อาหารเวียดนามภาคเหนือ บั๊ญดุ๊กทิต (bánh đúc thịt) ประกอบด้วย บั๊ญดุ๊ก และหมูบดในน้ำสต๊อก | |
ประเภท | บั๊ญ (เค้ก) |
---|---|
แหล่งกำเนิด | เวียดนาม |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
บั๊ญดุ๊ก (เวียดนาม: bánh đúc) หรือในประเทศไทยที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เรียกกันว่า ขนมบันดุก หรือบันดุ๊ก[1] เป็นอาหารเวียดนามประเภทบั๊ญ (bánh, เค้ก) บั๊ญดุ๊กมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ในเวียดนามทางเหนือแป้งจะมีสีขาว และทางใต้จะมีสีเขียว
ในภาคเหนือของเวียดนาม บั๊ญดุ๊กเป็นอาหารที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวโพด มีสีขาว มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มนวลและกลิ่นหอมอ่อน ๆ ทั่วไปแล้วรับประทานเป็นอาหารคาว โดยโรยหน้าด้วยเครื่อง เช่น หมูบด, กุ้งย่าง (tôm chấy), หัวหอมทอด, งา, เกลือ, ถั่วลิสง, น้ำมะนาว และซีอิ๊วหรือน้ำปลา อาจจะรับประทานเป็นอาหารจานเดียว หรืออาจเสิร์ฟร้อนพร้อมกับเนื้อตุ๋นหรือเห็ด
ในประเทศเวียดนาม บั๊ญดุ๊กเป็นที่นิยม[2] มีขายตามร้านเล็ก ๆ ทั่วไป และหาซื้อรับประทานได้ตลอดทั้งวัน
ในเวียดนามตอนใต้ บั๊ญดุ๊กเป็นขนมหวานที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า โดยแป้งอยู่ในรูปก้อนสี่เหลี่ยมที่มักจะมีสีเขียวซึ่งได้มาจากเตยหอม (Pandanus amaryllifolius) ปรุงโดยการต้มแป้งกับน้ำปูนใส (อัตราส่วนน้ำ 1 ลิตร กับปูนขาว 10 กรัม)[2] และน้ำใบเตยแล้วปล่อยให้เย็นและแข็งตัวเป็นแผ่นคล้ายเยลลี่ แล้วจึงนำมาหั่นเป็นก้อน โรยหน้าด้วยน้ำกระทิ, น้ำเชื่อม และถั่วลิสงป่น
ตัวอย่างเช่น:
คนเวียดนามมีคำกล่าวที่ว่า
Mấy đời bánh đúc có xương, mấy đời dì ghẻ lại thương con chồng
ความหมายคือ "ไม่เคยพบกระดูกในบั๊ญดุ๊ก เช่นเดียวกับที่ไม่เคยพบแม่เลี้ยงรักลูกติดของสามี" โคลงบทนี้ใช้เพื่อเปรียบเปรยถึงสิ่งต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก