เดือนจันทรคติ
| |
ปฏิทินจันทรคติไทย (อังกฤษ: Thai lunar calendar) คือ ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของดวงจันทร์ โดยหมายดูจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม สำหรับปฏิทินจันทรคติ ของไทย จะมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้
การนับช่วงเวลาในปฏิทินจันทรคติไทย เป็นการนับโดยถือเอาการเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์เป็นหลัก ดังนี้
การอ่านวันตามแบบจันทรคติจะอ่านเป็นตัวเลขโดยเริ่มที่วันอาทิตย์เป็นหนึ่ง และนับต่อไปตามลำดับจนถึงวันเสาร์นับเป็นเจ็ด และมีการกำหนดดิถีดวงจันทร์และตัวเลขเดือนกำกับอย่างย่อ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลข ดังตัวอย่าง ๖ ๓ฯ ๓ อ่านว่า วันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3
การนับวันทางจันทรคติตามหลักของปฏิทินราชการ (ซึ่งแตกต่างจากหลักของปฏิทินจันทรคติปักขคณนา) ได้กำหนดให้ เริ่มนับวันขึ้น 1 ค่ำ จนถึงขึ้น 15 ค่ำ แล้วจึงขึ้นวันแรม 1 ค่ำ ถึงวันแรม 14 ค่ำ ในเดือนคี่ และวันแรม 15 ค่ำ ในเดือนคู่ จึงทำให้เดือนคี่มี 29 วัน เดือนคู่มี 30 วัน
การนับเดือนทางจันทรคติ เริ่มต้นนับเดือนธันวาคมเป็นเดือน 1 เรียกว่าเดือนอ้าย มกราคมเป็นเดือนที่ 2 เรียกว่า เดือนยี่ และนับเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงเดือน 12 ยกเว้นเขตภาคเหนือตอนบน หรือดินแดนล้านนาเดิม ที่มีการนับเดือนเร็วกว่า 2 เดือน กล่าวคือ ในวันลอยกระทง ตรงกับเดือน 12 ใต้ และตรงกับเดือน 2 เหนือ (12, 1, 2) ส่วนวันมาฆบูชา ตรงกับเดือน 3 ใต้ และ เดือน 5 เหนือ
การนับปีทางจันทรคติ นับตามเวลาการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 29 วันครึ่งในเวลา 1 เดือน ถ้านับ 29 วัน เวลาจะขาดไป 12 ชั่วโมง แต่ถ้านับ 30 วัน เวลาจะเกินไป 12 ชั่วโมง จึงต้องนับ 59 วัน เป็น 2 เดือน โดยให้นับเดือนคี่มี 29 วัน และเดือนคู่มี 30 วัน โดยเดือนคี่เป็นเดือนต้น เดือนคู่เป็นเดือนรองถัดไป สลับจนครบ 12 เดือน แล้วเริ่มต้นใหม่
ถ้านับวันปีทางจันทรคติจะมีเพียง 354 วัน ซึ่งมีวันน้อยกว่าปีทางสุริยคติถึง 11 วันต่อปี เมื่อรวม 3 ปี จะได้ 33 วัน ดังนั้น ในทุก ๆ 3 ปีทางจันทรคติ จะมีเดือน 8 สองหน คือจะมี 13 เดือน เรียกปีนั้นว่า ปีอธิกมาส
แบ่งเป็น 3 แบบ คือ
1 ปีมี 365.256363/29.530588 = 12.36874670 เดือน
จึงต้องแทรก 1 เดือนทุก ๆ 1/0.36874670 = 2.711888 ปี
ลอย ชุนพงษ์ทอง ได้คิดค้นสูตรหาอธิกมาส โดยปีมหาศักราชนั้น จะเป็นปีอธิกมาสก็ต่อเมื่อ
และ
โดย คือ ม.ศ.
