ปฏิบัติการเพิช | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่ก็อง | |||||||
รถถังเซนทอร์ 4 ของกลุ่มสนับสนุนยานเกราะราชนาวิกโยธิน ใกล้กับ Tilly-sur-Seulles | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหราชอาณาจักร | Germany | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Bernard Montgomery Miles C. Dempsey Gerard Bucknall |
Leo Geyr von Schweppenburg Sepp Dietrich | ||||||
กำลัง | |||||||
1 armoured division 2 infantry divisions 2 armoured brigades |
3 panzer divisions 1 infantry division 1 heavy tank battalion | ||||||
ปฏิบัติการเพิช เป็นการรุกของอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 - 14 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ในช่วงแรกของยุทธการที่นอร์ม็องดี ปฏิบัติการครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อโอบล้อมและเข้ายึดเมืองก็องที่ถูกครอบครองโดยเยอรมัน ซึ่งเป็นเป้าหมายในดีเดย์สำหรับกองพลทหารราบที่ 3 ของอังกฤษในช่วงแรกของปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด ปฏิบัติการเพิชได้เริ่มต้นขึ้นทันทีหลังจากการยกพลขึ้นบกชายหาดของอังกฤษด้วยการรุกไปยังทางตะวันออกเฉียงใต้ของก็องโดยกองทัพน้อยที่ 30 สามวันหลังจากการบุกครอง เมืองยังคงอยู่ในเงื้อมมือของเยอรมันและปฏิบัติการครั้งนี้ได้ถูกแก้ไข ปฏิบัติการครั้งนี้ได้ขยายไปยังรวมถึงกองน้อยที่ 1 เพื่อโอบล้อมโจมตีก็อง
วันต่อมา กองทัพน้อยที่ 30 ในทางด้านตะวันตกได้ผลักดันไปยังทางใต้ไปยัง Tilly-sur-Seulles ซึ่งถูกยึดครองโดยกองพลพันเซอร์ เลือร์ (Panzer Lehr Division) และหมู่บ้านถูกยึดครองและกลับเข้ามายึดครองหลายครั้ง กองทัพน้อยที่ 1 ได้เริ่มต้นทางด้านตะวันออกในอีกสองวันต่อจากหัวสะพาน Orne ซึ่งได้รับการรักษาปกป้องในปฏิบัติการทอนกาในดีเดย์ กองทัพน้อยที่ 1 เกิดความล่าช้าโดยการโจมตีอย่างต่อเนื่องของกองพลพันเซอร์ที่ 21 ซึ่งได้ก่อให้เกิดมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บไปจำนวนมาก และไร้วี่แววของการพังทะลายของแนวรบเยอรมัน การรุกทางด้านตะวันออกของก็องจึงถูกระงับลงในวันที่ 13 มิถุนายน
ทางด้านตะวันตกที่ห่างไกลออกไปในพื้นที่ของกองทัพสหรัฐที่หนึ่ง อเมริกันได้เข้าโจมตีได้ทำให้เกิดช่องว่างในแนวป้องกันของเยอรมัน ส่วนหนึ่งของกองพลยานเกราะที่ 7 ของอังกฤษได้หันเบนไปจาก Tilly-sur-Seulles เพื่อเข้ารุกผ่านช่องว่างในขบวนปีกและบีบบังคับให้กองพลพันเซอร์ เลือร์ล่าถอย เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกโอบล้อม เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ภายหลังสองวันของการรบรวมถึงยุทธการที่วีแลร์-บอกาฌ กองพลยานเกราะที่ 7 ได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังไปยัง Caumont แผนได้ถูกนำกลับมาใหม่เพื่อการรุก เมื่อกองพลยานเกราะที่ 7 ได้รับการเสริมกำลัง แต่แผนนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีพายุเกิดขึ้นในช่องแคบอังกฤษทำให้เกิดความล่าช้าในการยกพลขึ้นบกเพื่อขนสัมภาระและการเสริมกำลัง
การรบครั้งนี้ได้ถูกนำมาโต้เถียงกันเพราะนักประวัติศาสตร์หลายคนและนักเขียนต่างได้ข้อสรุปว่ามันเป็นความล้มเหลวโดยกองพลอังกฤษและผู้บัญชาการกองทัพน้อยที่พลาดโอกาสที่จะเข้ายึดเมืองก็อง แทนที่เยอรมันจะประสบความสำเร็จในการป้องกัน เพื่อการต้านทานการรุก เยอรมันได้ทุ่มเทอาวุธสำรองที่มีอานุภาพมากที่สุดของพวกเขา ซึ่งทำให้พวกเขามีพลังในการสู้รบจากการรุกตอบโต้กลับและริบดับความคิดที่จะเข้ารุกต่อของฝ่ายสัมพันธมิตร