ปฏิบัติการเบอร์ลิน (แอตแลนติก)

ปฏิบัติการเบอร์ลิน (อังกฤษ: Operation Berlin) เป็นการโจมตีเส้นทางทางการค้าที่ประสบความสำเร็จโดยเรือประจัญบานของเยอรมัน ชาร์นฮอร์ชต (Scharnhorst) และ ไกเซเนา (Gneisenau) ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1941 โดยมีผู้บัญชาการปฏิบัติการคือพลเรือเอกกึนเธอร์ ลึทเจนต์ ซึ่งภายหลังได้เป็นผู้สั่งการการเดินเรือของเรือบิสมาร์คและเรือเทียร์พิตส์

เรือทั้งสองลำยกเลิกปฏิบัติการในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1940 แต่ท้ายที่สุดการแล่นเรือเดินทางออกจากคีลในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1941 เรือถูกพบเห็นระหว่างทางไปเกรทเบลต (Great Belt) และกระทรวงกองทัพเรืออังกฤษได้รับแจ้งข้อมูลดังกล่าว พลเรือเอกเซอร์จอห์น โทเวย์ (John Tovey) ออกเดินทางพร้อมกองเรือที่เข้มแข็ง (เรือประจัญบาน 3 ลำ เรือลาดตระเวน 8 ลำ และเรือพิฆาต 11 ลำ) หวังจะสกัดเรือของเยอรมันในเส้นทางประเทศไอซ์แลนด์หมู่เกาะแฟโร ลึทเจนต์กลับนำกองเรือผ่านช่องแคบเดนมาร์กสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งกองเรือจะสามารถสกัดขบวนเรือระหว่างประเทศแคนาดาและอังกฤษได้

ขบวนเรือ เอชเอกซ์-106 (Convoy HX-106) ถูกดักสกัด แต่การโจมตีกลับถูกยกเลิกเนื่องจบมีการพบเรือเรือประจัญบาน เรมมิลเลียส (Ramillies) ที่รับหน้าที่คุ้มกันขบวนเรือ ลึทเจนต์ออกคำสั่งให้หลีกเลี่ยงการปะทะกับเรือหลวงฝ่ายศัตรู โชคดีเป็นของเยอรมนี อังกฤษล้มเหลวในการระบุตำแหน่งที่แม่นยำ

หลังเติมเชื้อเพลิง เรือรบเยอรมันพลาดกับขบวนเรือ เอชเอกซ์-111 (convoy HX-111) แต่กับพบขบวนเรือเปล่าที่แล่นกลับสหรัฐโดยบังเอิญ มากกว่า 12 ชั่วโมง เรือห้าลำได้จมลง แต่การโจมตีได้รับการรายงาน กองเรือรบย้ายลงใต้สู่อะโซร์สเพื่อสกัดเส้นทางเดินเรือระหว่างแอฟริกาตะวันตกและอังกฤษ

มีการพบขบวนเรืออีกครั้ง แต่เรือเยอรมันไม่ได้เข้าโจมตี เนื่องด้วยการปรากฏตัวของเรือประจัญบานมาลายา (Malaya) ชาร์นฮอร์ชตและไกเซเนาได้ติดตามขบวนเรือไป และกำหนดแนวทางให้เรืออูเข้าโจมตี

เรือทั้งสองย้ายสู่มหาสมุทรแอตแลนติกตะวันตก จมเรือสินค้าที่เดินทางเพียงลำพังอีกลำระหว่างเส้นทาง โจมตีขบวนเรือที่ไม่ได้รับการคุ้มกันอีกสองขบวน จมหรือยึดเรือได้อีก 16 ลำ เรือ ชิลเลียน ริฟเฟอร์ (Chilean Reefer) ซึ่งเป็นเรือหนึ่งในสิบหกลำนั้นได้สร้างปัญหาขึ้น เรือก่อให้เกิดควัน วิทยุแจ้งตำแหน่งที่แน่นอน และยิงต่อสู้กับเรือไกเซเนาด้วยปืนดาดฟ้าเรือขนาดเล็ก ลึทเจนต์ไม่แน่นอนในขีดความสามารถของเรือสินค้า จึงสั่งถอยและยิงลำลายในระยะที่ปลอดภัย ระหว่างการต่อสู้เรือเอชเอ็มเอส ร็อดนีย์ (HMS Rodney) ได้ปรากฏตัวขึ้น อาจเป็นเพราะได้รับข้อความจากวิทยุ เรือเยอรมันได้ลวงเส้นทางเดินเรือจนปลอดภัย ขณะที่เรือร็อดนีย์ได้เข้าช่วยเหลือผู้รอดชีวิต

เรือรบเยอรมันได้รับคำสั่งให้กลับไปยังเมืองแบรสต์ เรือพบขบวนคุ้มกันทางอากาศและทางทะเลในวันที่ 21 มีนาคม และเดินทางถึงท่าเรือในวันถัดมา สรุปแล้วเรือได้เดินทางเป็นระยะทางเกือบ 18,000 ไมล์ (29,000 กม.) ใน 60 วัน ทำลายและยึดเรือได้ 22 ลำ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]