เป็นเศษเหลือจากการหาร a ด้วย b
0.45222 เป็นค่าคงที่ซึ่งสอดคล้องกับปฏิทินไทยในประวัติศาสตร์ช่วง 500 ปีที่ผ่านมา
ตัวอย่างเช่น ม.ศ. 1793 (พ.ศ. 2415, ค.ศ. 1872)
จึงไม่เป็นปีอธิกมาส
ลอย ชุนพงษ์ทอง คิดสูตรคำนวณเดือนอธิกมาส แบบพระราชประสงค์ของ ร.4 ดังนี้
เช่น ม.ศ. 1794, F=0.9894 เป็นปีอธิกมาส
แทรกเดือน 0.5 เรียกว่า เดือน 1 หนแรก (เดือน 1 หนที่สอง คือ เดือน 1 จริง)
อีกวิธีหนึ่งคือหาช่วงที่พระอาทิตย์อยู่ราศีใดราศีหนึ่งมีจันทร์ดับสองครั้ง เดือนนั้นเป็นอธิกมาส
เฟสของดวงจันทร์ที่ใช้เพื่อใช้จัดทำปฏิทินจันทรคติไทย ใช้เวลาเที่ยงคืน ในการคำนวณหาเฟสของดวงจันทร์เสมือน ที่ถือว่าโคจรรอบโลกด้วยอัตราเร็วคงที่ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับการสังเกตเห็นเฟสดวงจันทร์ในท้องฟ้าจริง (อาจคลาดเคลื่อนไปจากดวงจันทร์ได้ถึง 0.65 วัน)
ปฏิทินจันทรคติไทยพบว่ามีความคลาดเคลื่อนจากการสังเกตดวงจันทร์ในท้องฟ้าจริง ซึ่งอาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนในการคำนวณเฟสของดวงจันทร์ในปฏิทินจันทรคติไทย 2 ส่วน คือ ส่วนการทดวัน (ทางปฏิทิน) ซึ่งมีค่าได้ถึง 0.5 วัน โดยเฉพาะในเดือน 6 ของปีอธิกวารเป็นช่วงที่รอทดวัน กับส่วนความเป็นวงรีของ วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก (ทางดาราศาสตร์) ซึ่งมีค่าได้ถึง 0.65 วัน อีกส่วนหนึ่ง
วันจันทร์เพ็ญควรเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเท่านั้น แต่เนื่องจากความคลาดเคลื่อนของปฏิทินจันทรคติจึงอาจเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 1 ค่ำก็ได้ ผู้ที่เคยสังเกตดวงจันทร์เป็นประจำจะสามารถจำแนกดวงจันทร์วันเพ็ญกับดวงจันทร์ในวันขึ้น 14 ค่ำ หรือวันแรม 1 ค่ำได้
การดูจันทร์เพ็ญอย่างง่าย (วิธีหนึ่ง) ในเขตร้อน เช่นประเทศไทย ให้ดูเวลาที่ดวงอาทิตย์ตก ดังนี้
วันจันทร์ดับควรเป็นวันแรม 14-15 ค่ำเท่านั้น แต่เนื่องจากความคลาดเคลื่อนของปฏิทินจันทรคติวันจันทร์ดับอาจเป็นวันขึ้น 1 ค่ำได้ (มีโอกาสราวร้อยละ 50) การดูจันทร์ดับอย่างง่ายในเขตร้อน เช่นประเทศไทย ให้ดูเวลาที่ดวงอาทิตย์ตก ดังนี้
รูปร่างดวงจันทร์ครึ่งดวงสังเกตได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตามหากต้องดูให้ละเอียดขึ้น ให้สังเกตดังนี้
จันทรุปราคา จะเกิดในคืนจันทร์เพ็ญเท่านั้น มักเป็นวันขึ้น 15 ค่ำและมีโอกาสเกิดในวันขึ้น 14 ค่ำได้ด้วย แต่มีโอกาสน้อยมาก แต่บางครั้งอาจเป็นแรม 1 ค่ำก็ได้ โดยเฉพาะถ้าขึ้นจันทรุปราคาในช่วงหัวค่ำ ส่วนสุริยุปราคา มักจะเกิดในวันจันทร์ดับ แต่ในบางครั้งเกิดในวันถัดไปก็ได้ โดยเฉพาะหากเกิดช่วงเช้า วันเกิดสุริยุปราคามักตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ หรือวันแรมสุดท้ายของเดือน
ดิถีของดวงจันทร์ในวันนี้ |
วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 |
![]() |
ข้างขึ้น ตอนปลาย
คิดเป็นร้อยละ 69 ของดวงจันทร์ทั้งดวง |