
สปีชีส์: | C. antiquorum |
ชื่อทวินาม | |
Colocasia antiquorum Schott | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
บอนห้วย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Colocasia antiquorum) เป็นพืชล้มลุก หัวใต้ดินแบบหัวเผือก น้ำยางใส ใบเดี่ยว ฐานของก้านใบเป็นแผ่นแบนหุ้มลำต้น ช่อดอกแบบ spadix กาบหุ้มสีเหลือง ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกตัวผู้อยู่ปลายช่อ ดอกตัวเมียเกิดที่ส่วนกลางและส่วนโคนของช่อดอก ไม่มีกลีบดอก ผลแบบเบอร์รี ชาวเผ่าลัวะนำลำต้นใต้ดินมาต้มหรือใส่ในแกง[2]
บอนห้วยเป็นพืชที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับเผือก[3][4] บอนห้วยเป็นพืชเศรษฐกิจในจีนและญี่ปุ่น และส่งไปขายยังหมู่เกาะเวสต์อินดีส สามารถเจริญได้ในอากาศที่หนาวเย็นกว่าเผือก หัวมีขนาดเล็กกว่าเผือก ใบอ่อนสามารถนำมาต้มรับประทานได้ แต่รสชาติแย่กว่าเผือก[3][4] ภาษาอูรดูและภาษาฮินดีเรียกอาร์วีหรืออาร์บี บริเวณที่พูดภาษาสเปนเรียกมาลังกัส ภาษาเบงกอลเรียก โกชูร์ มุคี ภาษามลยาฬัมเรียกเชมบู ภาษาเนปาลเรียกปินดาลู