บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
ประมาณ อดิเรกสาร | |
---|---|
ประมาณ ปีที่ถ่าย พ.ศ. 2501 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 304 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ |
ถัดไป | นายทวิช กลิ่นประทุม |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2519 (0 ปี 156 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ |
ถัดไป | นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ |
ดำรงตำแหน่ง 25 กันยายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 11 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ |
ถัดไป | นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ |
ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 (3 ปี 16 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ พลเอก เสริม ณ นคร พลเอก เล็ก แนวมาลี สมภพ โหตระกิตย์ |
ถัดไป | พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พิชัย รัตตกุล พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 มกราคม พ.ศ. 2533 (1 ปี 153 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร |
ถัดไป | นายบรรหาร ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 301 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | พลเอก ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา |
ถัดไป | พลเอก กฤษณ์ สีวะรา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 169 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | นายทวิช กลิ่นประทุม |
ถัดไป | นายอินทรีย์ จันทรสถิตย์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 (0 ปี 169 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
ถัดไป | พลเอก หลวงสวัสดิ์กลยุทธ (สวัสดิ์ ไกรฤกษ์) |
ดำรงตำแหน่ง 9 มกราคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 (0 ปี 334 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | นายบรรหาร ศิลปอาชา |
ถัดไป | นายประมวล สภาวสุ |
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 (ยุบสภา) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ถัดไป | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ดำรงตำแหน่ง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | นายชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ถัดไป | นายบรรหาร ศิลปอาชา |
หัวหน้าพรรคชาติไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2529 | |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งพรรค |
ถัดไป | กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ (รักษาการหัวหน้าพรรคชาติไทย) |
ดำรงตำแหน่ง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ |
ถัดไป | นายบรรหาร ศิลปอาชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2456 อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (96 ปี) โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคชาติไทย (2517 - 2539)[1] |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงเจริญ อดิเรกสาร (ชุณหะวัณ) |
บุตร | 3 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ยศ | พลเอก พลตำรวจเอก |
พลเอก ประมาณ อดิเรกสาร (31 ธันวาคม พ.ศ. 2456 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553) เป็นตำรวจและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคชาติไทย
ประมาณ อดิเรกสาร เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรของนายเน้ย และนางจี้ อดิเรกสาร มีพี่น้อง คือ
ประมาณ อดิเรกสาร จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รับราชการเป็นนายทหารปืนใหญ่ กองทัพบก ลพบุรี ยศสูงสุดเป็นพลตรี เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[2] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[3][4] รัฐมนตรีช่วยว่าการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[5][6] ระหว่าง พ.ศ. 2494-2500 ในคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจอมพล แปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่งจากการรัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
พล.ต. ประมาณ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7] เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2518[8] และ พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช[9] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[10] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพล.ร.อ. สงัด ชลออยู่[11]
ในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์[12]
พล.ต. ประมาณ ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น พลตำรวจเอก เป็นกรณีพิเศษเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [13] จนกระทั่งวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2533 พล.ต. ประมาณได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลเอก เป็นกรณีพิเศษ [14]
ในปี พ.ศ. 2533 เขาได้สลับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สลับกับนายบรรหาร ศิลปอาชา[15] และในรัฐบาลต่อมาของพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[16]
พล.อ. ประมาณ อดิเรกสาร สมรสกับท่านผู้หญิงเจริญ อดิเรกสาร (ชุณหะวัณ) พี่สาวของพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ มีบุตรชายรวมกัน 3 คน คือ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พล.อ. ประมาณ อดิเรกสาร เป็นผู้บุกเบิกวงการอุตสาหกรรม ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย และเคยได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกสมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
พล.อ. ประมาณ อดิเรกสาร ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลวและอาการไตวาย ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ สิริอายุได้ 96 ปี 232 วัน[17] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
พลเอก พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น พลเอก พลตำรวจเอก นายกองใหญ่ ประมาณ อดิเรกสาร เมื่อ พ.ศ. 2531[18]
พล.อ. ประมาณ อดิเรกสาร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้