![]() | บทความนี้จำเป็นต้องปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน(ธันวาคม 2023) |
ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ความขัดแย้งในฉนวนกาซา–อิสราเอลที่ลุกลามบานปลายครั้งใหญ่เริ่มต้นขึ้นด้วยการประสานการรุกโดยกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์หลายกลุ่มเพื่อต่อต้านอิสราเอล หลายประเทศ รวมทั้งพันธมิตรตะวันตกของอิสราเอลจำนวนมาก เช่น สหรัฐ และหลายประเทศในทวีปยุโรป ประณามการโจมตีของกลุ่มฮะมาส แสดงความสามัคคีต่ออิสราเอล และระบุว่าอิสราเอลมีสิทธิที่จะปกป้องตนเองจากการโจมตีด้วยอาวุธ ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ของโลกมุสลิม ได้แสดงการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ โดยกล่าวโทษว่าการที่อิสราเอลยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ เป็นต้นตอของความรุนแรงที่ทวีความรุนแรงขึ้น หลายประเทศเรียกร้องให้มีการหยุดยิงและลดความรุนแรง องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรนักศึกษา องค์กรการกุศล องค์กรคริสเตียนทั่วโลก และกลุ่มชาวยิวและอิสลาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว
ไทย: เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อรัฐบาลและประชาชนอิสราเอล และประณามการโจมตีของกลุ่มฮะมาส[1] นอกจากนี้เขายังให้กองทัพอากาศไทยเตรียมพร้อมอพยพพลเมืองหากจำเป็น[2] อย่างไรก็ตาม จักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในภายหลังว่า จุดยืนของประเทศคือ "ความเป็นกลาง" และรัฐบาลสนับสนุน "วิธีแก้ปัญหาที่จะทำให้ปาเลสไตน์และอิสราเอลอยู่ร่วมกันได้"