ปฏิบัติการแอ็บเซนชัน

ปฏิบัติการแอ็บเซนชั่น
ส่วนหนึ่งของ ยุทธบริเวณทะเลอีเจียนในสงครามโลกครั้งที่สอง
HMAS Sydney in 1940
เรือรบคริสตีของอิตาลีในปฏิบัติการแอ็บเซนชั่น
วันที่ค.ศ. 1941
สถานที่
ผล อิตาลีได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
ราชอาณาจักรอิตาลี  สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
 ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เอสมิเริล รูจิ เบียนชีรี่
กัปตันฟรานเซสโก มิลเบลลี่
สหราชอาณาจักร แอนดรู คอนทิงแฮม
สหราชอาณาจักร กัปตันเฮช จี อีเจอร์ตัน
กำลัง

เรือรบ 500 ลำ
เรือดำน้ำ 6 ลำ
เรือปืนต่อต้านอากาศยาน 3 ลำ
>

ทหารราบ 280 นาย

เรือรบ 146 ลำ
เรือบรรทุกเครื่องบิน 10 ลำ

ทหารราบ และ ทหารเรือ 200 นาย
ความสูญเสีย

เรือจม 22 ลำ
เสียชีวิต 14 นาย
ถูกจับ 12 นาย

[1]
เรือจม 30 ลำ
เสียชีวิต 5 นาย
บาดเจ็บ 10 นาย
ถูกจับ 20 นาย
สูญหาย 7 นาย [2]

ปฏิบัติการแอ็บเซนชั่น (อังกฤษ: Operation abstention) เป็นชื่อรหัสใช้เรียกการรุกรานเกาะคาสเตโลริโซ นอกชายฝั่งตุรกี ของสหราชอาณาจักร ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 กองทัพอิตาลีประสบความสำเร็จในการขับไล่กองทัพของสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียที่พยายามเข้ายึดครองเกาะคาสเตโลริโซ ฝ่ายอิตาลีได้พยายามขัดขวางการยึดครองของสัมพันธมิตรโดยคาดการณ์ไว้ว่าเมื่อสามารถยึดเกาะคาสเตโลริโซได้ก็จะสามารถตัดการลำเลียงยุทธปัจจัยและสินค้าสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างอียิปต์และกรีซได้อีกด้วย

การยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรและการสร้างแนวป้องกัน

[แก้]

แกนนำประกอบด้วยหน่วยปฏิบัติการพิเศษสหราชอาณาจักรกว่า 200 คนที่ถูกขนส่งเพื่อสร้างค่ายป้องกันขึ้นบนเกาะคาสเตโลริโซ และ กองทัพเรืออังกฤษอีก 24 หน่วย วันที่ 24 กุมภาพันธ์ แผนแรกคือการสร้างแนวรบขึ้นบน หัวหาดสามารถส้างแนวให้ทันในเวลาเพียง 3 วันก่อนการมาถึงของกองทัพอิตาลี และได้สร้างเครื่องส่งสัญญาณเพื่อรวบรวมกองทหารอังกฤษที่ประจำการอยู่ที่ไซปรัสเพื่อจะได้เรียกมาสมทบเมื่อกองกำลังขาดแคลนทหาร และนาวิกโยธินรอยัลเริ่มต้นส้างท่าเรือเชื่อมโยงไปถึงเนินเขาของเกาะหลังจากเรือดำน้ำปาร์เทียนทำสำรวจก่อนหน้านี้ของชายฝั่ง อิตาลีจึงส่งเรือสอดแนมที่มีชื่อว่าลูโม่ ที่พลางเป็นเรือสินค้าเข้าไปในบริเวณเกาะคาสเตโลริโซเพื่อสำรวจที่ตั้งที่ชัดเจนแต่ก็ได้แต่ข้อมูลที่ตั้งของท่าเรือเท่านั้น ก่อนที่จะถูกปืนใหญ่จากกองเรือรบอังกฤษยิงทิ้ง

การโจมตีของอิตาลี

[แก้]

ฝ่ายอิตาลีได้ตัดสินใจเด็ดขาดและส่งกองทัพอากาศบินเข้าไปในเกาะคาสเตโลริโซ เป้าหมายคือทิ้งระเบิดบริเวณท่าเรือและปราสาทที่ตั้งอยู่บนภูเขาของเกาะ โดยเชื่อว่าหน่วยปฏิบัติการพิเศษฝ่ายสัมพันธมิตรอาจใช้เป็นที่มั่น กองทัพเรืออิตาลีเริ่มการโจมตีโดยพยายามใช้คลื่นรบกวนการสื่อสารของกองเรือฝ่ายสัมพันธมิตร และทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรค้นหากองเรืออิตาลีไม่เจอ ฝ่ายอิตาลีจึงโจมตีเรือสัมพันธมิตรเสียหายอย่างหนัก กองทัพอิตาลีเริ่มยกพลขึ้นบกทำให้กินเนื้อที่เพิ่มขึ้นการรบเชื่อมโยงไปถึงประมาณ 240 กิโลเมตร ทหารสัมพันธมิตรทางตอนเหนือของท่าเรือถูกระเบิดทำให้กระจัดกระจาย ในขณะที่กองกำลังหน่วยปฏิบัติการพิเศษบริเวณท่าเรือและผู้ว่าราชการของเกาะคาสเตโลริโซ และถูกระเบิดเสียชีวิตได้รับบาดเจ็บอีกมากมาย ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มส่งสัญญาณเตือนภัยที่ทำแบบล่าช้า ฝ่ายอิตาลีได้ขึ้นฝั่งเสียก่อนที่สัมพันธมิตรจะใช้สัญญาณเตือนให้รับรู้ ฝ่ายสัมพันธมิตรถูกโจมตีต้องถอยร่นประมาณ 40 กิโลเมตรลงมาที่ชายฝั่ง จนแอนดรู คอนทิงแฮมส่งสัญญาณขอกองกำลังเสริมเพื่อยับยั้งการยกพลขึ้นบกของอิตาลี แต่กองเรือลำเลียงไม่สามารถหาตำแหน่งที่ชัดเจนพอจึงส่งกำลังเสริมมาไม่ได้

หลังจากนั้น

[แก้]
ที่ตั้งของเกาะคาสเตโลริโซ

การดำเนินงานได้รับการอธิบายโดยพลเรือเอกคอนทิงแฮมเป็น"การวางแนวป้องกันที่สร้างความเสื่อมเสียและสะท้อนให้เห็นช่องโหว่เพียงอย่างมากให้แก่ศัตรู" คณะกรรมการส่งเสริมการสอบถามพบว่าการพิจารณาผิดบัญชาการ ล่อแทนการติดต่อด้วยพลังศัตรูโดยไม่ชักช้าเป็นกุญแจสำคัญในการ ความล้มเหลวของการเชื่อมโยงไปถึงหลักและการแยก บัญชาการอังกฤษหลายคนประหลาดใจโดยการเกิดปฏิกิริยาที่แข็งแกร่งของชาวอิตาเลียน ทหารอิตาลียังคงอยู่ในการโจมตีและสามารถยึดครองหมู่เกาะดาลโดแนลจนผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเมื่อปี ค.ศ.1943

  1. Smith & Walker 1974, p. 22.
  2. Castelrosso 2015.